The Bangkok Insight

โพลชี้ 76.46% หนุนกฎหมายกระท่อม-กัญชาเป็นยารักษาโรค

หลังจาก ที่ประชุมสภานิติบัญญัติชาติ (สนช.) ได้ประชุมพิจารณาร่างพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่..) พ.ศ… วาระแรก เพื่อแก้ไขพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ปลดล็อกให้ กัญชาสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้

โดยสาระสำคัญและประโยชน์ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กำหนดให้สามารถขออนุญาต ผลิต นำเข้าหรือส่งออก ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งประกอบด้วยกัญชา และกระท่อม เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ สามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคเฉพาะตัวได้

เช่นเดียวกับยาเสพติดให้โทษประเภท2 แบบฝิ่น โดยไม่ได้รวมถึงการใช้เสพเพื่อสันทนาการ หลายคนมีความเห็นแตกต่างกันไป ล่าสุดซูเปอร์โพล ได้ทำการสำรวจเรื่องนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว

ดร.นพดล กรรณิกา 1
ดร.นพดล กรรณิกา

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชน และความเป็นผู้นำ นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง กฎหมาย กระท่อม กัญชา กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,055 ตัวอย่าง

กัญชา1
การรับรู้ประโยชน์กัญชา กระท่อม

โดยดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 10–14 ธันวาคม 2561 พบว่า คนส่วนใหญ่หรือ 81.65% เคยได้ยินประโยชน์ของกัญชา และ 69.89% เคยได้ยินประโยชน์ของกระท่อม โดยส่วนใหญ่หรือ 62.91% เชื่อว่ากัญชาเป็นยารักษาโรคได้ และ 61.31% เชื่อว่า กระท่อม เป็นยารักษาโรคได้

กัญชาA
สนับสนุนการแก้กฎหมายกัญชา และกระท่อม เป็นพืชยารักษาโรค

ผลสำรวจยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือ 76.46% สนับสนุนเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ให้กระท่อม กัญชา จากพืชยาเสพติด เป็น พืชยารักษาโรคได้

กัญชา2
ไม่ยินยอมให้ต่างชาติมาจดทะเบียนสิทธิ์ประโยชย์ กัญชา กระท่อม

อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือ 95.41% ไม่ยินยอมให้ต่างชาติมาจดทะเบียนสิทธิใช้ประโยชน์ จากกัญชาของประเทศไทย และ 96.14% ไม่ยินยอมให้ต่างชาติมาจดทะเบียนสิทธิใช้ประโยชน์จากกระท่อมของประเทศไทย

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือ 55.84% เชื่อมั่นแก้กฎหมายกัญชาและกระท่อม ไม่ยอมให้ต่างชาติแทรกแซง ในขณะที่จำนวนมากหรือ 44.16% ไม่เชื่อมั่น

Avatar photo