Economics

‘สุรเกียรติ์’ ร้องนานาชาติร่วมมือด้านเทคโนโลยีเพื่อสันติบนโลกไซเบอร์

ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย (เอพีอาร์ซี) อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการว่าด้วยสันติภาพ และความร่วมมือระหว่างประเทศบนโลกไซเบอร์ ที่เอพีอาร์ซี ร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมอิเลคทรอ  นิกส์ (เอตด้า) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

S 5857783

โดยระบุว่า เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่เกิดขึ้นมาสักพักหนึ่งแล้ว  ใช้เวลาไม่ถึง 2 ทศวรรษ ในการปรับโฉมรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเรา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคำจำกัดความของสิ่งที่จำเป็นในการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ อย่าง ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร และยารักษา ให้ครอบคลุมไปถึง สมาร์ทโฟน ที่กลายมาเป็นสิ่งของที่จำเป็นสำหรับชีวิต

ศ.ดร.สุรเกียรติ์ บอกด้วยว่า เทคโนโลยียังสร้างการเปลี่ยนแปลง แม้กระทั่งวิธีการใช้งานอวัยวะบางส่วนของคนเรา โดยอธิบายว่า คำว่า “ดิจิทัล” หมายความถึง สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับเทคโนโลยีอะนาล็อก เพราะดิจิทัล หมายถึงตัวเลข อย่าง 0-1-1-0 ที่ใช้ในการเขียนโค้ดสำหรับทุกอย่างที่เป็นดิจิทัล

ทั้งคำว่า“ดิจิท” ยังหมายถึงนิ้วมือ ดังนั้น ยุคดิจิทัล จึงมีความหมาย 2 ด้าน ไม่ได้หมายถึงการใช้ตัวเลขในการเขียนโค้ดเท่านั้น แต่ยังหมายความถึง การค้นพบที่อาจเกิดขึ้นกับทุกคน และยังอาจหมายความถึง ยุคที่มีการใช้นิ้่วมือมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

S 5857788

เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งแพร่หลายอย่างมากในทุกวันนี้ เป็นได้ทั้งเครื่องมือส่งเสริมสันติภาพ และความร่วมมือระดับนานาชาติ พอๆ กับที่สามารถเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ และความร่วมมือระหว่างกัน เพราะเทคโนโลยีนี้ สามารถเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการใช้ชีวิต รวมถึงเปลี่ยนแปลงโลกในหลายด้าน

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ บทบาทของเทคโนโลยีสำหรับการสร้างแหล่งพลังงานใหม่ๆ อาทิ พลังงานลม และแสงอาทิตย์ เพื่อทดแทนภาวะขาดแคลนพลังงานในหลายๆ ส่วนของโลก ช่วยลดสาเหตุของการเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศได้

ทั่วทุกมุมโลกกำลังอ้าแขนรับเทคโนโลยีดิจิทัลแบบใหม่ เกิดการแข่งขันทั้งด้านแอพพลิเคชัน และนวัตกรรมเทคโนโลยี ซึ่งไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลงในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ กำลังเข้ามาแทนที่กิจกรรมมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม และการใช้ชีวิตนอกภาคอุตสาหกรรม

แม้จะมีความตื่นเต้นกันมากขึ้นเรื่อยๆ กับการเปิดตัวนวัตกรรมเอไอล่าสุด ที่เกิดขึ้นแทบจะทุกเดือน หรือทุกสัปดาห์ แต่จะต้องไม่มองข้ามความกังวลถึงอนาคตของทรัพยากรมนุษย์ ที่จะตกเป็นเป้าโดนเอไอเข้ามาแทนที่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับการศึกษา และการฝึกอบรมในทุกวันนี้ และทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต ให้มีทักษะที่เหมาะสมกับยุคเทคโนโลยีดิจิทัล และเอไอ เพราะถ้ายิ่งช้าไปมากเท่าใด ผู้คนในอนาคตของเราก็จะยิ่งเจอกับความยากลำบากมากขึ้นเท่านั้น

S 5857790

ศ.ดร.สุรเกียรติ์ ย้ำด้วยว่าเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมใหม่ๆ บนโลกไซเบอร์ ทำให้สิ่งที่เคยปรากฎอยู่แต่ในนิยายวิทยาศาสตร์กลายเป็นความจริงขึ้นมา จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเป็นความขัดแย้ง และความคาดหวังที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับคนรุ่นต่อๆไป

ดังนั้นรัฐบาล และชุมชนนานาชาติ จะต้องตระหนักอย่างรวดเร็วถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือกัน เพื่อรับประกันถึงการใช้งานเทคโนโลยีอย่างสันติ เพื่อประโยชน์ และการคุ้มครองประเทศ และนานาชาติ รวมถึงประชาชนทั่วไปทั่วโลก

Avatar photo