COLUMNISTS

ใครคือบุคลากรผู้ขับเคลื่อนตึกสูง?

Avatar photo
กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร
328

เป็นที่ฮือฮาไปไม่นานสำหรับการเปิดตัวอาคารมิกซ์ยูส ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่มีอาคารที่สูงที่สุดทำสถิติใหม่เป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย แน่นอนว่าอาคารสูง นั้นยังเป็นที่นิยมของเหล่านักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง เพราะความสูงไม่ได้หมายถึงจำนวนชั้นที่สูงเสียดฟ้าเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งภาพของความหรูหราติดมากับอาคารสูงแทบทุกอาคาร และสาเหตุที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังคงเน้นอาคารสูง เนื่องจากการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับ Luxury ยังคงเป็นคำตอบสำหรับทุกสภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นสินค้าที่เจาะกลุ่มลูกค้าระดับที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอของเศรษฐกิจ ไม่มีปัญหาเรื่องหลุดดาวน์ หรือหลุดโอน ให้ผู้ประกอบการต้องกังวลใจ

คอนโด ตึกสูง2
ภาพจากเฟซบุ๊ค Plus Property

อย่างไรก็ตาม ความหรูหราที่มากับที่อยู่อาศัยระดับ Luxury นั้น ก็ต้องได้รับการดูแลในระดับพรีเมี่ยมจากบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาอย่างมืออาชีพเช่นกัน จากการสำรวจของฝ่ายวิจัยและพัฒนาของพลัส พร็อพเพอร์ตี้ พบว่า ปัจจุบันคอนโดมิเนียมระดับ Luxury ราคา 200,000 บาทต่อตารางเมตรขึ้นไป มีการเติบโตต่อเนื่องอย่างมาก โดยมีการขยายตัวถึง 50% ต่อปี

แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า ภาคแรงงานที่เป็นบุคลากรในธุรกิจให้บริการอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเหมือนหัวใจที่คอยดูแลอาคารในระยะยาว กลับเติบโตเพียง 5% ซึ่งถือว่าเติบโตในอัตราที่น้อยกว่าการเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างมาก และแน่นอนว่าหากการเติบโตยังเป็นเช่นนี้อาจจะเข้าสู่ภาวะขาดแคลนแรงงานในภาคบริการอสังหาริมทรัพย์ในระยะเวลาอันใกล้ โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยระดับ Luxury เนื่องจากต้องใช้ความเป็นมืออาชีพในการให้บริการเพราะลูกค้ามักจะคาดหวังบริการที่เหนือระดับตามความคุ้มค่าของมูลค่าที่อยู่อาศัยที่ยอมจ่าย

คอนโด ตึกสูง6
ภาพจากเฟซบุ๊ค Plus Property

ทั้งนี้ พบว่าด้านของตลาดแรงงานในภาคธุรกิจด้านการบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ คิดเป็นสัดส่วน เพียง 0.5% ของการจ้างงานรวมทั้งประเทศและมีแนวโน้มลดลงในอนาคตส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างประชากรที่มี สัดส่วนของประชากรในวัยทำงานลดลง ประกอบกับอัตราการเกิดยังอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งกลุ่มแรงงานในการบริการภาคอสังหาริมทรัพย์จัดเป็นกลุ่มแรงงานที่มีทักษะทางสังคมและความคิดสร้างสรรค์เฉพาะสาขาที่ เทคโนโลยีทดแทนได้น้อย ทำให้อาจยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่มีแนวโน้มลงทุนเพิ่มขึ้น

นอกจากจำนวนแรงงานที่อาจขาดแคลนในอนาคต อีกหนึ่งความท้าทายของผู้ประกอบการ คือการ เพิ่มคุณภาพของแรงงานให้สูงขึ้นและมีทักษะที่ตรงตามความต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานในภาคบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลูกค้าในคอนโดมิเนียมในระดับ Luxury ที่มีความคาดหวังต่อการอยู่อาศัยสูง โดยจากประสบการณ์ด้านการให้บริการของพลัสฯ มองว่าทักษะที่แรงงานด้านการให้บริการอสังหาริมทรัพย์ต้องพัฒนา ประกอบด้วย

คอนโด ตึกสูง5
ภาพจากเฟซบุ๊ค Plus Property

(1) ทักษะด้านการจัดการอาคาร และความปลอดภัย ที่เป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการบริหารจัดการอาคารและการดูแล อาคาร ที่รวมถึงการซ่อมแซม การบำรุงรักษาสภาพโครงการให้มีความสวยงาม และมีการบริหารจัดการด้านการ รักษาความปลอดภัยให้กับลูกบ้าน จากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ได้รับการอบรม เพื่อให้ลูกบ้านได้รับ ประสบการณ์ที่ดีและความรู้สึกปลอดภัยจากทีมบริหารโครงการ

(2) การเพิ่มทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการสื่อการ ในยุคที่เทคโนโลยีทีพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

(3) การเพิ่มทักษะทางด้านการสื่อสารและภาษาให้หลากหลายมากกว่า 2 ภาษา

(4) ทักษะอื่นๆ จากบริการเสริมเพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าตลาดบน เช่น การให้บริการแบบเป็นส่วนตัวเสมือนได้รับบริการจากโรงแรม 5 ดาว ซึ่งหากผู้ให้บริการใดสามารถพัฒนาทักษะการให้บริการของบุคลากรได้ครบถ้วยก็จะทำให้ดึงดูดผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้ อย่างง่ายดายไม่เว้นแม้แต่ลูกค้าระดับ Luxury

 

อนุกูล รัฐพิทักษ์สันติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
([email protected])