Politics

10 เหตุผลคนการเมืองย้ายพรรคหนี

26 พฤศจิกายน 2561 ถือเป็นวันสุดท้าสำหรับการย้ายพรรคของบรรดาว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. แต่ละคนที่คิดจะย้ายพรรคกัน  ก่อนหน้านี้จะเห็นว่าแต่ละคน วิ่งวุ่นย้ายเข้าพรรคใหม่กันจ้าละหวั่น โดยเฉพาะการย้ายเข้าพรรคใหม่ๆ และพรรคใหญ่ๆ รวมไปถึงพรรคการเมืองที่แตกหน่อออกลูกกันมา

พรรคพลังประชารัฐ

เรียกว่าถนนการเมืองเวลานี้คึกคักทีเดียว หลังจากห่างหายจากการเลือกตั้งมาไม่ต่ำกว่า 7-8 ปี วันนี้ใครๆก็กระหายอยากที่จะเข้ามาเล่นการเมืองกันยกใหญ่มีทั้งพรรคใหม่ พรรคเก่า ตอนนี้มีพรรคการเมืองยื่นขอจดทะเบียนพรรคกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) น่าจะไม่ต่ำกว่า 83 พรรค ดูเหมือนเป็นประเทศที่มีพรรคการเมืองไม่น้อยทีเดียว เรียกว่าพรรคเล็กพรรคใหญ่มีกันมากมาย

แต่ปีนี้ดูเหมือนว่าจะคึกคักเป็นพิเศษ ก็เพราะมีพรรคการเมืองเกิดใหม่ยิ่งในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา ความผิดปกติยิ่งปรากฎเด่นชัด เมื่อมีพฤติกรรมการดูดอดีต ส.ส.แต่ละคนแต่ละกลุ่มเข้าสังกัดพรรค ด้วยวิธีต่างๆนานา ที่ทำให้ใครต่อใครมองว่าเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ อย่างที่พรรคการเมืองเขาทำกัน แน่นอนส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ “ตัวอดีตส.ส.เองก็อยากที่จะเข้าไปร่วมกับพรรคการเมืองใหม่”ด้วย

3394354544 473de73dc9 o

ฉะนั้นในช่วงที่ผ่านมา เราจะเห็นภาพการชูมือชูแขนกันตลอดเวลาที่ผ่านมา บางพรรคก็ไหลรวมเข้าไปแบบกลุ่มแบบยกจังหวัด บางพรรคก็เข้าไปรายบุคคล เรียกว่ามีความเคลื่อนไหวกันมาตลอด จนเรียกเสียงฮือฮาให้กับพรรคการเมืองที่มีอดีตส.ส.หรือแม้แต่คนหน้าใหม่ไหลเข้าไปอย่างต่อเนื่อง

 

พยายามตรวจสอบและถามไถ่ผู้คนในแวดวงการเมืองอยู่พอสมควร มีเหตุผลอันใดที่ทำให้อดีตส.ส.ถึงกับต้องเสียจุดยืน ในบางพื้นที่ไหลรวมเข้าไปอยู่กับพรรคการเมืองใหม่ ที่ดูเหมือนเนื้อหอมเสียเหลือเกินเวลานี้ ทั้งๆที่ หัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค หรือแม้แต่โฆษกพรรค เรียกว่าอ่อนหัดต่อวงการการเมืองเหลือเกิน เหตุใดถึงมีผู้คนหลั่งไหลกันเข้าไปมากมาย

เหตุผลที่ชวนคิดและน่าจะเป็นปัจจัยทำให้ย้ายพรรคกัน  พบว่ามีหลายปัจจัยทีเดียว ที่เป็นเหตุผลสำคัญของการย้ายพรรคจนนาทีสุดท้าย มีการพูดกันหนาหูเหลือเกิน จากเหตุผลเหล่านี้

  1. ย้ายพรรคเพราะต้องการลดทอนคดีความให้กับตัวเองหรือไม่ก็คนในครอบครัว
  2. ย้ายเพราะถูกบังคับและขอร้อง
  3. ย้ายพรรคเพราะคิดว่ามีความได้เปรียบก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง
  4. ย้ายพรรคเพราะได้งบประมาณลงพื้นที่
  5. ย้ายพรรคเพราะมั่นใจว่าจะชนะเลือกตั้ง
  6. ย้ายพรรคเพราะคิดว่าพรรคใหม่จะได้เป็นรัฐบาล
  7. ย้ายพรรคเพราะเบื่อพรรคเก่า
  8. ย้ายพรรคเพราะคิดว่าเขตพื้นที่เลือกตั้งทับซ้อน
  9. ย้ายพรรคเพราะต้องการเลือกข้าง
  10. ย้ายพรรคเพราะถูกซื้อตัว

เหตุผลข้างต้นถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการย้ายพรรค ซึ่งแต่ละคนแต่ละกลุ่ม จะมีเหตุผลที่ต่างๆกันไป การไหลออกของอดีตส.ส.ทำให้บางพรรคต้องอยู่ในสภาพ“เลือดไหลไม่หยุด” แต่ที่แน่ๆการย้ายพรรคไม่ได้หมายความว่า จะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเสมอไป เพราะถึงอย่างไรแล้ว จะเลือกหรือไม่เลือก คนไหนพรรคไหน ทั้งหมดคงต้องขึ้นอยู่กับ“ประชาชน”เท่านั้น

 

p8r05ji3s4XlgHI12Zu o55555

จากสถิติของการเลือกตั้งบ้านเรา สิ่งที่ประชาชนจะเลือกส่วนใหญ่มาจาก“พรรค”และ“ตัวผู้สมัคร”เสียเป็นส่วนใหญ่ หากจะให้น้ำหนักอยู่ที่“พรรค”มากกว่า“ตัวบุคคล” ฉะนั้นการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ ยังมีความเชื่อว่าประชาชนยังคงมุ่งเน้นพรรคมากกว่า โดยเฉพาะพรรคที่เคยทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

ฉะนั้นนับจากนี้หากไม่มีอะไรคั่นกลางระหว่างทาง เราจะเห็นการเลือกตั้งเกิดขึ้น 24 กุมภาพันธ์ 2562 แน่นอน เวลาที่เหลือน่าจะเป็นช่วง “เคาท์ดาวน์” ทางการเมือง  อาการย้ายพรรคของผู้สมัครหรืออดีตส.ส.น่าจะจบสิ้น เวลาที่เหลือเป็นเรื่องของประชาชนแล้วว่าจะเลือก“พรรค” เลือก“คน” อย่างไร

BP Logo 1

แต่สิ่งที่เราเห็นการย้ายพรรคหนีความผิด หนีคดี เพื่อหวังไปซบพรรคใหม่ที่คิดว่าจะเป็นรัฐบาลได้ อย่าง“พรรคพลังประชารัฐ” ที่วันนี้มีผู้คนจำนวนไม่น้อย ที่มีคดีเกาะติดหลัง ไม่ตัวเองก็คนในครอบครัว

หากวันหน้าเกิดพรรคนี้ชนะเลือกตั้งแบบ“ถล่มทลาย” ได้จัดตั้งรัฐบาล แล้วคนในพรรคมีแต่ประเภทพวกคดีติดตัว เมื่อถึงตอนนั้นจะทำอย่างไร หรือว่าปล่อยๆให้คดีมันสิ้นสุดไปอย่างนั้นหรือ? 

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight