Lifestyle

ทะลายแหล่งผลิตยา ‘ทรามาดอล’ ส่วนผสม 4X100

อย.จับมือศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สตช.บุกทลาย บริษัท เอช.เค.ฟาร์มาซูติคอล จากัด ลักลอบผลิตยาแคบซูลสีเขียวเหลือง และจำหน่ายให้กับกลุ่มเยาวชนนาไปใช้เป็นส่วนประกอบ 4 x 100 พบยากระจายเข้าท้องตลาดไปแล้วกว่า 7 ล้านแคปซูล มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท เตือนโรงงานผลิตยาลักลอบผลิตยาที่ไม่ขึ้นทะเบียนมีโทษหนัก แนะผู้ปกครองหมั่นสอดส่องดูแลบุตรหลาน อย่าใช้ยาในทางที่ผิด เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

 

อย.
นพ. ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหาร และยา  (อย.) นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา และ เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล ที่ปรึกษา อย. ร่วมกับศูนย์ปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นาทีมโดย พล.ต.ต. สุรเชษฐ์  หักพาล ผบช.สตม. สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจของศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) เปิดปฏิบัติการ “กวาดล้างยาทรามาดอลครั้งใหญ่”

ภายหลัง อย. ได้ทำการสืบสวนกรณีการลักลอบขายยาทรามาดอล แคปซูลเขียว – เหลือง ให้กับกลุ่มเยาวชนนาไปใช้เป็นส่วนประกอบ 4 x 100 ทำให้มีอาการคึกคัก มึนเมา โดยฉลากระบุ “TRADOL”  ประกอบไปด้วย ทรามาดอล 50 มิลลิกรัมต่อแคปซูล ฉลากไม่ระบุแหล่งผลิต จากการตรวจสอบพบเอกสารการผลิต และฉลากที่ได้มีการส่ง และรับสินค้า จานวน 7,500 กระปุกๆ ละ 1,000 แคปซูล

โดยเจ้าของยอมรับว่ามีการส่งสินค้าออกไปยังท้องตลาดแล้ว รวมมูลค่าของกลางที่ยึดได้รวมกว่า 20 ล้านบาท จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาว่าผลิตยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

ยาผิดกฎหมาย

นพ.ธเรศ กล่าวต่อไปว่า อย. ขอเตือนโรงงานผลิตยา และ ร้านขายยาทุกแห่งทั่วประเทศ อย่าได้ลักลอบผลิต หรือจำหน่ายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยเฉพาะการผลิตยาทรามาดอลที่ขายให้กับเยาวชนเพื่อนาไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่ง อย. ได้มีมาตรการเข้มงวด ทั้งผู้นำเข้าวัตถุดิบ ผู้ผลิต เมื่อมีการนำเข้า และผลิต ต้องรายงานผ่านระบบออนไลน์มายังอย.

ในกรณีนี้จากการตรวจสอบ พบว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตครั้งนี้ไม่ได้รั่วไหลจากระบบการควบคุมของอย. ประกอบกับยังกำหนดให้ผู้ผลิตขายให้กับร้านขายยา ไม่เกิน 1,000 แคปซูลต่อเดือนต่อร้าน และทางร้านต้องขายให้กับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นทางการแพทย์เท่านั้น ไม่เกินครั้ง ละ 20 แคปซูลต่อราย และให้เภสัชกรประจำร้านเท่านั้นเป็นผู้ที่จัดส่งมอบยา ข้อสำคัญห้ามจำหน่ายยาให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี ในทุกกรณี รวมทั้งให้ผู้รับอนุญาต และเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ต้องจัดทำบัญชีรายชื่อยา และบัญชีการขายยาให้เป็นจริง ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน

หากพบร้านขายยาใดฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว นอกจากจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วยัง จะถูกเสนอเข้าคณะกรรมการยาให้ความเห็นชอบในการพักใช้ใบอนุญาตขายยาต่อไป โดยขอให้ผู้บริโภคมั่นใจการดำเนินงานของ อย. และเจ้าหน้าที่ตำรวจจะผนึกกำลังร่วมมือกันปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคอย่างเข้มแข็ง

ยา
ภาพปประกอบข่าว

ทั้งนี้ยังมีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า มีการขายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาทในประเภท 2 ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อ    จิต และประสาท พ.ศ.2518 มีบทลงโทษจาคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 1 – 4 แสนบาท โดยพบเอกสารสาเนาใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงิน ซึ่งหัวกระดาษระบุชื่อบริษัท เอช.เค ฟาร์มาซูลติคอล จากัด รายละเอียดสินค้า ระบุ อัลแลม 1.0 (สีม่วง) ลงวันที่ 24 มกราคม 2557 และ อัลแลม 0.5 (สีชมพู) ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2556 ขายไปที่ร้านขายยา

ลักษณะของชื่อ และรูปลักษณะของเม็ดตรงกับวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาทที่เคยได้รับอนุญาตไว้เมื่อปี 2553 ซึ่งทาง            กฎหมายอัลปราโซแลม จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาทในประเภท 2 ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2556 ไม่สามารถที่จะขายไปให้ร้านขายยาได้  ประกอบกับมีการตรวจพบวัตถุดิบบรรจุอยู่ในอลูมิเนียมฟรอยด์ไม่มีชื่อ ขณะนี้ได้ทำการส่งตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว

ด้าน นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการอย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอย้ำเตือนไปยังผู้ปกครองหมั่นสอดส่องดูแล บุตรหลาน อย่าได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการใช้ยาในลักษณะดังกล่าว และฝากถึงประชาชนผู้บริโภคช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบร้านขายยาใดลักลอบขายยา ทรามาดอลให้แก่เยาวชน หรือ ขายยาโดยไม่มีเภสัชกรประจาร้าน ขอให้แจ้งมาได้ที่ช่องทางการร้องเรียนแจ้งเบาะแสกับอย. เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจเบื้องต้นให้กับผู้บริโภคก่อนการเลือกซื้อ

Avatar photo