Economics

สนช.ลงมติร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯพรุ่งนี้หวังใช้ปี 63

  สนช. ถกร่างพ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เตรียมลงมติรายมาตราพรุ่งนี้ สมาชิกรถกเถียงหนักค่าปรับมาตรา 64  

ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่าง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แถลงผลการพิจารณาชั้นกรรมาธิการว่าร่างกฎหมายนี้มีทั้งสิ้น  94 มาตรา โดยมีการแก้ไข 37 มาตราเพิ่ม 19 มาตรา จะลงมติรายมาตราวันพรุ่งนี้ (16 พ.ย.) โดยจะมีผลใช้บังคับอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เพื่อให้เวลาประชาชนเตรียมการ

003 20150422144722

หลังจากสนช. ใช้เวลาพิจารณา 19 เดือน จากเดิมได้ใช้อัตราจัดเก็บภาษีเดิม 40 ปีมาแล้ว  ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงควรเป็นระบบเก็บภาษีแบบก้าวหน้าแทนการเก็บแบบ ถดถอย  และเกิดความลักลั่นในการเก็บภาษี รัฐบาลต้องการปฏิรูประบบโครงสร้างจัดเก็บภาษีให้เป็นสากล และให้มีประสิทธิภาพโปร่งใสเป็นธรรม จึงเป็นที่มาของร่างกฎหมายฉบับนี้

นอกจากนี้ ยังต้องการกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดิน เพิ่มความเป็นอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น เพราะเป็นรายได้ของระดับท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็ง และโปร่งใสในการบริหารการคลังของท้องถิ่น และให้ท้องถิ่นมีงบประมาณเพียงพอในการบริหารพื้นที่

นายวิสุทธิ์ กล่าวว่าได้มีการลดอัตราภาษีจากร่างเดิมที่รัฐส่งมาให้ จัดกลุ่มในการเก็บภาษีตามขนาดรายได้ กลาง สูงต่ำ และนำมาเทียบฐานภาษีเดิม และปรับอัตราเพดานลดลงอีก 40%โดยยังคงแบ่งประเภทที่ดินเป็น 4 ประเภท

 

20140921163237 910121541e9b35e5860 5555

1.ที่ดินเพื่อการเกษตร  หากมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 1 ล้านบาท ต่อ 100 บาท ยกเว้น 3 ปีแรกไม่ต้องเสียภาษี แต่ นิติบุคคลรายใหญ่ เริ่มจัดเก็บทันที และที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี

2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีอัตรา 1 ล้านบาทต่อ 200 บาท  บ้านหลังที่ 2 ขึ้นไปทุก ๆ 1 ล้านบาท เสียภาษี 200 บาท  ห้องเช่า / บ้านเช่า เจ้าของที่ดินเป็นผู้รับผิดชอบ / ตามสัญญาที่ตกลง

3.ที่ดินเพื่อการพาณิชย์-อุตสาหกรรม  จัดเก็บอัตราขั้นบันได สูงสุดไม่เกิน 0.7 % ของราคาประเมิน แต่โรงพยาบาล ,สนามกีฬา ,สนามกอล์ฟ ,สถานศึกษาเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน

4.ที่ดินรกร้าง ว่างเปล่า เก็บในอัตราตั้งแต่ 0.3 – 3% ของราคาประเมิน และทุก 3 ปี ต้องเสียเพิ่ม 0.2 -0.3 % ต่อเนื่อง ไม่เกิน 27 ปี หรือจนกว่าจะมีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน

จากนั้นเป็นการพิจารณารายมาตรา  ประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากคือเรื่องค่าปรับในมาตรา 64  ที่กำหนดว่ากรณีที่ไม่มีการเสียภาษีในเวลาที่กำหนดต้องถูกปรับ 40 % ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ ส่วนผู้ที่เสียภาษีเลยกำหนดแต่เสียก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน จะต้องถูกปรับ 10% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ ซึ่งสนช.ที่สงวนคำแปรญัตติเห็นว่าเป็นอัตราที่สูงเกินไป

นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ สนช. กล่าวว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต่างจากภาษีที่เกิดจากการทำธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเรื่องจงใจหลีกเลี่ยงแต่กรณีนี้อาจจะเป็นกรณีที่ไม่มีเงินจ่าย หากโดยปรับ  40% จะยิ่งเป็นภาระ จึงอยากให้กมธ.พิจารณา ลดลงเหลือ 20%

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight