Finance

กำไรบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 3 ทะลุ 2 แสนล้าน

เทศกาลประกาศผลการดำเนินงานในงวดไตรมาส 3 ของปี 2561 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยสิ้นสุดลง ซึ่งพบว่า นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทยอยสรุปภาพรวมความสามารถในการทำกำไรแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่ามีกำไรรวมกันเกินกว่าระดับ 2 แสนล้านบาท และกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรดีขึ้นหากเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และเทียบกับงวดไตรมาส 2 ของปี 2561 คือกลุ่มพลังงาน, ปิโตรเคมี, อสังหาริมทรัพย์, กลุ่มยานยนต์, ส่งออกชิ้นส่วนฯ, โรงพยาบาลและกลุ่มขนส่ง

สรุปความเห็นของกำไรไตรมาส3ปี61 01

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มผลประกอบการในไตรมาส 4 ของปี 2561 คาดชะลอตัวลงจากไตรมาส ของปี 2561 เนื่องจากปัจจัยหลักมาจากกลุ่มที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ขนาดใหญ่ มีแนวโน้มผลการดำเนินงานอ่อนตัวลง

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บัวหลวง ระบุว่า นับแต่ผลประกอบการงวดไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งประกาศแล้วประมาณ 70% ของจำนวนบริษัทที่ฝ่ายวิจัยศึกษา) มีจำนวนบริษัทที่รายงานกำไรดีกว่าคาด 41% ตามคาด 30% แย่กว่าคาด 29% เทียบกับสถิติในงวดไตรมาส 2 ของปีนี้ที่ กำไรดีกว่าคาด 33% ตามคาด 37% แย่กว่าคาด 30%

ขณะที่ บล.เอเซียพลัส ประเมินว่า บริษัทจดทะเบียนประกาศผลประกอบการในไตรมาส 3 ของปี 2561 ราว 294 บริษัท หรือคิดเป็น 65% ของ Market Cap. ทั้งตลาด มีกำไรสุทธิรวม 2.05 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดไตรมาส 3 ปี 2560 เฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้วพบว่า เติบโต 22.9% จากงวดเดียวกันปีก่อน และเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2561 เติบโต 5.9% และหากพิจารณาเฉพาะภาคอุตสาหกรรมหลัก (real sector) มีกำไรสุทธิราว 1.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.4% จากงวดเดียวกันปีก่อน และ 11.8% จากงวดไตรมาส 2 ปี 2561

ในเบื้องต้น หากเปรียบเทียบกันเป็นรายกลุ่มฯ สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ กลุ่มฯ ที่กำไรสุทธิเติบโตทั้งงวดเดียวกันของปีก่อน และ ไตรมาส 2 ของปี 2561  คือ กลุ่มพลังงาน (หลักๆ มาจากหุ้น PTT, EGCO, PTTEP,BCPG, EA), กลุ่มปิโตรเคมี (GGC และ IVL), กลุ่มอสังหาฯ (LPN, QH, SF), กลุ่มยานยนต์ (STANLY), กลุ่มส่งออกชิ้นส่วนฯ (DELTA),กลุ่มโรงพยาบาล (B, SVH) และกลุ่มขนส่ง (BEM)

set25 1

กลุ่มฯ ที่กำไรสุทธิเติบโตจากงวดเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาส 2 ของปี 2561 คือ กลุ่มท่องเที่ยว แต่หากพิจาณาเป็นรายหุ้น พบว่า หุ้นที่มี Market Cap. ขนาดใหญ่ในกลุ่มฯ CENTEL  ยังเติบโตได้ทั้งงวดเดียวกันปีก่อน และงวดไตรมาส 2 ปี 2561

กลุ่มฯ ที่กำไรสุทธิเติบโตจากงวดไตรมาส 2 ปี 2561 แต่ลดลงจากงวดเดียวกันปีก่อน  คือ กลุ่มเกษตร-อาหาร (หลักๆ มาจาก CBG ,TFG ,TU GFPT)

กลุ่มฯ ที่กำไรสุทธิลดลงทั้งงวดเดียวกันปีก่อน และไตรมาส 2 ปี 2561 คือ กลุ่มรับเหมา-วัสดุก่อสร้าง (หลักๆ จาก SCC, SYNTEC) กลุ่ม ICT (จาก ADVANC, INTUCH, DTAC, JAS และ JASIF), กลุ่มสื่อบันเทิง (MAJOR)

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิของตลาดฯ ทั้งปี 2561 อยู่ที่ 1.07 ล้านล้านบาท โดยงวดครึ่งปีแรกของปี 2561 ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 5.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 52% ของประมาณการฯ ทั้งปี ดังนั้น หากจะเป็นไปตามที่ประเมินไว้ ผลการดำเนินงานรวมในงวดไตรมาส ปี 2561 นี้ ควรทำได้อย่างน้อย 2.6 แสนล้านบาท หรือบวก-ลบจากนี้เล็กน้อย

ตลาดหุ้น

สำหรับแนวโน้มผลประกอบการในงวดไตรมาส ปี 2561 คาดชะลอตัวลงจากไตรมาส ปี 2561 ปัจจัยหลักมาจากกลุ่มที่มี Market Cap ขนาดใหญ่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานอ่อนตัวลง เช่น กลุ่มพลังงาน ทั้งในส่วนของธุรกิจปิโตรเลียม คาดได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันโลกที่ลดลง ทำให้มีโอกาสสูงที่จะบันทึกขาดทุนสต็อกน้ำมัน แม้มีแนวโน้มที่ปริมาณขายจะเพิ่มขึ้นก็ตาม

นอกจากนี้ หากเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ก็มีโอกาสที่จะเกิดค่าใช้จ่ายทางภาษีเพิ่มขึ้นกับ PTTEP เช่นเดียวกับธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี ที่ไม่น่าจะมีการบันทึกกำไรสต๊อกน้ำมันในระดับสูงเช่นในงวดที่ผ่านมา ขณะที่ทิศทาง spread โดยเฉพาะกลุ่มโอเลฟินส์ที่เริ่มเห็นการปรับตัวลดลงจากงวดก่อนหน้า เพราะเข้าสู่ช่วง low season ทางด้านธุรกิจถ่านหิน มีแนวโน้มทรงตัว ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน มีโอกาสอ่อนตัวลง เนื่องจากจะเป็นช่วง low season ของโรงไฟฟ้าโซลาร์

สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ คาดกำไรสุทธิอ่อนตัวลงจากไตรมาส 3 ปี 2561 เนื่องจากการลดลงของรายได้พิเศษของ TMB ที่บันทึกเข้ามามากใน ไตรมาส 3 ของปี 2561 และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เร่งตัวขึ้นในช่วงฤดูกาล รวมถึงแนวโน้มค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่คาดจะเร่งตัวขึ้นในไตรมาส 4 ปี 2561 ตามการตัดหนี้สูญเชิงรุกขึ้น

กลุ่ม ICT แนวโน้มทรงตัวหรืออ่อนตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2561 โดย ADVANC จะต้องรับรู้ต้นทุนคลื่นใหม่ 1800 MHz ในงวด ไตรมาส 4 ปี 2561  ขณะที่ DTAC คาดกำไรไตรมาส 4 ปี 2561 ดีขึ้นมีนัยฯ จากผลบวกการหยุดรับรู้ต้นทุนค่าตัดจำหน่ายอุปกรณ์สัมปทาน ส่วน JAS คาดกำไรในไตรมาส 4 ปี 2561 จะอ่อนตัวจากไตรมาส 3 ปี 2561

กลุ่มวัสดุก่อสร้าง แนวโน้มไตรมาส 4 ปี 2561 ทรงตัวหรืออ่อนตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2561 โดย SCC จะถูกกดดันจาก spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี แต่จะได้ธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และธุรกิจ Packaging บวกกับเงินปันผลจากธุรกิจลงทุนที่มีเข้ามาช่วยชดเชย ส่วน SCCC อาจได้รับผลกระทบจากตลาดปูนซีเมนต์ในศรีลังกาที่ชะลอตัวลงชั่วคราว จากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและการอ่อนค่าของค่าเงิน

หุ้นไทย

ตรงข้ามกลุ่มที่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโตขึ้น คือ กลุ่มค้าปลีก จากการเข้าสู่ช่วงเทศกาลจับจ่ายใช้สอยปลายปี และกลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม รวมทั้งสนามบิน-สายการบิน จากการเข้าสู่ช่วง High Season ของฤดูกาลท่องเที่ยว แต่อาจจะมีน้ำหนักไม่มากพอเมื่อเทียบกับแรงกดดันจากหุ้น Market Cap ใหญ่ อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการกำไรฯ ปี 2561 ไว้เช่นเดิมก่อน

บล.ฟินันเซียไซรัส เชื่อว่ากำไรปกติส่วนใหญ่เป็นไปตามคาด กำไรปกติไตรมาส 3 ปี 2561 เท่าที่ประกาศไปเกือบครบแล้ว ปรากฎว่า ลดลง 2% จากงวดไตรมาส 2 ปี 2561แต่เพิ่มขึ้น 12% จากงวดเดียวกันปีก่อน โดยกำไรที่ลดลงจากไตรมาส 2 ปี 2561 เพราะฤดูกาลและเพราะกลุ่มพลังงานมี stock gain น้อยกว่าไตรมาสก่อน

ส่วนกำไรที่เพิ่มจากงวดเดียวกันปีก่อน ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มอสังหาฯ และกลุ่มไฟแนนซ์ สำหรับบริษัทที่กำไรผิดคาด  ส่วนใหญ่เป็นบริษัทในกลุ่มค้าปลีกโดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็น สะท้อนการจับจ่ายยังฟื้นตัวไม่แข็งแกร่งนัก ส่งผลต่อเนื่องให้บริษัทขนาดเล็กที่มีความทนทานน้อยต่อเศรษฐกิจ มีกำไรต่ำคาดเช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่พึ่งพาตลาดจีนก็ถูกกระทบค่อนข้างมากจากกำลังซื้อที่แผ่วลงและการแข่งขันที่รุนแรง บริษัทที่ปรับประมาณการกำไรปีนี้ลงมีมากกว่าปรับขึ้น

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight