World News

‘รถไฟฟ้า-พลังงานสะอาด’ ภัยคุกคามความต้องการน้ำมันโลก

รถยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีพลังงานสะอาด จะทำให้ความต้องการน้ำมันโลกลดลงเกินกว่าที่คาดไว้ ภายในปี 2583 แต่หากไม่มีการลงทุนในการผลิตใหม่มากพอ โลกก็อาจจะเผชิญกับภาวะตึงตัวในการจัดหาน้ำมันได้

lithium 1

สำนักงานพลังงานสากล (ไออีเอ) เปิดเผยรายงาน “แนวโน้มพลังงานโลก” ประจำปี 2561 ในวันนี้ (13 พ.ย.) คาดการณ์ว่า ความต้องการน้ำมันจะไม่พุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดก่อนถึงปี 2583

รายงานยังประเมินว่า ความต้องการจะขยายตัวโดยเฉลี่ยปีละ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงปี 2563 ก่อนที่จะทรงตัวอยู่ที่ระดับ 250,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2583 เมื่อขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 106.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน

“ในการทบทวนนโยบายใหม่นี้ ได้มีการปรับความต้องการในปี 2583 ขึ้นมาอีกมากกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากแนวโน้มเมื่อปีที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นเพราะการขยายตัวในระยะใกล้ที่เร็วขึ้น และการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในสหรัฐ”

ไออีเอเชื่อว่า ภายในปี 2583 จะมีรถยนต์ไฟฟ้าออกวิ่งตามท้องถนนราว 300 ล้านคัน ซึ่งเป็นระดับเดียวกับที่คาดการณ์เอาไว้เมื่อปีที่แล้ว แต่ในการประเมินครั้งล่าสุดนี้ ทางสำนักงานคาดการณ์ว่า รถยนต์กลุ่มนี้จะทำให้ความต้องการบริโภคน้ำมันลดลงราว 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ที่คาดว่าจะทำให้ความต้องการน้ำมันลดลงราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

“มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน จะกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้นที่จะสกัดการเติบโตในความต้องการน้ำมัน ซึ่งการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนี้ จะทำให้รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน มีความต้องการน้ำมันลดลงมากกว่า 9 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2583”

e569991aa3d1c94c9592b62d200cbd9786186a9d

รายงานคาดว่า ความต้องการน้ำมันสำหรับการคมนาคมบนท้องถนน จะพุ่งถึง 44.9 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2583 เพิ่มจากระดับ 41.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2560 ขณะที่ความต้องการจากอุตสาหกรรม และปิโตรเคมีจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 23.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีดังกล่าว จากระดับ 17.8 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อปีที่แล้ว

ทั้งนี้ ความต้องการน้ำมันโดยรวมทั่วโลก จะได้รับแรงหนุนจากกลุ่มเศรษฐกิจกำลังพัฒนา ภายใต้การนำของจีน และอินเดีย ขณะที่ความต้องการจากกลุ่มเศรษฐกิจก้าวหน้า คาดว่าจะลดลงโดยเฉลี่ยปีละมากกว่า 400,000 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงปี 2583

ในด้านของการจัดหานั้น ไออีเอคาดการณ์ว่า สหรัฐ ซึ่งปัจจุบันรั้งตำแหน่งผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก จะมีอัตราการผลิตเพิ่มขึ้นมากสุดไปจนถึงปี 2568 ราววันละ 5.2 ล้านบาร์เรล จากระดับปัจจุบันที่ประมาณ 11.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน

oil 622

หลังจากปีดังกล่าวแล้ว ไออีเอคาดว่า การผลิตน้ำมันของสหรัฐจะลดลง และส่วนแบ่งตลาดของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) จะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 45% ในอีก 22 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่ครองส่วนแบ่งตลาดอยู่เกือบ 30%

ไออีเอเตือนด้วยว่า โลกจำเป็นต้องหาแหล่งการจัดหาใหม่ๆ ไม่ว่าความต้องการจะพุ่งขึ้นหรือไม่ก็ตาม

“การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า การบริโภคน้ำมันจะขยายตัวขึ้นในทศวรรษต่อๆ ไป ผลจากปิโตรเคมีที่เพิ่มขึ้น และความต้องการจากอุตสาหกรรมการบิน และการขนส่ง แต่การที่จะรองรับความต้องการนี้ได้ในระยะใกล้นั้น หมายความถึง การเพิ่มโครงการผลิตน้ำมันให้ได้ 2 เท่าจากระดับปัจจุบัน”

ถ้าหากไม่มีการลงทุนเพิ่มเติม การผลิตน้ำมันจากหินดินดานของสหรัฐ ที่ปัจจุบันมีระดับการเติบโตสูงเป็นประวัติการณ์อยู่แล้ว ก็จะต้องผลิตเพิ่มให้ได้มากกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวันไปจนถึงปี 2568

Avatar photo