Properties

ซีบีดีแห่งใหม่! จับตา‘อารีย์-พหลโยธิน’ราคาที่ดินพุ่ง

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2542 ประเทศไทยได้มีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้า 2 สายแรกของประเทศ ได้แก่ สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิต-สถานีอ่อนนุช) และสายสีลม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีสะพานตากสิน)

ปัจจุบันรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายได้เปรียบเสมือน Backbone ของคนกรุงเทพฯในการใช้เดินทางสัญจร โดยสายที่ได้รับความนิยมและพบความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ สายสุขุมวิท ซึ่งเชื่อมต่อพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งเหนือ (จตุจักร) กรุงเทพฯชั้นในและฝั่งตะวันออก (แบริ่ง) เข้าด้วยกัน

โดยสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ การปรับเปลี่ยนสีผังเมือง ให้สอดคล้องกับการพัฒนาของเมือง ด้วยการปรับให้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีน้ำตาล (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) และสีแดง (พาณิชยกรรม) เป็นบางช่วง ทำให้พื้นที่โซนนี้มีศักยภาพต่อการพัฒนาในอัตราส่วนที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับขนาดที่ดิน ซึ่งสามารถพัฒนาได้ทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบและแนวสูง รวมไปถึงเพื่อการพาณิชย์ โรงแรมและสำนักงาน เป็นต้น

ที่ดิน พหลโยธิน อารีย์

นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนสีผังเมือง ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินอีกด้วย  ข้อมูลการสำรวจของบริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ พบว่าปัจจุบันราคาเสนอขายที่ดินแนวเส้นรถไฟฟ้าบีทีเอสย่านอารีย์-พหลโยธินมีราคาที่แตกต่างกัน แบ่งได้เป็น 3 ช่วงราคา ดังนี้ 1. ตั้งแต่สถานีบีทีเอส อนุสาวรีย์ฯจนถึงอารีย์ราคาเสนอขายที่ดินอยู่ที่ตารางวาละ 1.2 – 1.5 ล้านบาท 2. เส้นพหลโยธินซอยย่อยฝั่งเลขคี่ ราคาอยู่ที่ตารางวาละ 6-8 แสนบาท และ 3. เส้นพหลโยธินซอยย่อยฝั่งเลขคู่ ราคาอยู่ที่ตารางวาละ 3-5 แสนบาท ซึ่งเป็นทำเลที่มีราคาต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับทำเลอื่นในย่านนี้

ขณะที่ทำเลไม่ได้มีความแตกต่างจากพื้นที่ใกล้เคียงมากนัก ใกล้สถานีบีทีเอส,สำนักงาน, และสาธารณูปโภคอื่นๆ อีกทั้งยังมีความสงบเหมาะกับการอยู่อาศัยมากกว่า ที่สำคัญยังมีข้อได้เปรียบทางด้านราคาในการพัฒนาที่ดินจึงสามารถพัฒนาโครงการให้มีราคาที่จับต้องได้ โดยคอนโดมิเนียมในทำเลนี้มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.25 แสนบาทต่อตารางเมตร ขณะคอนโดมิเนียมบริเวณซอยย่อยในทำเลอารีย์และบนถนนพหลโยธินในทำเลจตุจักรมีราคาเฉลี่ยสูงกว่าอยู่ที่ 1.54 แสนบาท และ 1.66 แสนบาทต่อตารางเมตร ตามลำดับ

แม้หลายคนจะมองว่าราคาขายคอนโดมิเนียมในย่านดังกล่าว ยังต่ำกว่าคอนโดมิเนียมในย่านธุรกิจอย่าง สีลม สาทร แต่ในอนาคต ในย่านนี้กำลังจะกลายเป็นพื้นที่ New CBD เพราะนอกจากจะที่ตั้งของอาคารสำนักงานเอกชนและสถานที่สำคัญทางราชการอย่าง ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงค์), ธนาคารออมสิน (สำนักงานใหญ่), สำนักงาน กสทช., ธนาคารกสิกรสำนักงานใหญ่, เอไอเอส ทาวเวอร์ เป็นต้น

พบว่ายังมีอาคารสำนักงาน เกรด A แห่งใหม่บนถนนพหลโยธินอีก 3 อาคารที่เพิ่งเปิดใช้งาน ได้แก่ 1. Pearl Bangkok อาคารสูง 25 ชั้น 2. Ari Hill อาคารมิกซ์ยูส สูง 34 ชั้น ที่มีทั้งอาคารออฟฟิศ ร้านค้า และโรงแรม 3. SC Tower อาคารสูง 24 ชั้น รวมพื้นที่เช่ากว่า 8.3 หมื่นตารางเมตร  และคาดการณ์ว่าจะมีผู้ทำงานในทั้ง 3 อาคารนี้กว่า 6,000 คน

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็จะมีโครงการอื่นๆเข้าสู่ตลาดอีกจำนวนมากอาทิ โครงการ The Rice อาคารมิกซ์ยูส สูง 24 ชั้น โรงพยาบาลวิมุตติ ในเครือพฤกษา อาคารวานิช เพลส ของกลุ่มแหลมทองสหการ ซึ่งประกอบด้วยสำนักงานและคอมมูนิตี้ มอลล์

อภิภู พรหมโยธี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ณวรางค์ แอสเซท จำกัด
อภิภู พรหมโยธี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ณวรางค์ แอสเซท จำกัด

อภิภู พรหมโยธี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ณวรางค์ แอสเซท จำกัด ผู้พัฒนาโครงการ “ณ วีรา พหลฯ-อารีย์”  มองว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนอาคารสำนักงาน คอมมูนิตี้มอลล์ และโครงการอื่นๆ รวมทั้งในอนาคตจะมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2563 เข้ามาช่วยเสริมศักยภาพให้กับพื้นที่ จากปัจจัยต่างๆเหล่านี้บ่งบอกได้ว่าในอนาคตจะมีแรงงานจำนวนมากเข้าสู่พื้นที่ ทำให้มีความต้องการที่อยู่อาศัยเพื่อการทำงานและใช้ชีวิต ส่งผลให้ราคาที่ดินที่อาจจะปรับเพิ่มสูงขึ้นอีกถึง 15-20% ต่อตารางวา ขณะที่ราคาขายคอนโดมิเนียมจะปรับตัวสูงขึ้นอีก

ณ วีรา พหลฯ-อารีย์
ณ วีรา พหลฯ-อารีย์

ปัจจุบันบริษัทได้พัฒนาโครงการ “ณ วีรา พหลฯ-อารีย์” คอนโดโลว์ไรส์ 8 ชั้น มูลค่าโครงการ 240 ล้านบาท โครงการตั้งอยู่ห่างจากปากซอยพหลโยธิน 14 ในระยะ 200 เมตร ออกแบบ คลาสสิค ทวิสต์ (Classic Twist) โดยนำรูปแบบสถาปัตยกรรมของย่านที่อยู่อาศัยในแถบยุโรปมาผสมผสานกับความทันสมัย มีราคาเฉลี่ย 1.1 แสนบาทต่อตารางเมตร หรือเริ่มต้นยูนิตละ 2.49 ล้านบาท  เริ่มก่อสร้างในช่วงไตรมาส 1 ปี 2562 คาดก่อสร้างแล้วเสร็จไตรมาส 1 ปี 2563  เตรียมเปิดขายในวันที่ 1 ธันวาคมนี้โครงการเน้นกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน ตอบโจทย์การซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง หรือซื้อเก็บเพื่อการลงทุนที่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอนาคต

Avatar photo