Economics

รู้ไหมอะไร ‘แชมป์สกปรก’ ประจำสนามบิน

หลายคนอาจคิดว่าสถานที่ที่น่าจะ“สกปรก”ที่สุดในสนามบิน คงจะเป็น“ห้องน้ำ พื้นที่ยืนรอที่มีคนแน่นขนัด หรืออาจจะเป็นบริเวณที่ตรวจหนังสือเดินทาง”

แต่ผลศึกษาที่ออกมากลับเผยความจริงที่คาดไม่ถึง

trays2 1

เมื่อเร็วๆ นี้ วารสาร BMC Infectious Diseases ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาฉบับใหม่ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม ในอังกฤษ และสถาบันเพื่อสุขภาพ และสวัสดิการแห่งชาติฟินแลนด์ ที่แสดงให้เห็นว่า “บรรดาถาดพลาสติกสำหรับใส่สิ่งของเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของสนามบิน เป็นแหล่งที่แพร่กระจายเชื้อโรคมากสุดในสนามบิน”

คณะทำงานตรวจสอบระดับเชื้อโรคบนพื้นผิวต่างๆ ที่สนามบินเฮลซิงกิ-วันตา ของฟินแลนด์ ในช่วงฤดูหนาว ปี 2559 พบหลักฐานว่า เชื้อไวรัสอยู่ราว 10% บนทุกพื้นผิวของสนามบินที่พวกเขาดำเนินการตรวจสอบ

นอกจากตะกร้าพลาสติกใส่ของตรวจสอบแล้ว พื้นที่อื่นๆ ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก คือ “เคาน์เตอร์จ่ายเงินในร้านค้าของอาคารผู้โดยสาร ขั้นบันไดเลื่อน เคาน์เตอร์ตรวจหนังสือเดินทาง พื้นที่เล่นของเด็กๆ และแน่นอนในอากาศ” 

พื้นที่เหล่านี้ มีการตรวจพบเชื้อไรโนไวรัส สาเหตุของการเกิดโรคหวัด บางพื้นผิวมีร่องรอยของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ด้วย

123833

ประหลาดใจห้องน้ำกลับไม่พบเชื้อไวรัส

ที่น่าประหลาดใจมากกว่านั้นก็คือ บนพื้นผิวตามจุดต่างๆ ในห้องน้ำ ไม่พบเชื้่อไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้ทางการหายใจเลย

ในตอนท้ายของรายงานการศึกษา เหล่าผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า นามบินควรจัดหาอุปกรณ์ทำความสะอาดมือติดตั้งไว้ตามบริเวณพื้นผิวที่มีเชื้อโรคอยู่เป็นจำนวนมาก และผู้คนต้องสัมผัสอยู่เป็นประจำ อย่างบริเวณตะกร้าใส่ของ ทั้งก่อน และหลังการตรวจสอบ

การศึกษาก่อนหน้านี้ ยังพบว่า ต่อให้สามารถหลีกเลี่ยงเชื้อโรคตามที่ต่างๆ ในสนามบินได้ แต่บนเครื่องบินก็มีเชื้อโรคอยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกันนัก

S 32858114

 ผงะ!!ไทยไม่มีมาตรการดูแลความสะอาด

 แล้วสนามบินในประเทศไทยล่ะ มีวิธีดูแลเจ้าถาดเอ็กซเรย์นี้อย่างไร

The Bangkok Insight “ ได้สอบถามผู้เกี่ยวข้องถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่งทุกคนตอบตรงกันว่า “ประเทศไทยไม่มีมาตรฐานการดูแลความสะอาดของเจ้าถาดเอ็กซเรย์” เพราะที่ผ่านมาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศไทย (ICAO) หรือสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ก็เน้นเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยทางการบินเป็นหลัก ไม่ได้เน้นเรื่องมาตรฐานความสะอาดหรือชีวอนามัย จึงเป็นเรื่องที่สนามบินแต่ละแห่งต้องจัดการกันเอง

สำหรับสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติอันดับ 1 ของประเทศไทย และต้องรองรับผู้โดยสารมากมากกว่า 60 ล้านคนต่อปี ตามปกติก็จะมีการเปลี่ยนถาดเอ็กซเรย์จำนวน 5,500 ใบทั้งสนามบินในทุกๆ ปี

อย่างต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สนามบินสุวรรณภูมิเพิ่งสั่งซื้อถาดเอ็กซเรย์ล็อตใหม่ โดยถาดเดิมจะเป็นแบบ “ตะกร้าและมีรู” แต่แบบใหม่ได้เปลี่ยนเป็น“ถาดตัน” ทั้งหมด เพื่อให้ทำความสะอาดง่าย และยังแข็งแรงกว่าตะกร้าแบบเดิม

don1

ยึดหลักประเมินความสะอาดด้วยสายตา

นอกจากนี้ สนามบินสุวรรณภูมิจะมีการทำความสะอาดถาดเอ็กซเรย์ด้วยวิธีการ ล้าง” เป็นระยะๆ แต่ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน โดยเจ้าหน้าที่หน้างานจะเป็นผู้พิจารณาด้วยสายตาว่า ถาดไหนสกปรกก็จะหยิบออก และนำถาดสำรองขึ้นมาใช้แทน จากนั้นก็ให้แม่บ้านนำถาดที่สกปรกไปล้างทำความสะอาด ก่อนนำกลับมาให้บริการใหม่

ส่วนสนามบินอีก 5 แห่งของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้แก่ ดอนเมือง เชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ และภูเก็ต ก็จะแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันไป แล้วแต่นโยบายของแต่ละแห่ง

tray4

ไร้แนวปฎิบัติทำความสะอาด

ขณะที่สนามบินต่างจังหวัดในสังกัดกรมท่าอากาศยานจำนวน 28 แห่ง “ไม่ได้มีแนวทางปฏิบัติเรื่องการทำความสะอาดถาดเอ็กซเรย์ที่ชัดเจน” แต่ตามปกติก็จะแยกถาดใส่รองเท้า ออกจากถาดใส่สิ่งของอื่นๆ

แต่จะมีการทำความสะอาดถาดเอ็กซเรย์ทุกวัน เพราะสนามบินของ ทย. มีขนาดเล็ก ไม่ได้เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง จึงมีเวลาทำความสะอาดสนามบินได้ทั้งหมด ส่วนการทำความสะอาดถาดเอ็กซเรย์เป็นวิธีไหน จะเช็ดด้วยผ้าสะอาด เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ หรือวิธีอื่นๆ ก็ขึ้นอยู่กับแนวทางของสนามบินนั้นๆ

S 9658372

ตะลึง!!ไม่เคยสุ่มตรวจเชื้อโรค

แต่ยอมรับว่าที่ผ่านมา ทย. หรือหน่วยงานด้านสาธารณะสุข ไม่เคยดูแลความสะอาด ถึงขั้นสุ่มตรวจเชื้อโรค หรือเชื้อแบคทีเรียในถาดเอ็กซเรย์มาก่อน ขณะเดียวกันผู้โดยสารก็ไม่เคยร้องเรียนหรือแสดงความกังวลเรื่องความสะอาดของถาดเอ็กซเรย์เช่นกัน แม้ถาดเอ็กซเรย์จะมีความเสี่ยงเรื่องความสะอาด และมีโอกาสที่เชื้อโรคจะปะปนสูงกว่าบริเวณอื่นก็ตาม

ในอนาคตหากหน่วยงานกำกับดูแล มีการออกกฎระเบียบมาควบคุมมาตรฐานความสะอาดของถาดเอ็กซเรย์ด้วย ก็จะเป็นเรื่องที่ดี ต่อทั้งผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้วย

 แม้ในภาพรวมยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน 100จากสนามบิน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ทีมผู้เชี่ยวชาญที่วิจัยเรื่องนี้ ก็มีคำแนะนำให้ผู้โดยสาร คือถ้าหยิบสิ่งของเข้าหรือออกจากถาดเอ็กซเรย์เมื่อไหร่ ก็ควรล้างมือให้สะอาด เป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ลดโอกาสป่วย หรือติดเชื้อโรคระหว่างการเดินทาง

 

Avatar photo