Politics

เตือนแล้วนะ!! ครบ 77 จังหวัดไม่สวมหน้ากากออกจากบ้านโดนปรับ 2 หมื่น

ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 กระทรวงมหาดไทย ประกาศรายชื่อ 77 จังหวัด ไม่สวมหน้ากาก อนามัยออกจากบ้านโดนปรับสูงสุด 20,000 บาท หากไม่มีเงินเสียค่าปรับ เจ้าหน้าที่ต้องทำสำนวนคดีส่งฟ้องศาล

ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 กระทรวงมหาดไทย หรือ ศบค.มท. ได้รวบรวมจังหวัดที่มีคำสั่งกำหนดมาตรการให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่ออยู่นอกเคหสถาน หากฝ่าฝืนจะต้องโทษปรับเป็นเงินจำนวน 20,000 บาท ล่าสุด จำนวนรวม 77 จังหวัดทั่วประเทศ (ข้อมูล วันที่ 29 เม.ย.เวลา 16.30 น.) ดังนี้

ไม่สวมหน้ากาก

ภาคกลางและภาคตะวันออก 25 จังหวัด และกทม. ได้แก่

  1. กาญจนบุรี (เฉพาะตลาด ตลาดนัด ตลาดน้ำ)
  2. ปราจีนบุรี
  3. เพชรบุรี
  4. สุพรรณบุรี
  5. พระนครศรีอยุธยา
  6. สมุทรสาคร
  7. ลพบุรี
  8. สมุทรปราการ
  9. ประจวบคีรีขันธ์
  10. ชลบุรี
  11. สระบุรี
  12. ตราด
  13. นนทบุรี
  14. นครปฐม
  15. จันทบุรี
  16. กทม.
  17. ปทุมธานี
  18. ฉะเชิงเทรา
  19. อ่างทอง
  20. สระแก้ว
  21. นครนายก
  22. สิงห์บุรี
  23. ราชบุรี
  24. ชัยนาท
  25. ระยอง

ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่

  1. สุโขทัย
  2. ตาก
  3. เพชรบูรณ์
  4. อุตรดิตถ์
  5. ลำพูน
  6. พิษณุโลก
  7. เชียงใหม่
  8. นครสวรรค์
  9. แพร่
  10. ลำปาง
  11. อุทัยธานี
  12. พิจิตร
  13. เชียงราย
  14. น่าน
  15. กำแพงเพชร
  16. แม่ฮ่องสอน
  17. พะเยา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่

  1. ยโสธร
  2. หนองคาย
  3. อุบลราชธานี
  4. ชัยภูมิ
  5. มหาสารคาม
  6. มุกดาหาร
  7. ศรีสะเกษ
  8. สุรินทร์
  9. อุดรธานี
  10. เลย
  11. อำนาจเจริญ
  12. บุรีรัมย์
  13. นครพนม
  14. ขอนแก่น
  15. กาฬสินธุ์
  16. นครราชสีมา
  17. บึงกาฬ
  18. หนองบัวลำภู
  19. ร้อยเอ็ด
  20. สกลนคร

ภาคใต้ 14 จังหวัด ได้แก่

  1. สุราษฎร์ธานี
  2. ตรัง
  3. นครศรีธรรมราช
  4. นราธิวาส
  5. ปัตตานี
  6. พังงา
  7. ภูเก็ต
  8. ระนอง
  9. สตูล
  10. สงขลา
  11. ยะลา
  12. กระบี่
  13. พัทลุง
  14. ชุมพร

ไม่สวมหน้ากาก

สำหรับการเปรียบเทียบปรับ สำหรับผู้ที่ไม่ให้หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้านั้น พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โฆษก ตร.) กล่าวถึงการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืน ไม่สวมหน้ากาก อนามัย หรือหน้ากากผ้าเมื่อออกนอกเคหสถาน โดยยืนยันว่า การปรับครั้งแรกต้องปรับขั้นต่ำ 6,000 บาท ความผิดครั้งที่ 2 ค่าปรับอยู่ที่ 12,000 บาท และความผิดครั้งที่ 3 สูงสุดเป็นเงิน 20,000 บาท

แต่ทั้งนี้ กฎหมายมีหลักเกณฑ์ลดค่าปรับได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นตามสภาพของบุคคล ผู้ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ผู้ที่มีสภาพสังคมเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเสียค่าปรับ เป็นต้น ซึ่งพนักงานสอบสวนสามารถพิจารณาให้น้อยกว่าที่กำหนดได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 คือต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2,000 บาท

ซึ่งตามหลักเกณฑ์ของกฏหมาย หากผู้ถูกกระทำผิดไม่ยินยอมให้ปรับขั้นต่ำเป็นเงิน 6,000 บาท หรือไม่สามารถนำค่าปรับมาเสียตามที่เปรียบเทียบได้แล้ว พนักงานสอบสวนต้องทำสำนวนคดีส่งฟ้องศาล เพื่อให้ศาลใช้ดุลยพินิจพิจารณาต่อไป

ด้านนายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมทั่วประเทศ กรณีไม่สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือสถานที่พำนักอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของจังหวัดต่าง ๆ ว่า สำหรับการลงโทษที่มีข้อแตกต่างกันนั้น เนื่องจากผู้พิพากษาสามารถใช้ดุลพินิจ พิจารณาตามพฤติการณ์แห่งคดีของแต่ละคดีซึ่งอาจมีรายละเอียด และความหนักเบาแห่งการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน การลงโทษจึงเป็นไปได้ที่จะไม่เท่ากัน

ส่วนบัญชีอัตราเปรียบเทียบแนบท้ายระเบียบ ฯ นั้น ใช้สำหรับผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ ซึ่งตามคำสั่งกรมควบคุมโรครวมถึงพนักงานสอบสวนด้วย บัญชีนี้ไม่ผูกพันให้ศาลต้องใช้ตามเกณฑ์ที่กำหนดว่าครั้งแรกต้องปรับ 6,000 บาท ศาลจึงยังคงมีอำนาจในการใช้ดุลพินิจลงโทษได้ไม่เกิน 20,000 บาท ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ซึ่งเมื่อพิจารณาตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว อาจเกินกว่าหรือต่ำกว่า 6,000 บาท ก็ได้

อีกทั้งการชำระค่าปรับตามที่ถูกเปรียบเทียบปรับเป็นผลทำให้คดีอาญาเลิกกัน สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ไม่ต้องมาฟ้องคดีที่ศาลอีก หากไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับคดีอาญาก็ยังไม่ระงับ เจ้าพนักงานก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo