The Bangkok Insight

กบข. มองเศรษฐกิจทั่วโลกฟื้น แต่ไทยพื้นช้าจากโควิด เตรียมรับพันธบัตรสหรัฐขาขึ้น

กบข.มองเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว แต่เศรษฐกิจไทยฟื้นช้ากว่า จากผลกระทบโควิดรอบใหม่และกระจายวัคซีนล่าช้า ประเมินผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐจะเริ่มขยับขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2

กลยุทธ์ลงทุนกบข_

ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)  มองภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงฟื้นตัวในระยะต่อไป อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯระยะยาวอยู่ในขาขึ้น แต่คาดว่าค่อยเป็นค่อยไปในไตรมาสที่ 2

ท่ามกลางการระบาดของ Covid-19 ระลอกใหม่ ภาพรวมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มทรงตัวหรือดีขึ้นในระยะต่อไป ดัชนีเศรษฐกิจทยอยปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านอุปสงค์และอุปทาน หรือภาคการผลิตและบริการ การค้าโลกแสดงสัญญาณฟื้นตัวดีอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ทาง IMF ได้ปรับขึ้นการคาดการณ์อัตราการเติบโต GDP ของเศรษฐกิจทั่วโลกโดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกา

แต่สำหรับประเทศไทยนั้นเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวช้าเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลก เนื่องมาจากภาวะ Covid-19 แพร่ระบาดระลอกสามและการกระจายวัคซีนที่ล่าช้า ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และการกลับมามีรายได้จากการท่องเที่ยว

กบข. มองแนวโน้มภาพรวมการลงทุนในช่วงนี้และระยะถัดไปจากปัจจัยความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อ การคาดการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่อาจเริ่มชะลอตัวลง และจากแนวโน้มที่ Fed อาจเริ่มลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินโดยการส่งสัญญาณปรับลดเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE taper) ในช่วงกลางปีหรือในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

จากปัจจัยดังกล่าว รวมถึงผลประกอบการโดยรวมจากสถาบันการเงินในไตรมาสที่ 1 ที่ออกมาดีกว่าที่คาด ส่งผลกระทบเชิงบวกกับตราสารทุนกลุ่มปลายวัฏจักรการลงทุน ได้แก่ ตราสารทุนกลุ่ม Value และ Cyclical เช่น การเงิน อุตสาหกรรม และพลังงาน

นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (Bond Yield) และการคาดการณ์ส่งสัญญาณ QE Taper ดังกล่าว ส่งผลกระทบเชิงลบต่อราคาพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน และสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม Growth เช่น หุ้นกลุ่ม Technology

Investment Outlook APR64 Final

ในขณะเดียวกัน กบข. ยังคงคาดการณ์ Bond Yield อายุ 10 ปี ของสหรัฐฯ ไว้ที่ 1.8-2.0 % ภายในปี 2564 แต่ค่อยเป็นค่อยไปในไตรมาสที่ 2

นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของ Bond Yield และการคาดการณ์ส่งสัญญาณ QE Taper อาจผลักดันให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า โดยที่ USDTHB อาจไปถึงระดับ 31.5-31.7 แต่คาดว่าภายในปีนี้ไตรมาสที่ 4 อาจกลับมาใกล้เคียงระดับ 31.3 ซึ่งค่อนข้างอ่อนค่าเมื่อเทียบกับปลายปีที่ 2563 เนื่องจากประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย (Current Account) เข้าใกล้ศูนย์หรือติดลบ เนื่องจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้า และมูลค่าการนำเข้าที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo