COVID-19

‘หมอแก้ว’ ชวนเปิดปฏิบัติการ ‘กรุงเทพสู้โควิด’ รวมวิธีง่าย ๆ ที่ทุกคนช่วยกันได้

“กรุงเทพสู้โควิด” หมอแก้ว แนะวิธีง่าย ๆ ทั้งประชาชน เจ้าของกิจการ ทุกภาคส่วน ทำในส่วนที่ตัวเองสามารถ ทำให้ดีที่สุด ชี้เดิมพันสูงเกินกว่าจะยอมแพ้

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5 โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “หมอแก้ว ผลิพัฒน์” ชวนเปิดปฏิบัติการ กรุงเทพสู้โควิด ทุกภาคส่วน ร่วมแรงร่วมใจชวยกันได้ ทั้งประชาชนทั่วไป เจ้าของกิจการ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร และกิจการอื่น ๆ พร้อมคำแนะนำ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง โดยระบุว่า

กรุงเทพสู้โควิด

“ปฏิบัติการกรุงเทพสู้โควิด

ในปฏิบัติการนี้ใครควรทำอะไรบ้าง

หากท่านเป็นประชาชนทั่วไป ท่านสามารถช่วยได้ ดังนี้

  • พักอยู่กับบ้าน ทำงานที่บ้าน
  • ออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ ที่มีผู้คนแออัด
  • ใส่หน้ากากตลอดเวลาที่ออกนอกบ้าน
  • ล้างมือบ่อย ๆ เลี่ยงการนำมือมาจับหน้า ตา จมูกปาก
  • รับประทานอาหารร้อน ใช้ช้อนกลาง
  • หยุดปาร์ตี้
  • ช่วยตักเตือน และสนับสนุนคนรู้จัก ให้ปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเหมาะสม
830086 e1580387508583
นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์

ถ้าท่านเป็นเจ้าของกิจการ ท่านสามารถช่วยได้ ดังนี้

  • อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ ทำงานที่บ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • อนุญาตให้มีการทำงานเหลื่อมเวลา
  • จัดระบบการเฝ้าระวังการป่วยของเจ้าหน้าที่
  • จัดระบบการคัดกรองอุณภูมิเจ้าหน้าที่ ก่อนเข้าทำงาน
  • จัดให้มีเจลแอลกอฮอล์อย่างทั่วถึงในสถานที่ทำงาน
  • สนับสนุนให้พนักงานใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่ทำงาน
  • ปรับปรุงห้องรับประทานอาหารให้มีความปลอดภัย
  • เหลื่อมเวลาการรับประทานอาหารของเจ้าหน้าที่
  • ให้ความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวกับเจ้าหน้าที่
  • สนับสนุนการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญกับภาครัฐ

หากท่านเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ หรือซูเปอร์มาร์เก็ต สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกรุงเทพปลอดภัยไร้โควิด ดังนี้

  • จัดระบบคัดกรองอุณหภูมิ สำหรับพนักงาน และผู้ใช้บริการทุกคน
  • ติดตั้งจุดให้บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมืออย่างทั่วถึง
  • เพิ่มการทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วม เช่น รถเข็น ตะกร้า เป็นต้น
  • จำกัดจำนวนผู้เข้าซื้อสินค้า
  • เพิ่มจำนวนพนักงานคิดเงิน
  • สนับสนุนให้ให้พนักงานและผู้ใช้บริการ ต้องสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

หากท่านเป็นเจ้าของ ร้านอาหาร ท่านสามารถเข้าร่วมกิจกรรมกรุงเทพปลอดภัยไร้โควิด ได้ดังนี้

  • สนับสนุนให้ลูกค้าสั่งอาหารไปทานที่บ้าน
  • สั่งซื้ออาหารผ่านระบบออนไลน์
  • จัดระบบคัดกรองอุณหภูมิสำหรับพนักงาน และผู้ใช้บริการทุกคน
  • ติดตั้งจุดให้บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้ทั่วถึง
  • เพิ่มการทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วม และสถานที่ประกอบอาหาร
  • ทำความสะอาดภาชนะใส่อาหาร ช้อน ส้อม และจัดเก็บอย่างเหมาะสม เพื่อลดการสัมผัสและการปนเปื้อนเชื้อ
  • ควรประกอบอาหารให้สุกด้วยความร้อน
  • จำกัดจำนวนคนเข้ามาในบริเวณ ร้านอาหาร
  • ปรับปรุงระบายอากาศ จัดโต๊ะเพื่อให้ลูกค้าสามารถนั่งห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร
  • ติดตั้งฉากกั้นระหว่างโต๊ะอาหาร หรือเว้นระยะห่างโต๊ะอาหาร
  • สนับสนุนให้พนักงานสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาขณะอยู่ใน ร้านอาหาร
  • ผู้ปรุงประกอบอาหาร ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
  • เจ้าของร้านอาหาร หรือผู้สัมผัสอาหาร หากมีอาการป่วย ให้หยุดปฏิบัติงานทันที สนับสนุนให้จ่ายเงินแบบ e-payment

cell virusโควิดใน ม ๒๑๐๔๒๘ 1

กิจการอื่นๆ สามารถช่วยได้โดยอาศัยหลักการ

1. การลดโอกาสที่จะมีผู้ติดเชื้อเข้ามาในสถานประกอบการ ด้วยการของให้เจ้าหน้าที่ ที่มีประวัติเสี่ยง ทำงานที่บ้าน และการคัดกรองอุณหภูมิผู้เข้ามาใช้บริการและเจ้าหน้าที่

2. คงการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลต่อไป ด้วยมาตรการให้พนักงานทำงานจากบ้านให้มากที่สุด การเหลื่อมเวลาทำงาน การักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร เช่น การจัดโต๊ะรับประทานอาหารให้ห่างกัน การจัดให้ผู้มารับบริการยืนรอคิวห่างกัน การให้คนทำงานอยู่ห่างกัน เป็นต้น

3. การออกแบบทางวิศวกรรม ซึ่งสามารถทำได้โดยการนำอุปกรณ์ (เช่น แผงทึบ) มากั้นเพื่อให้แต่ละบุคคลอยู่ห่างกัน และลดโอกาสที่จะมีละอองฝอยน้ำลายจะกระจายถึงกัน การปรับปรุงระบบระบายอากาศของสถานประกอบกิจการ

4. การปรับปรุงระบบงาน เพื่อให้ทั้งผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ มีความเสี่ยงต่ำลง ลดโอกาสที่จะสัมผัสกันโดยตรง และลดโอกาสที่จะสัมผัสเชื้อทางอ้อม เช่น การปรับปรุงระบบการให้บริการ เพื่อให้ผู้มารับบริการสามารถใช้เวลาสั้นที่สุดในการทำธุรกรรม

การคัดกรองอาการไข้ และไอ ของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการทุกวัน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ (เช่น ระบบการนัด ระบบการสั่งอาหารโดยไม่จำเป็นต้องใช้พนักงาน เป็นต้น) อย่างเหมาะสม การทำความสะอาดสถานที่ทำงาน และพื้นผิวสัมผัสที่ผู้คนมักสัมผัสกันบ่อย ๆ เป็นต้น

5. การใช้อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อส่วนบุคคล นั่นคือ การให้ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการสวมใส่หน้าการผ้า หรือสวมใส่เฟสชีลตามความเหมาะสม

ต่างคนต่างทำ ทำในส่วนที่ตัวเองสามารถ ทำให้ดีที่สุด ประสานแรงกาย ประสานแรงใจ เดิมพันเราสูงเกินไปที่จะยอมแพ้ง่าย ๆ

ดูแลตัวเอง ดูแลคนในครอบครัว ดูแลคนที่เรารัก ให้ทุกคนปลอดภัย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo