COVID-19

‘ผู้นำ-รมต.’ โลก หลุดตำแหน่ง เพราะเรื่องฉาว ‘โควิด’

โควิด ลาออก : สถานการณ์แพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2563  ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้น และยังไม่มีแนวโน้มที่จะจบสิ้นลงในเร็ววันนั้น สร้างความเดือดร้อนไปให้กับผู้คนทั่วโลก

ความยากลำบากที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการระบาด ยิ่งทำให้ผู้คนเกิดความไม่พอใจ ต่อการรับมือกับการระบาดของทางการ ที่บางคนมองว่า ไร้ประสิทธิภาพ รวมถึง การที่ผู้นำ หรือรัฐมนตรี ทำในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืน กับสิ่งที่ห้ามประชาชนทำ ทำให้บรรดาเจ้าหน้าที่เหล่านี้ ในหลายประเทศ ต้องเผชิญกับพิษ โควิด ลาออก จากตำแหน่งไป

โควิด ลาออก

คูเรลซูค อุคนา

นายกรัฐมนตรีมองโกเลีย ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังชาวมองโกเลียออกมาประท้วงแสดงความไม่พอใจรัฐบาล ต่อการบริหารจัดการโรคโควิด-19  มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ทำให้รัฐบาลมองโกเลียต้องประกาศล็อกดาวน์ และใช้มาตรการที่เข้มงวด จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศ

แต่เรื่องที่ทำให้ชาวมองโกเลีย หมดความอดทนอย่างมาก คือ ภาพของผู้หญิงคนหนึ่ง พร้อมลูกที่เพิ่งคลอด ถูกย้ายไปกักตัว ท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวจัดถึง -25 องศาเซลเซียส โดยที่ผู้ป่วยหญิงรายดังกล่าว สวมเพียงชุดคลุม และรองเท้าฟองน้ำ ทำให้ชาวมองโกเลียวิจารณ์รัฐบาลอย่างดุเดือด เนื่องจากชาวมองโกเลียเชื่อว่า หญิงเพิ่งคลอดควรหลีกเลี่ยงอากาศหนาว

นายกรัฐมนตรีมองโกเลียแถลงลาออก โดยยอมรับว่า นี่เป็นการแสดงความรับผิดชอบ และเป็นไปตามความต้องการของสาธารณชน

โควิด ลาออก

อิกอร์ มาโตวิก

นายกรัฐมนตรีสโลวาเกีย ถือเป็นผู้นำประเทศคนแรกๆ ของโลก ที่ต้อง ลาออก จากตำแหน่ง เพราะความขัดแย้ง ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของไวรัสโควิด-19

เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา มาโตวิก ประกาศ ลาออก จากตำแหน่งผู้นำประเทศ หลังเจอกับแรงกดดัน และตกเป็นเป้าวิจารณ์อย่างหนัก กรณีที่เขาแอบไปทำข้อตกลงซื้อ “สปุตนิก 5” วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด ของรัสเซีย จำนวน 2 ล้านโดส ทั้งที่วัคซีนตัวนี้ ยังไม่ได้ผ่านการรับรองจากเจ้าหน้าที่คุมกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (อี
การกระทำของเขา ที่ไม่ผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล ได้รับเสียงวิจารณ์อย่างมาก รัฐมนตรี และส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลหลายคน พากันลาออกจากตำแหน่ง เพื่อประท้วงเรื่องนี้

มาโตวิก ยังตกเป็นเป้าวิจารณ์ ถึงความไม่มีประสิทธิภาพ ในการรับมือกับการระบาด จนทำให้สโลวาเกีย เป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากกาติดเชื้อโควิด เป็นอันดับต้นๆ ของชาติตะวันตก

โควิด ลาออก

เดวิด คลาร์ก

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นิวซีแลนด์ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และถอนตัวจากการเป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว ท่ามกลางกระแสต่อต้านจากประชาชนที่ไม่พอใจ จากการที่เขาละทิ้งหน้าที่ ทั้งระหว่าง และหลัง จากที่นิวซีแลนด์บังคับใช้มาตรการปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

คลาร์กโดนวิจารณ์อย่างหนัก ในเรื่อง การบริหารจัดการสถานที่กักกันตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศ มายังนิวซีแลนด์ เพื่อป้องกันการระบาด ซึ่งพบว่า มีผู้ติดโควิด-19 จำนวน 2 ราย เดินทางออกจากศูนย์ดังกล่าวเร็วกว่ากำหนด โดยที่ยังไม่ได้รับการตรวจโรค

ทั้งเขายังโดนเปิดโปงว่า ละเมิดกฎล็อกดาวน์ของรัฐบาลถึง 2 ครั้ง ด้วยการแอบออกไปขี่จักรยานบนภูเขา และพาครอบครัวไปเที่ยวทะเล ซึ่งห่างจากที่พัก 23 กิโลเมตร

ระหว่างการประกาศลาออกนั้น คลาร์กบอกว่า เข้าใจดีว่าการที่เขายังดำรงตำแหน่งต่อไป จะสร้างความเสื่อมเสียให้กับปฏิบัติการโดยรวม ด้านการรับมือการแพร่ระบาดใหญ่ระดับโลกของโควิด-19 ของรัฐบาลนิวซีแลนด์

โควิด ลาออก

ปีลาร์ มัซเซตตี

รัฐมนตรีสาธารณสุข เปรู ลาออก จากตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อแสดงความรับผิดชอบ ต่อความไม่ชอบมาพากลในโครงการจัดซื้อ และระดมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับชาวเปรู หลังเธอถูกกล่าวหาว่า ใช้อำนาจในฐานะรัฐมนตรี ลัดคิวการฉีดวัคซีนให้กับ มาร์ติน บิซการ์รา อดีตประธานาธิบดีเปรู และภริยา ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว ก่อนหน้าการประกาศใช้วัคซีนอย่างเป็นทางการ

อดีตประธานาธิบดีเปรู ชี้แจงว่า เขาเป็นอาสาสมัครทดสอบความปลอดภัยของวัคซีนซิโนฟาร์มให้ชาวเปรู ร่วมกับอาสาสมัครอื่นอีก 12,000 คน ซึ่งจำเป็นต้องรักษาความลับ จึงได้ฉีดวัคซีนก่อน แต่หลายฝ่ายไม่เชื่อในคำอธิบายนี้

ขณะที่ มัซเซตตี เองก็บอกว่า ผู้อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ไม่ควรมีส่วนร่วม ในการทดลองวัคซีน พร้อมยืนยันว่า เธอไม่ทราบเรื่องดังกล่าวมาก่อน

shutterstock 177064721

เออร์เนสโต อารัวโฌ

รัฐมนตรีต่างประเทศบราซิล ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลังถูกวิจารณ์ถึงความล้มเหลวทางการทูต จนทำให้บราซิลได้รับวัคซีนโควิด-19 จากจีน น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

หลายฝ่ายมองว่า อารัวโฌ ซึ่งมีท่าทีสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ และมักแสดงความเห็นโจมตีรัฐบาลจีนอยู่เสมอ ส่งผลกระทบต่อการเจรจานำเข้าวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตในประเทศจีน

shutterstock 1714232047jor

ซามีร์ โมบีดีน

รัฐมนตรีมหาดไทย จอร์แดน ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมกับ “บัสซัม อัล-ตัลฮูนี” รัฐมนตรียุติธรรม หลังทั้ง 2 คนถูกกล่าวว่า ได้เข้าร่วมพิธี  ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าร่วมงาน จำนวนมากกว่าที่อนุญาต ภายใต้มาตรการควบคุม และป้องกัน การระบาดของโควิด ที่จอร์แดนกำหนดไว้

สื่อท้องถิ่นของจอร์แดนระบุว่า รัฐมนตรีทั้งสองคนร่วมงานปาร์ตี้ที่มีผู้เข้าร่วม 9 คน ทั้งๆ ที่กฎหมายกำหนดให้รวมกลุ่มกันได้สูงสุด 6 คนเท่านั้น ขณะเดียวกันภาพที่เผยแพร่ออกมา ยังพบว่า รัฐมนตรีทั้ง 2 คนไม่รักษาระยะห่าง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo