Business

ข่าวดีผู้ประกันตนม.39 ! ประกันสังคมขยายเวลารับสมัคร – ส่งเงินสมทบ ถึง 30 มิ.ย.64

ข่าวดีผู้ประกันตนม.39 ประกันสังคม ขยายเวลารับสมัคร ส่งเงินสมทบ ผู้ประกันตน มาตรา 39 ได้ ถึง 30 มิ.ย.64 ส่วนส่งเงินสมทบขยายถึง 15 มิ.ย.นี้

กระทรวงแรงงาน ประกาศเรื่องขยายกำหนดเวลาการแสงความจำนงเป็นผู้ประกันตน และการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 พ.ศ.2564 เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตน กลับเข้าสู่ระบบประกันสังคม และได้รับสิทธิประโยชน์อย่างต่อเนื่อง

ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลง เนื่องจากสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562- 31 ธันวาคม 2563 สามารถสมัครเป็นผู้ประกันคน ตามมาตรา 39 ได้ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564

ข่าวดีผู้ประกันตนม.39

ผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และผู้ประกันตนที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนด้วยสาเหตุ

1. ไม่ได้ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน

2.ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือน

ได้รับการขยายเวลากำหนดเวลานำส่งเงินสมทบ สำหรับเงินสมบที่ต้องนำส่ง ประจำงวดเดือนมีนาคม 2563-พฤษภาคม 2564 ให้นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2564

ประกันสังคมม.33 210424

ข้อควรรู้ประกันสังคม มาตรา 39

สำหรับประกันสังคม มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่ยังอยากส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมหลังผันตัวออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือมีเหตุให้ต้องหลุดออกจากงานเดิม แต่ยังต้องการคงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของประกันสังคมไว้

มาตรา 39 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ระบุว่า

“ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้นประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนดภายในหกเดือน นับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตามมาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป

ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษของเดือน ถ้าถึงสิบห้าวันหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง”

เมื่อเป็นเช่นนี้ เท่ากับบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน เมื่อได้สิ้นสุดความเป็นลูกจ้างของบริษัทที่เราเป็นลูกจ้าง ก็ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ หากเรายังมีความประสงค์จะรักษาสถานภาพการเป็นผู้ประกันตนต่อก็สามารถทำได้ ด้วยการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเอง เพราะทางประกันสังคมต้องการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกัน ตามนโยบายพื้นฐานที่ว่าด้วยการเฉลี่ยความสุขและทุกข์

ผู้ประกันตน มาตรา 39 เป็นการประกันตนภาคสมัครใจ กรณีที่เคยทำงานในบริษัทและประกันตน มาตรา 33 มาก่อน แต่เกิดตกงานหรือลาออก แล้วยังต้องการรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอยู่ ก็สามารถสมัครในมาตรา 39 ได้ โดยผู้ประกันตนจะส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

ผู้ที่จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 จะต้องผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และลาออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นอกจากนี้ต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ จึงจะสมัครมาตรา 39 ได้

ประกันสังคม มาตรา 39 ส่งครบแล้วได้อะไรบ้าง

ผู้ประกันสังคมมาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนครบ จะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

1. กรณีเจ็บป่วย
2. กรณีทุพพลภาพ
3. กรณีคลอดบุตร
4. กรณีสงเคราะห์บุตร
5. กรณีชราภาพ
6. กรณีเสียชีวิต

สิทธิประโยชน์ มาตรา 39 คุ้มครองอะไรบ้าง

สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตน มาตรา 39 ได้ มี 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต

สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ตามมาตรา 39

มีหลายกรณีที่ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์ประกันสังคม

ประกันสังคม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight