COVID-19

โควิด กทม. หนักจริง! สธ.ย้ำแล็บเอกชน ส่งผลตรวจกรมควบคุมโรค ห้ามปล่อยผู้ป่วยเคว้ง

โควิด กทม. หนักจริง เข้าขั้นวิกฤต หมอตี๋ลั่น ข้อมูลต้องแม่นยำ สบส. ย้ำแล็บเอกชน ตรวจพบเชื้อแจ้งกรมควบคุมโรคภายใน 3 ชั่วโมง พร้อมส่งข้อมูลเข้าระบบ อย่าปล่อยผู้ป่วยเคว้ง

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) และ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมาตรฐานห้องปฏิบัติการเครือข่ายตรวจเชื้อโควิด 19 (SARS-Cov-2) โดย นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ มาร่วมสร้างความเข้าใจกับคลินิกแล็บเอกชน โดยนายสาธิตกล่าวว่า สถานการณ์ โควิด กทม. หนักจริง กำลังเข้าขั้นวิกฤติในแง่ตัวเลขที่สูงขึ้น

โควิด กทม. หนักจริง

นอกจากนี้ยังพบว่า บุคลากรทางการแพทย์ ก็ติดเชื้อเองจำนวนมาก ดังนั้น สธ. ต้องการข้อมูลเพื่อบริหารจัดการอย่างแม่นยำ เช่น การบริหารจัดการเตียงผู้ติดเชื้อโควิด 19 คลินิกแล็บเอกชนที่ตรวจโควิด ก็เป็นจิกซอว์หนึ่ง ที่ช่วยมาแบ่งเบาสถานการณ์ และนำไปสู่การจัดการเตียงทั้งหมดได้

ทั้งนี้ ขอให้แล็บเอกชน ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ ตรวจพบเชื้อรายงานไปที่กรมควบคุมโรค ส่งข้อมูลผู้ติดเชื้อตามแบบฟอร์ม เช่น ชื่อ ที่อยู่ ผลบวก อาการเป็นอย่างไร เพื่อที่กรมควบคุมโรคจะได้นำข้อมูลเข้าสุ่โคแล็บ จะได้อัปเดตอย่างเรียลไทม์ เพราะต้องบริหารข้อมูลที่เที่ยงตรงทันเวลา ก็ขอให้ความร่วมมือรายงานข้อมูลด้วย เพื่อจะได้มีข้อมูลไปบริหารจัดการเตียงหรือควบคุมโรค

ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า สบส. และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกันจัดทีมตรวจประเมิน และให้คำแนะนำแก่คลินิกแล็บตรวจโควิด 19 ซึ่งวันนี้มีการลงพื้นที่ตรวจแล้ว 4 แห่ง

6mliwq74db8kwowok0

ทั้งนี้ ย้ำว่าต้องดำเนินการตามมาตรฐานที่ สบส. ออกประกาศ ดังนี้

  • เมื่อตรวจพบเชื้อแจ้งกรมควบคุมโรคภายใน 3 ชั่วโมง
  • แจ้งผู้ติดเชื้อให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันแพร่โรค
  • ประสานส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาตามระบบที่วางไว้ เช่น ส่งไปยัง รพ.คู่สัญญา ซึ่งอาจเป็น รพ.รัฐ เอกชนหรือ รพ.สนมก็ได้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ติดเชื้อจะมีสถานพยาบาลรองรับ
  • หากเตียงเต็มก็ประสานสายด่วน 1668 1669 หรือ 1330 หรือช่องทางสบายดีบอต เพื่อเข้าสู่ระบบการจัดหาเตียงต่อไป ตามกลุ่มอาการ เขียว เหลือง แดง ผู้ป่วยก็จะไม่เคว้งคว้าง

s 32677936

สำหรับในสัปดาห์หน้า จะลงพื้นที่ตรวจให้ครบทุกแห่งใน กทม. ส่วนคลินิกแล็บเอกชนมี 6 แห่งที่ปล่อยให้ผู้ป่วยเคว้ง ได้ตักเตือน และแนะนำการดำเนินการให้ได้มาตรฐาน

ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้แล็บตรวจโควิดที่ผ่านรับรองจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มี 280 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ใน กทม. โดยเป็นของเอกชนมากกว่ารัฐ แม้จะได้รับการรับรองแล้ว แต่กรมฯ จะทดสอบความชำนาญเป็นระยะ เพื่อให้การรับรองต่อไป จึงต้องมีการออกมาสุ่มตรวจคลินิกแล็บต่างๆ

ทั้งนี้ ขอให้คนที่มีความเสี่ยงหรือจำเป็นตรวจหาเชื้อ ตรวจสอบก่อนว่า คลินิกที่จะไปตรวจ อยู่ในการรับรองหรือไม่ สำหรับอุปกรณ์ชุดตรวจ และน้ำยาตรวจหาเชื้อ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสต๊อกของแล็บทั้ง 280 แห่งทุกสัปดาห์ ซึ่งขณะนี้แม้จะมีการตรวจหาเชื้อเยอะขึ้น ประมาณ 5-6 หมื่นรายต่อวัน แต่ยืนยันว่า ยังมีเพียงพอ และยังมีสำรองส่วนกลางไว้ที่กรมฯ ด้วย

“ส่วนกรณีการแชร์ข้อมูล ถึงกล่องวัคซีนซิโนแวค ที่มีการขีดค่า วันหมดอายุข้างกล่อง วัคซีนล็อตดังกล่าวบริษัทผู้ผลิตระบุวันหมดอายุการใช้งาน 3 ปี แต่เมื่อมาขึ้นทะเบียนกับ อย. จะมีการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ผลิต และก่อนนำฉีดต้องตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัย ไม่นำวัคซีนหมดอายุมาฉีดแน่นอน และแม้จะกำหนดอายุ 6 เดือน ก็เชื่อว่าระดมฉีด ก่อนที่จะหมดอายุแน่นอน” นพ.ศุภกิจกล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo