Business

‘ประกันสังคม’ เดือนเมษายน 2564 ส่งเงินสมทบอัตราปกติ ไม่มีลดหย่อน!

มาตราการลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุน ประกันสังคม เพื่อบรรเทาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา

ฉะนั้นเตรียมใจ! นายจ้างและผู้ประกันตนจะต้องกลับมาส่ง เงินสมทบ ประกันสังคม ในอัตราปกติ ตั้งแต่เดือน เมษายน 2564 เป็นต้นไป

ประกันสังคม เมษายน 2564

เงินสมทบ “ประกันสังคม” เมษายน 2564 

เมื่อมาตรการลดหย่อนสิ้นสุดลงแล้ว นายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จะต้องกลับมาส่งเงินสมทบในอัตราปกติ เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นไป ดังนี้

  • นายจ้าง จ่ายเงินสมทบในอัตรา 5% ของค่าจ้างผู้ประกันตน แต่สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อลูกจ้างหนึ่งคนต่อเดือน
  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ลูกจ้างเอกชนหรือผู้ประกันตนภาคบังคับ) จ่ายเงินสมทบในอัตรา 5% ของค่าจ้าง แต่สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อคนต่อเดือน
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 (ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ) จ่ายเงินสมทบในอัตรา 9% ของฐานเงิน 4,800 บาท หรือ 432 บาทต่อคนต่อเดือน

ด้าน ผู้ประกันตนมาตรา 40 (ผู้ประกันตนนอกระบบ) ไม่ได้รับสิทธิลดหย่อนเงินสมทบอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ประกันตนมาตรา 40 จึงต้องชำระเงินสมทบ ประกันสังคม ตามปกติ สำหรับอัตราการจ่ายเงินจะขึ้นอยู่กับแนวทางที่ผู้ประกันตนแต่ละคนเลือกไว้ ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน

shutterstock 1712190166 e1614656534246

มาตรการเยียวยาโควิด – 19 ที่เหลือ

แม้มาตรการลดหย่อนการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม ยังมีมาตรการเยียวยาโควิด – 19 อื่น ๆ เหลืออยู่ ซึ่งผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับสิทธิ์ได้

  • จ่ายเงินทดแทน 50% ในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19

ในปี 2564 กองทุนประกันสังคมจะจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (ชั่วคราว) จากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง หรือสูงสุดไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน โดยผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนดังกล่าวไม่เกิน 90 วันภายในระยะเวลา 1 ปี สำหรับเงื่อนไขเป็นดังนี้

1.เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือนย้อนหลัง

2.ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนอย่างใดอย่างหนึ่งจากไวรัสโควิด-19 ได้แก่ ต้องกักตัวเพื่อเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือนายจ้างต้องหยุดกิจการ เนื่องจากคำสั่งของราชการ

3.ลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น

  • จ่ายเงินทดแทน 70% กรณีว่างงานปกติ เนื่องจากถูกเลิกจ้าง

กรณีว่างงาน เพราะถูกเลิกจ้าง ประกันสังคม มาตรา 33 จะได้รับเงินชดเชย 70% ของค่าจ้างรายวัน ปีละไม่เกิน 200 วัน จากเดิมกองทุนฯ จ่ายเงินชดเชย 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 180 วันต่อปี

  • จ่ายเงินทดแทน 45% กรณีว่างงานปกติ เนื่องจากลาออก

กรณีว่างงาน เพราะลาออก ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับเงินชดเชย 45% ของค่าจ้างรายวัน ปีละไม่เกิน 90 วัน จากเดิมจะได้รับเงินชดเชย 30% ไม่เกินปีละ 90 วัน

shutterstock 1673161576 e1614656486998

  • เงินเยียวยา 4,000 บาท “ม33เรารักกัน”

กระทรวงแรงงานขอให้รัฐบาลนำงบประมาณจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท มาจ่ายเยียวยาโควิด-19 แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ประมาณ 9 – 10 ล้านคน คนละ 4,000 บาท ซึ่งผู้ประกันตนสามารถใช้วงเงินดังกล่าวได้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564

  • รอแก้ไขกฎหมาย “เงินชราภาพ”

กองทุนประกันสังคมอยู่ระหว่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ในส่วนของสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ เนื่องจากผู้ประกันตนต้องการนำเงินชราภาพของตนเอง มาใช้บรรเทาความเดือดร้อนระหว่างเกิดวิกฤติ

เบื้องต้นการแก้ไขกฎหมายมีทั้งหมด 3 แนวทาง คือ 1. ให้ผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ เปลี่ยนเป็นรับเงินบำเหน็จได้, 2.ให้ผู้ประกันตนสามารถรับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพล่วงหน้าได้ “บางส่วน” ก่อนอายุ 55 ปี และ 3.ผู้ประกันตนสามารถนำสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพไปเป็นหลักค้ำประกันเงินกู้กับธนาคาร

โดยปัจจุบันกองทุนประกันสังคมอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าว คลิกที่นี่ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2564

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo