Business

‘ฮอสพิเทล’ ทางเลือกที่ผู้ป่วยโควิดอยากได้ เพิ่มทางรอดธุรกิจโรงแรม

ฮอสพิเทล (Hospitel) ทางเลือกที่ผู้ป่วยโควิดอยากได้ ขณะเดียวกัน ก็เป็นหนึ่งในทางรอดของธุรกิจโรงแรม เพื่อสร้างรายได้ ยามอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว

การแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างมาก ในระดับหลัก 1,000 ต่อวัน ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาคือ สถานพยาบาลไม่มีเตียงรับมือกับผู้ป่วยจำนวนมาก บุคลากรทางการแพทย์งานล้นมือ ทำให้การจัดหาเตียงเพิ่ม เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ภาครัฐเร่งดำเนินการ ด้วยการเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลสนาม และหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ หรือ ฮอสพิเทล (Hospitel) เพื่อรับมือสถานการณ์ดังกล่าว

ฮอสพิเทล

อย่างไรก็ตาม จากความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างโรงพยาบาลสนาม ที่ส่วนใหญ่เป็นการปรับใช้อาคารขนาดใหญ่ เช่น สนามกีฬา มหาวิทยาลัย พื้นที่ของหน่วยงานรัฐ ทำให้เมื่อเทียบกับ ฮอสพิเทล ที่เป็นการนำโรงพยาบาล มาปรับเป็นสถานที่ดูแลผู้ป่วยโควิด ทำให้ผู่ป่วยโควิด ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย อยากไปพักที่ ฮอสพิเทล มากกว่าโรงพยาบาลสนาม

วัตถุประสงค์ของ การจัดตั้ง ฮอสพิเทล ก็เพื่อช่วยลดความแออัดของเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลหลัก โดยเน้นผู้ป่วย กลุ่มไม่มีอาการ หรืออาการน้อย ก่อนจำหน่ายกลับบ้าน เพื่อให้เตียงในโรงพยาบาล มีพอสำหรับการรักษาคนไข้อาการหนัก และให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เนื่องจากผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง ไม่จําเป็นต้องอาศัยเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ครุภัณฑ์การแพทย์ที่ซับซ้อน แต่ยังอยู่ในระยะการ แพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้ จึงต้องอยู่ในสถานที่เฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้กลับไปแพร่กระจายเชื้อในชุมชน

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าผู้ป่วยโควิด จะเลือกได้ว่าจะเข้า ฮอสพิเทล เพราะต้องตรงตามกฏเกณฑ์ ที่กระทรวงสาธารณสุข ระบุไว้ดังนี้

1. ผู้ป่วยยืนยันที่ไม่มีอาการ หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วัน เมื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อน ให้พักต่อที่ฮอสพิเทล จนครบ 10 วัน (และครบ14 วัน ในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)

2. ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการ ไม่มีภาวะเสี่ยง ภาวะร่วม หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วันเมื่ออาการดีขึ้นให้พักต่อที่ฮอสพิเทล จนครบ 10 วัน (และ14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)

3. ผู้ป่วยยืนยันโควิดที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ที่ไม่มีอาการ หรือ ไม่มีภาวะเสี่ยง ภาวะอื่นร่วม เข้าพัก รักษา สังเกตอาการที่ฮอสพิเทล จนครบ 10 วัน (และ 14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)

4. ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ แนะนําให้ เอกซเรย์ปอดทุกราย หากปอดผิดปกติควรอยู่โรงพยาบาล

158581736682

ล่าสุด ข้อมูลจากเว็บไซต์ ไทยออนทัวร์ (https://thaiontours.com/) ได้รวบรวมรายชื่อ ฮอสพิเทล ของโรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรมสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine หรือ ASQ) ที่รับกักตัวผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศก่อนหน้านี้ ดังนี้

1. โรงแรมมาเลเซีย โดยโรงพยาบาลสุขุมวิท ขนาด 80 เตียง

2. โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ โดยโรงพยาบาลปิยะเวท ขนาด 158 เตียง

3. โรงแรมอินทรารีเจ้นท์ โดยโรงพยาบาลปิยะเวท ขนาด 455 เตียง

4. โรงแรมโอโซน โฮเต็ล แอท สามย่าน โดยโรงพยาบาลวิภาราม ชัยปราการ ขนาด 40 เตียง

5. โรงแรมสินสิริ รีสอร์ท โดยโรงพยาบาลเสรีรักษ์ ขนาด 64 เตียง

6.โรงแรมชีวา กรุงเทพ โดยโรงพยาบาลกรุงเทพ ขนาด 77 เตียง

7. โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ แกรนด์ สุขุมวิท โดยโรงพยาบาลธนบุรี ขนาด 324 เตียง

8. โรงแรมสินสิริ โดยโรงพยาบาลสินแพทย์ ขนาด 52 เตียง

9. โรงแรม ฌ เฌอ – เดอะ กรีน โฮเทล โดยโรงพยาบาลเกษมราษฏร์ ขนาด 400 เตียง

10. โรงแรมโอทู ลักซ์ชัวรี่ โดยโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ขนาด 194 เตียง

11. โรงแรมอนันตรา กรุงเทพฯ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ขนาด 171 เตียง

12. โรงแรมเดอะกรีนวิว โดย โรงพยาบาลบางปะกอก 9 ขนาด 400 เตียง

13. โรงแรมเมเปิล โดย โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ ขนาด 150 เตียง

14. โรงแรมเวิร์ฟ โฮเต็ล โดยโรงพยาบาลเมดพาร์ค ขนาด 324 เตียง

15.โรงแรมแกรนด์ ริเวอร์อินน์ (สาธร) โดยโรงพยาบาลเมดพาร์ค ขนาด 108 เตียง

ขณะที่ในฝั่งของธุรกิจโรงแรมเอง การปรับนำห้องพักว่าง มาเป็นฮอสพิเทล ย่อมเป็นอีกทางเลือกในการสร้างรายได้ อย่างน้อยก็เป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เป็นค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มีเสียงสะท้อนที่น่าสนใจ จากเพจเฟซบุ๊ก “หมอปอด อินดี้” ที่แสดงความเห็นว่า

“State quarantine, Hospitel, รพ.สนาม เป็นความเหมือนที่แตกต่าง​ เป็นเส้นบาง ที่เหมือนจะคล้ายแต่ก็ไม่ ถ้าเลือกได้คงอยากนอนในโรงพยาบาล ถ้า รพ. เต็ม เลือกเองก็อยากได้เป็น​โรงแรมเป็น Hospitel​ มากกว่า​ รพ.สนาม

11 4

แต่ บริบทในสถานการณ์​จริง บางที่ก็หาไม่ได้จริง ๆ Hospitel​ ก็แล้วแต่เจ้าของเอกชน เขาจะยอมไหม​ คนเจรจาเหนื่อย งบประมาณ​ก็จำกัด

รพ.สนาม​ จึงมีบทบาทตามมา ปวดหัวกับการจัดสิ่งแวดล้อม ทางลม​ สาธารณูปโภค ขยะ ระบบน้ำเสีย​ ระบบความปลอดภัยทั้งคนไข้ และเจ้าหน้าที่​ ชาวบ้านในชุมชนโดยรอบ​

มันมีมิติและปัญหามากกว่าที่เห็น กว่าจะออกมาแต่ละที่ในแต่ละจังหวัด

ไม่ดราม่านะ ลุงหมอคนหน้างาน​ เป็นลูกน้องเขา กำหนดนโยบายเองไม่ได้ แค่ทำตามคำสั่ง​ ก็เหนื่อย​ ปวดหัวพอแล้ว

สงสารคนหน้างาน​ เจ้าหน้าที่ลูกกระจ๊อกแบบลุงหมอครับ กลัวก็กลัว​ โดนด่า​อีก”

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo