COVID-19

แนะ 8 วิธีปฏิบัติตัว ถ้า ‘ติดโควิด – 19’ แล้ว ต้องทำยังไง?

แน่นอนว่าไม่มีใครอยากติด โควิด – 19 แต่ถ้าตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงแนะนำ 8 วิธีปฏิบัติตัว ถ้า “ติดโควิด – 19” แล้ว ต้องทำยังไง?

ติดโควิด - 19 ทำยังไง

“ติดโควิด – 19” แล้ว ต้องทำยังไง?

การตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด – 19 เป็นข่าวร้ายสำหรับทุกคน แต่ผู้ติดเชื้อก็ตั้งสติและควรปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้นดังต่อไปนี้ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วและไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกไป

1.เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน และผลตรวจ โควิด – 19

2.แจ้งเบอร์โทรศัพท์ของตนกับหน่วนงานที่รับเรื่องเพื่อเข้ารับการรักษา

  • สายด่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โทร 1330 รับสายตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยประสานหาเตียง
  • สายด่วนศูนย์เอราวัณ โทร 1669 เป็นหลักในการจัดหาเตียงในกรุงเทพฯ
  • สายด่วนกรมการแพทย์ (เฉพาะกิจ) โทร 1668 รับสาย 08.00 – 22.00 น. ทุกวัน โทรเยี่ยมผู้ติดเชื้อและประสานหาเตียง

สำหรับผู้ป่วยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ติดต่อหาเตียงผ่านสายด่วนทั้ง 3 ช่องทางดังกล่าวอาจเกิดความล่าช้า เนื่องจากมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก จึงขอแนะนำผู้ป่วย โควิด – 19 ที่มีผลยืนยันการติดเชื้อ สามารถขอเตียงเพิ่มได้อีก 1 ช่องทาง โดยแสกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) ด้านล่าง แล้วเพิ่ม @sabaideebot เป็นเพื่อนในแอปพลิเคชันไลน์ จากนั้นคลิกปุ่ม “ลงทะเบียนหาเตียง COVID-19” ที่อยู่ด้านล่าง

QR Code @sabaideebot

ลงทะเบียน หาเตียง โควิด e1618834453268

3.งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด การฝ่าฝืน พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 34 ซึ่งมีความผิด

4.งดใกล้ชิดกับครอบครัวและผู้อื่น

5.แยกห้องน้ำ หากสามารถทำได้

6.กรณีที่มีอาการไข้ ให้รับประทานยาพาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้

7.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

8.แยกของใช้ส่วนตัว

เบื้องต้นผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ จะถูกนำตัวไปอยู่ที่โรงแรม ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นหอผู้ป่วยติดโรค โควิด – 19 เฉพาะกิจ (Hospitel) ด้านผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงจะถูกนำไปอยู่ที่โรงพยาบาลสนาม และผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะถูกนำตัวไปที่โรงพยาบาล

ติดโควิด - 19 ต้องทำยังไง

รายละเอียดสถานการณ์ “โควิด – 19” วันนี้ 19 เมษายน 2564

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. อัพเดทสถานการณ์ โควิดวันนี้ 19 เมษายน 2564 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,390 คน ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสมล่าสุดอยู่ที่ 43,742 คน พบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 3 ราย ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมทั่วประเทศอยู่ที่ 104 ราย ผู้ป่วยรักษาตัวหายกลับบ้านเพิ่ม 104 คน รวมยอดผู้ป่วยรักษาตัวหายกลับบ้านได้แล้ว 28,787 คน ยังเหลือรักษาตัวในโรงพยาบาล 14,851 คน

  • กลุ่มติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวัง และระบบบริการคัดกรอง จำนวน 1,058 ราย
  • กลุ่มค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 326 ราย
  • กลุ่มเดินทางมาจากต่างประเทศ เข้าสถานกักกันทุกประเภท จำนวน 6 ราย

 

เสียชีวิต 3 ราย 

  • รายที่ 102 เพศชาย อายุ 56 ปี อาชีพ พนักงานเสิร์ฟในสถานบันเทิง กรุงเทพมหานคร 

มีโรคประจำตัว เป็นความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองตีบ โดยป่วยขณะอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 13 เมษายน 2564 มีอาการไอ นอนพักรักษาอยู่บ้าน ต่อมา วันที่ 17 เมษายน 2564 มีอาการเหนื่อยมากขึ้น หายใจติดขัด ติดต่อรถพยาบาลมารับเข้าโรงพยาบาล

ต่อมามีอาการแย่ลง เจ้าหน้าที่ทำการฟื้นคืนชีพ ไม่ดีขึ้น และผลยืนยันพบเชื้อโควิด-19  วันที่ 18 เมษายน 2564 เสียชีวิต เวลา 00.31 น.

  • รายที่ 103 เพศหญิง อายุ 84 ปี ภูมิเลำเนา กรุงเทพมหานคร

โรคประจำตัว เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย  โดยมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า เป็นหลานชายซึ่งทำงานในสถานบันเทิง รัชดา กรุงเทพมหานคร

วันที่ 8 เมษายน 2564 มีอาการไข้ ไอ เหนื่อยหอบ เอ็กซ์เรย์พบว่า เป็นปอดอักเสบรุนแรง แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจ  ต่อมาวันที่ 10 เมษายน 2564 ผลยืนยันพบเชื้อโควิด-19 วันที่ 16 เมษายน 2564 ความดันโลหิตตก และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

  • รายที่ 104 เพศหญิง อายุ 61 ปี อาชีพค้าขาย ภูมิเลำเนา ประจวบคีรีขันธ์

โรคประจำตัว เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไทรอยด์

  • วันที่ 6 เมษายน 2564 ร่วมรับประทานอาหารกับผู้ป่วยรายยืนยันก่อนหน้า ที่สถานบันเทิงในหัวหิน วันที่ 8 เมษายน 2564 ไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 เนื่องจากได้รับแจ้งว่าเพื่อนติดเชื้อ
  • วันที่ 10 เมษายน 2564 ผลยืนยันพบเชื้อโควิด-19
  • วันที่ 11 เมษายน 2564 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  • วันที่ 1 เมษายน 2564 มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo