COVID-19

วิจารณ์ยับ ‘ญี่ปุ่น’ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ล่าช้า เหตุยังผลิตเองไม่สำเร็จ – อนุมัติยาก

สื่อท้องถิ่นวิจารณ์ยับ “ญี่ปุ่น” ฉีดวัคซีนโควิด-19 ล่าช้า เหตุยังผลิตเองไม่สำเร็จ – อนุมัติยาก

สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า จนถึงวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา มีชาวญี่ปุ่นได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) อย่างน้อย 1 โดสแล้วราว 1.1 ล้านคน คิดเป็น 0.87% ของประชากรทั่วประเทศ ซึ่งล่าช้ากว่าประเทศพัฒนาแล้วแห่งอื่น ๆ เป็นอย่างมาก

ญี่ปุ่น โควิด วัคซีน

สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ รายงานสถิติจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่น ว่าตั้งแต่เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา ญี่ปุ่นยังคงอยู่ในขั้นตอนแรกของกำหนดการ โดยกลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนขั้นตอนถัดไปกำหนดเริ่มในวันที่ 12 เมษายน ซึ่งเป็นการฉีดให้กับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

สำนักข่าวฯ เปรียบเทียบอัตราการฉีดวัคซีนของญี่ปุ่นกับประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ และสรุปว่าการฉีดวัคซีนของญี่ปุ่นนั้นเป็นไปอย่างล่าช้า ข้อมูลของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในสหราชอาณาจักรชี้ว่าอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 5% ในปัจจุบัน โดยอัตราการฉีดวัคซีนของอิสราเอลสูงถึง 61% ส่วนสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกามีอัตราฉีดวัคซีนที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน อยู่ที่ 46% และ 32% ตามลำดับ

สำนักข่าวฯ วิเคราะห์ว่า สาเหตุหลักที่ทำให้การฉีดวัคซีนในญี่ปุ่นคืบหน้าล่าช้า คือการวิจัยและพัฒนาในประเทศที่ล่าช้าซึ่งทำให้ไม่มีวัคซีนที่ผลิตในประเทศ ขั้นตอนการอนุมัติอันเข้มงวดที่ทำให้ล่าช้ากว่ายุโรปและสหรัฐฯ ราว 2 เดือน การพึ่งพาการนำเข้าอย่างมาก ซึ่งการจัดซื้อได้นั้นก็จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตสถานที่ผลิตวัคซีน

ญี่ปุ่น13 e1610549951527

ญี่ปุ่นกำหนดให้มีการทดลองทางคลินิกของวัคซีนโควิด-19 กับอาสาสมัครในท้องถิ่น ซึ่งข้อกำหนดที่ไม่เหมือนกับประเทศอื่นนี้เองที่ทำให้กระบวนการอนุมัติล่าช้า โดยจนถึงขณะนี้มีเพียงวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทค (Pfizer-BioNTech) เท่านั้นที่ผ่านการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลของญี่ปุ่น

ขณะที่วัคซีนของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ที่พัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ของสหรัฐ กำลังอยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิกและรอการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลของญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะได้รับการอนุมัติในเดือนพฤษภาคม

ที่มาสำนักข่าวซินหัว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo