The Bangkok Insight

เม็ดเงินโฆษณาไตรมาสแรกปี61วูบ 6.8%

แม้บรรดามีเดีย เอเยนซี ประเมินทิศทางอุตสาหกรรมโฆษณา ปี 2561  จะกลับมาเติบโตอีกครั้งที่อัตรา 5-7%  จากเศรษฐกิจและกำลังซื้อฟื้นตัว หลังจากชะลอตัว 2 ปีต่อเนื่อง โดยปี 2559 มีมูลค่า 1.07 แสนล้านบาท ติดลบ 11.69%  และปี 2560 มีมูลค่า 1.01 แสนล้านบาท ติดลบ 6%

แต่ปี 2561  พบว่าเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อยังอยู่ในภาวะ “ติดลบ”ต่อเนื่อง โดยเดือนมกราคม  มีมูลค่า 7,429  ล้านบาท ติดลบ 8.51%  เดือนกุมภาพันธ์ มูลค่า  7,747  ล้านบาท ติดลบ 5.94% และล่าสุดเดือน มีนาคม มีมูลค่า  9,491  ล้านบาท ติดลบ 6.53%

บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย จำกัด  รายงานการใช้งบโฆษณา ผ่านสื่อไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ปี 2561 เปรียบเทียบช่วงเดียวกันปี 2560  มีมูลค่า 24,691 ล้านบาท  ลดลง  6.86%

โฆษณาปี 2561 ไตรมาส1

สื่อส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ติดลบ” ประกอบด้วย

  • ฟรีทีวีรายเดิม     มูลค่า 9,239  ล้านบาท      ติดลบ 18.69%
  • เคเบิล/ทีวีดาวเทียม มูลค่า   585  ล้านบาท ติดลบ 26.60%
  • หนังสือพิมพ์      มูลค่า 1,455  ล้านบาท       ติดลบ   28.85%
  • นิตยสาร             มูลค่า    323  ล้านบาท       ติดลบ   37.76%
  • สื่อเคลื่อนที่       มูลค่า  1,538  ล้านบาท       ติดลบ   7.90%
  • อินสโตร์            มูลค่า     244  ล้านบาท       ติดลบ   2.79%
  • อินเทอร์เน็ต      มูลค่า     351  ล้านบาท        ติดลบ   5.14%

สำหรับสื่อที่ “เติบโต” ไตรมาสแรกปีนี้ ประกอบด้วย

  • ทีวีดิจิทัล           มูลค่า 6,538  ล้านบาท   เติบโต  21.21%
  • วิทยุ                   มูลค่า 1,068  ล้านบาท   เติบโต   1.71%
  • โรงภาพยนตร์    มูลค่า  1,712  ล้านบาท   เติบโต   9.46%
  • ป้ายโฆษณา      มูลค่า  1,635  ล้านบาท   เติบโต   9.81%

งบโฆษณามี.ค.ยังวูบ

สำหรับงบโฆษณาเดือน มีนาคม 2561 มีมูลค่า  9,491  ล้านบาท ติดลบ 6.53%  โดยสื่อส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ติดลบ”

กลุ่มสื่อโฆษณา ที่อยู่ในภาวะ “ติดลบ” ในเดือน มีนาคม ประกอบด้วย

  • ฟรีทีวีรายเดิม                มูลค่า 3,703   ล้านบาท   ติดลบ  15.94%
  • เคเบิล/ทีวีดาวเทียม     มูลค่า    208   ล้านบาท   ติดลบ   29.97%
  • หนังสือพิมพ์                  มูลค่า    547   ล้านบาท   ติดลบ   28.96%
  • นิตยสาร                         มูลค่า    117    ล้านบาท   ติดลบ   40.61%
  • โรงภาพยนตร์                มูลค่า    517    ล้านบาท   ติดลบ   16.88%
  • สื่อเคลื่อนที่                   มูลค่า    528   ล้านบาท   ติดลบ   14.42%
  • อินเทอร์เน็ต                  มูลค่า    121     ล้านบาท   ติดลบ   20.39%

สำหรับสื่อโฆษณา ที่มีอัตรา “เติบโต” ในเดือน มีนาคม ประกอบด้วย

  • ทีวีดิจิทัล          มูลค่า  2,662  ล้านบาท  เติบโต  28.10%
  • วิทยุ                  มูลค่า    419   ล้านบาท   เติบโต    4.23%
  • ป้ายโฆษณา     มูลค่า    567    ล้านบาท  เติบโต    8.62%
  • สื่ออินสโตร์       มูลค่า    101    ล้านบาท  เติบโต     8.60%

“ทีวีไดเร็ค”แชมป์เทงบไตรมาสแรก

ทางด้านท็อปเทน “แบรนด์” ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด ไตรมาสแรก ปี 2561 เปรียบเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบด้วย

1. ทีวีไดเร็ค             680 ล้านบาท
2. ธนาคารออมสิน  246 ล้านบาท
3. โค้ก                     227 ล้านบาท
4. โคเรียคิง             202 ล้านบาท
5. อีซูซุ                    172 ล้านบาท
6. มือถือซัมซุง         159 ล้านบาท
7. เทสโก้โลตัส        151 ล้านบาท
8. เป๊ปซี่                143.6 ล้านบาท
9. ดีแทค               143.5 ล้านบาท
10. รถเก๋งซูซูกิ     143.2 ล้านบาท

ข้อมูลสำคัญ

สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่(transit):มีการรวมข้อมูลจาก  JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  2560 และข้อมูลของสื่อ outdoor และ transit จาก  JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560

นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่นสื่อเคลื่อนที่(transit),ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี2559  เป็นต้นมา

อินเทอร์เน็ต  ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่อ อินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10  เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ (ภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต ทั้งหมดให้อ้างอิงข้อมูลจาก DAAT)

สื่อในห้าง นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุใน บิ๊กซี  และ เซเว่น อีเลฟเว่น เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในเทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง, สื่อเคลื่อนที่, และสื่อในห้าง

Avatar photo