Politics

‘อัษฎางค์’ สอนหลักการประชาธิปไตย ‘ธนาธร-ปิยบุตร’ ฟังเสียงข้างมาก ไม่ใช่เสียงตัวเอง

สอนหลักการประชาธิปไตย ต้องฟังเสียงข้างมาก “อัษฎางค์” ฝากถึง “ธนาธร-ปิยบุตร” ฟังคนส่วนใหญ่ของประเทศ อย่าฟังแต่เสียงพรรคพวกตัวเอง 

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ชื่อดัง โพสต์เพจเฟซบุ๊ก อัษฎางค์ ยมนาค สอนหลักการประชาธิปไตย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า และม็อบสารพัดชื่อ พร้อมเรียกร้องให้ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่ฟังแต่เสียงฝั่งตนเอง จึงจะเป็นหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยระบุว่า

สอนหลักการประชาธิปไตย

“ประชาธิปไตย ในดินแดน แลนด์สไลด์ เด้อ

Can you hear the people sing?

เราขอเรียกร้องให้ ธนาธร ปิยบุตร ก้าวหน้า ก้าวไกล ไม่ได้ก้าวไปไหนและม็อบสารพัดชื่อ ได้ฟังเสียงของประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศ ว่าความต้องการที่แท้จริงของคนส่วนใหญ่คือ อะไร ไม่ใช่ฟังแต่เสียงตัวเอง

เพราะ หลักการของประชาธิปไตย คือ หลักการเสียงข้างมาก

ความหมายของประชาธิปไตยมีหลายข้อ แต่ข้อที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งคือ หลักเสียงข้างมาก

แต่กลุ่มของเอก ป๊อกและพรรคพวก ที่อ้างตนเป็นฝ่ายประชาธิไตย กลับไม่ยึดหลักเสียงข้างมาก แต่ไปยึดหลักเสียงข้างตนเป็นใหญ่

เอก ป๊อกและพรรคพวกมักทึกทักเอาเองว่า ความเห็นของตนเองและพวก คือเสียงจากความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นเพียงเสียงส่วนน้อยในกลุ่มของตนเท่านั้น

อะไรที่ผิดเพี้ยนไปจากแนวความคิดของพวกตนและพวก กลายเป็นเรื่องที่ผิด แม้ว่ามันคือเสียงของคนกลุ่มน้อยนิดของตนก็ตาม

ที่นี่ชัดรึยังว่า ทำไมปิยบุตร ที่เรียกร้องมาตลอดให้แก้รัฐธรรมนูญ แต่พอศาลตัดสินให้แก้รัฐธรรมนูญได้ตามที่ป๊อกและพรรคพวกเรียกร้อง โดยมีเงื่อนไขเดียวคือ ให้ทำประชามติ

ป๊อกกลับออกมาต่อต้านการทำประชามติ เพราะป๊อกรู้ชะตาชีวิตดีว่า ถ้าให้ประชาชนทั้งประเทศโหวตก้าวหน้า ก้าวไกล จะก้าวไม่ออกทันที เหมือนผลการเลือกตั้งล่าสุดทั้ง 2 ครั้ง

ระบอบประชาธิปไตย ในความเข้าใจของ เอกและป๊อก เป็นอย่างไร

เอก ป๊อกและพรรคพวกมักอ้างสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และประชาธิปไตย

แต่อะไรที่เป็นความเห็น หรือมติจากเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ เอก ป๊อกและพรรคพวกกลับไม่เคยยอมรับมัน

เรามาทบทวนความหมายของประชาธิปไตยในแง่มุมต่าง ๆ กัน

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย2019

  • ความหมายของประชาธิปไตย ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค

นักปรัชญาการเมืองกล่าวว่า รูปแบบการปกครองที่ดีก็คือ การปกครองที่เคารพสิทธิ และความเสมอภาคของมนุษย์ สมาชิกของสังคมทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

**ระบบการเมืองจะต้องให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการดำเนินการใด ๆ “ภายใต้กฎระเบียบของสังคม”

  • ความหมายของประชาธิปไตย ที่เน้นการเข้ามีส่วนร่วมหรือเสียงของประชาชน

ในเมื่อระบอบประชาธิปไตย ให้ความสำคัญกับประชาชน ในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

บทบาทของประชาชนในทางการเมือง จึงมีความสำคัญมาก ประชาธิปไตยนั้น ถือว่าประชาชน คือ เสียงสรรค์ เป็นระบอบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมดำเนินการเพื่อสร้างสรรค์สังคมของตนเอง ซึ่งอาจเป็นทางตรง เช่น การประท้วง การร้องเรียน ในรูปแบบต่าง ๆ หรืออาจเป็นทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่แทน

  • ความหมายของประชาธิปไตย ที่เน้นเจตนารมณ์ของประชาชน

ผู้นำทางการเมืองเป็นผู้ที่ถือเสมือนเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชน รัฐบาลเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก หรือได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่

  • ความหมายของประชาธิปไตยในเชิงรูปแบบการปกครอง

1. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน

หมายความว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินปัญหาและกำหนดความเป็นไปของพวกเขาเอง แต่มิได้หมายความว่าประชาชนทั้งประเทศจะต้องมานั่งถกเถียงหาทางแก้ปัญหา แต่เป็นในลักษณะของการเลือกผู้แทนฯ ทำประชามติฯ

2. หลักอำนาจอธิปไตยโดยปวงชน

หมายถึง การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง รูปแบบของการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชนจึงมีอยู่หลายทางด้วยกันที่สำคัญ คือ การเลือกตัวแทนของตนขึ้นไปทำหน้าที่ในรัฐสภา

3. หลักอำนาจอธิปไตยเพื่อปวงชน

ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศ ต้องเป็นผู้ที่กระทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่

4. หลักเหตุผล

ความเป็นประชาธิปไตยนั้นย่อมมีโอกาสที่คนแต่ละคนต่างที่มีแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไป แต่ถ้าคนทุกคนปราศจากเหตุผลแล้ว สังคมก็อาจยุ่งเหยิง ไม่ได้ข้อยุติที่ดีและถูกต้อง

ดังนั้นใน ระบอบประชาธิปไตย นั้น ทุกคนจะต้องร่วมกันคิด ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยต่างก็เสนอความคิดเห็น แล้วอาจมีการเปิดอภิปราย มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขว้าง ต่างคนต่างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยใจเป็นธรรม หรือการทำประชามติ

**ข้อเสนอหรือความคิดเห็นของใครที่มีเหตุผลดีกว่าก็จะได้รับเลือกให้เป็นวิธีการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ต่อไป

5. หลักความยินยอม

ประชาธิปไตยจะต้องมีพื้นฐานมาจากความยินยอมเมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และปวงชนได้ตั้งตัวแทนของตนเพื่อใช้อำนาจดังกล่าว จึงถือได้ว่าผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้ามาใช้อำนาจเหล่านี้ได้รับความยินยอมจากปวงชน

6. หลักประนีประนอม

ในหลายกรณี หลังจากที่ผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันแล้ว และเล็งเห็นว่าข้อเสนอต่าง ๆ ที่ผู้แทนแต่ละคนเสนอไปนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก หรือมีข้อขัดแย้งกันไม่มากนัก ที่ประชุมก็อาจใช้การประนีประนอมกัน โดยยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นเกณฑ์ ไม่จำเป็นต้องมีการลงคะแนนเสียงข้างมากก็ได้

7. หลักความเสมอภาค

ระบอบประชาธิปไตย เชื่อว่ามนุษย์ต่างก็มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน แม้แต่รัฐธรรมนูญไทยก็ยอมรับในหลักการนี้โดยเขียนไว้ว่า บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมาย

8. หลักเสรีภาพ

รัฐใน ระบอบประชาธิปไตย จะต้องส่งเสริมเสรีภาพต่าง ๆ ของปวงชน เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน การอบรมศึกษา การรวมตัวกันเป็นษมาคม เป็นต้น

**แต่ทั้งนี้เสรีภาพเหล่านี้จะถูกจำกัดโดยกฎหมาย กล่าวคือ “ประชาชนต้องไม่ใช้เสรีภาพนี้เพื่อทำลายหรือละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น”

9. หลักเสียงข้างมาก

วิธีการหนึ่งที่จะรู้ได้ว่า ระบอบประชาธิปไตย เป็นหลักการเพื่อปวงชน คือ หลักเสียงข้างมาก**

ขอบคุณ www.satit.up.ac.th

อัษฎางค์ ยมนาค

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo