COVID-19

10 คำถาม ‘วัคซีนพาสปอร์ต’ ความหวังฟื้นตัวจากโควิด ที่ยังต้องการคำตอบ

10 คำถาม วัคซีนพาสปอร์ต ที่ภาครัฐและเอกชน ต้องร่วมกันหาคำตอบ เพื่อปูทางสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

ใบรับรองวัคซีนดิจิทัล หรือที่รู้จักกันในชื่อ วัคซีนพาสปอร์ต ถือเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาใหม่ ที่มีความเป็นไปได้ ในการสนับสนุนธุรกิจ ให้กลับมาดำเนินต่อ และให้สังคมกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมอีกครั้งทั่วประเทศและทั่วโลก แต่ต้องยอมรับว่า ปัจจุบัน ยังขาดความชัดเจน โดย การ์ทเนอร์ ได้สรุป 10 คำถาม วัคซีนพาสปอร์ต ไว้ให้ช่วยกันหาคำตอบ

10 คำถาม วัคซีนพาสปอร์ต

วัคซีนพาสปอร์ต เริ่มถูกพูดถึงอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงของการติดเชื้อโควิด ระลอกใหม่ โดยเฉพาะการคาดการณ์ที่ว่า วัคซีนพาสปอร์ต จะเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยง ในการติดเชื้อระลอกใหม่ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาส และความสะดวก ในการส่งบุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วกลับมายังสถานที่กักตัว เช่น สถานที่ทำงาน และประเทศที่เปิดให้เดินทางระหว่างประเทศ

ดร. ชารอน ฮักเคนเนส นักวิเคราะห์อาวุโสของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า ในช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทเทคโนโลยี และสุขภาพ ขนาดใหญ่หลายแห่ง ได้ร่วมมือกันเปิดตัว “โครงการหนังสือรับรองประวัติการรับวัคซีน (The Vaccine Credential Initiative)” เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูล และเรียกดูบันทึกการรับวัคซีนแบบดิจิทัล

เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ได้เปิดตัว คณะทำงานด้านสุขภาพดิจิทัล เพื่อพัฒนากรอบการทำงาน และมาตรฐานใบรับรองวัคซีนดิจิทัลอัจฉริยะ สำหรับโรคไข้เหลือง และโควิด-19 ใบรับรองวัคซีนดิจิทัลอัจฉริยะ เพื่อปูทางไปสู่ การเพิ่มการรับรองการรับวัคซีนประเภทอื่น ๆ ในภายหลัง

ความพยายามอย่างหนัก จากทุกภาคส่วนเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการพัฒนาวัคซีนพาสปอร์ต ให้เกิดขึ้นจริง แม้จะยังมีคำถามสำคัญหลายประการ ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ แหล่งที่มาและการตรวจสอบข้อมูล รวมถึงคำจำกัดความของภูมิคุ้มกันในกลุ่มของพวกเขา

Gartner Vaccine passport

ความไม่แน่นอนของวัคซีนพาสปอร์ต

อย่างไรก็ตาม การนำวัคซีนพาสปอร์ตมาใช้ในวงกว้าง มีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมาย องค์กรภาคเอกชน และภาครัฐ ต้องทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลเสีย เช่นเดียวกับคำมั่นสัญญา จึงจะสามารถวางแผนการนำมาใช้จริงได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

10 คำถามสำคัญ ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงผู้กำหนดนโยบายของรัฐ หรือองค์กร ควรร่วมค้นหาคำตอบ มีดังนี้

  • การกำหนดมาตรฐาน ใครจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ทั่วโลกจะมีหลายมาตรฐานหรือไม่ กำหนดความหมายของภูมิคุ้มกันไว้อย่างไร
  • การนำมาใช้ ใบรับรองจะถูกนำมาใช้อย่างไร ใช้กับการเดินทาง การทำงาน หรือ ความบันเทิง โดยการใช้งานใบรับรองนี้ จะผ่านการตรวจสอบทางกฏหมายด้วยหรือไม่
  • การให้การยอมรับ ใครจะยอมรับใบรับรองวัคซีนนั้นบ้าง หากมีใบรับรองหลายแบบ จะมีใบรับรองไหน ที่ได้รับการรับรองในวงกว้าง มากกว่าใบรับรองอื่น ๆ
  • การเห็นด้วย ประชาชนจะใช้ใบรับรองเหล่านี้ด้วยหรือไม่ ใบรับรอง จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไหม
  • การให้ความเสมอภาค ประชาชนจะสามารถเข้าถึง และจัดการข้อมูลดิจิทัลส่วนตัวได้ด้วยไหม ใบรับรองจะทำให้เกิดการตีตราทางสังคม หรือเกิดการแบ่งแยกทางดิจิทัล ที่รุนแรงขึ้นหรือไม่
  • การกำกับดูแล ใครจะเป็นผู้ดูแลระบบและข้อมูล ความเป็นส่วนตัวจะได้รับการคุ้มครองอย่างไร การปลอมแปลงเอกสารจะถูกค้นพบ และจัดการอย่างไร
  • การนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย ใบรับรองจะมีวันหมดอายุไหม หากวัคซีนมีผลในระยะเวลาจำกัด ใบรับรอง ควรต้องมีข้อมูลภูมิคุ้มกันสำหรับสายพันธ์อื่น ๆ ด้วยหรือไม่ ความแตกต่างของกลุ่มบุคคล จะทำให้การแสดงผลประสิทธิภาพของวัคซีน ต่างกันไหม
  • การตรวจสอบและพิสูจน์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกัน จะได้รับการตรวจสอบอย่างไร ใครจะเข้าถึงบันทึกการฉีดวัคซีนได้บ้าง จะยืนยันความถูกต้องของข้อมูลนั้นอย่างไร
  • การนำระบบโครงสร้างพื้นฐานมาใช้ โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว สามารถจัดการข้อมูล และความต้องการด้านความปลอดภัย ของใบรับรองดิจิทัลได้หรือไม่ จะควบรวมระบบ หรือโครงสร้างเหล่านี้ และทำงานร่วมกันได้หรือไม่
  • ผลที่อาจเกิดตามมาโดยไม่ตั้งใจ ใบรับรองดิจิทัล จะทำให้เกิดความไม่มั่นใจในวัคซีนเพิ่มขึ้นไหม จะเป็นการเพิ่มขั้นตอนการรับวัคซีนหรือไม่ จะกลายเป็นแรงจูงใจให้ผู้คนไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยให้ติดเชื้อเพื่อให้ได้ใบรับรองหรือไม่

shutterstock 1896498214

สิ่งที่สังคมต้องไปให้ถึง เพื่อให้เกิดการใช้งานในวงกว้าง

หนทางที่ทำให้ วัคซีนพาสปอร์ต ใช้งานได้จริงนั้น การทำให้ผู้ใช้ยอมรับในวงกว้างต้องเกิดขึ้น ด้วยความท้าทายข้างต้นองค์กร ที่กำลังพิจารณาการใช้วัคซีนพาสปอร์ต ต้องเห็นด้วยในกรอบการกำกับดูแล ที่อนุญาตการเข้าถึงสิทธิ์ ความเท่าเทียม การพิสูจน์ความถูกต้อง และแบ่งปันข้อมูลการรับวัคซีน

วัคซีนพาสปอร์ตดิจิทัลในระดับสูง จะต้องเปิดใช้งานบันทึกการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามความยินยอมเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ด้วยวิธีที่ปลอดภัยตรวจสอบได้ และรักษาความเป็นส่วนตัว และต้องสามารถทำงานข้ามองค์กร และข้ามเขตพรมแดนได้

นอกจากนี้ ยังต้องสร้างขึ้นบนมาตรฐานสากล มีความปลอดภัย และโครงสร้างพื้นฐานแบบกระจายอำนาจ ในแง่ของข้อมูลที่ได้มา ต้องมีการกำหนดมาตรฐานข้อมูล การจัดรูปแบบ และการแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งสำคัญ

แม้ว่าจะยังมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย เกี่ยวกับ วัคซีนพาสปอร์ต แต่ก็ดูเหมือนเป็นแนวโน้มที่ดี แอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ได้ให้ความช่วยเหลือสำคัญ ในการจัดการกับสถานการณ์เร่งด่วนทั่วโลก ที่เกิดจากการแพร่ระบาด

อีกไม่นาน การตรวจสอบเทคโนโลยีนี้ จะแจ้งให้ทราบถึงแผน และกลยุทธ์ขององค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อม ในการนำวัคซีนพาสปอร์ต มาใช้ประโยชน์ เพื่อการฟื้นคืนกลับสู่สภาวะปกติ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo