Politics

เปิด 5 จังหวัดอากาศดีที่สุดในประเทศไทย มีจังหวัดไหนบ้าง เช็คเลย!!

“ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ” เปิด 5 จังหวัดอากาศดีที่สุดในประเทศไทยในปี 2563 ชี้ทั้ง 5 จังหวัดมีค่า PM2.5 ต่ำที่สุด โดยใช้ค่าเฉลี่ยทั้งปีตั้งแต่มกราคม – ธันวาคม 2563

ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ โฆษกศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) แถลงรายงานคุณภาพอากาศ 5 จังหวัดอากาศดีที่สุดในประเทศไทยในปี 2563 โดยใช้ค่าเฉลี่ย PM2.5 ตั้งแต่มกราคม – ธันวาคม 2563 ในทุกจังหวัดที่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ของกรมควบคุมมลพิษติดตั้งอยู่ พบว่า ในช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน 2563 ภาคใต้มีค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 น้อยที่สุดในประเทศไทย (ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ มิถุนายน-กันยายน 2563 อยู่ที่ 11-16 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.))

เมื่อจัดอับดับ 5 จังหวัดอากาศดีที่สุดในประเทศไทย ได้แก่

  • สตูล
  • ยะลา
  • ภูเก็ต
  • สุราษฏร์ธานี
  • สงขลา

161297095 194151865843911 2899045838068177478 o

โดยทั้ง 5 จังหวัดมีค่า PM2.5 ต่ำที่สุด โดยใช้ค่าเฉลี่ยทั้งปีตั้งแต่มกราคม – ธันวาคม 2563 และมลพิษอากาศอื่นๆ ได้แก่ ก๊าซโอโซนเฉลี่ย 8 ชั่วโมง (มาตรฐานไม่เกิน 70 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb)) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เฉลี่ย 8 ชั่วโมง (มาตรฐานไม่เกิน 9 ส่วนในล้านส่วน (ppm)) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์เฉลี่ย 1 ชั่วโมง (มาตรฐานไม่เกิน 170 ppb) และ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เฉลี่ย 1 ชั่วโมง (มาตรฐานไม่เกิน 300 ppb) PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง (มาตรฐานไม่เกิน 120 มคก./ลบม.) อยู่ในเกณฑ์ดีมาก

อย่างไรก็ตาม หลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จะมีปัญหาหมอกควันในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งของภูมิภาคอาเซียนตอนล่าง มีโอกาสเกิดไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุ ทั้งป่าพรุภายในประเทศ และป่าพรุบริเวณเกาะสุมาตรา และสถานการณ์ไฟป่าดังกล่าว อาจก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันส่งผลกระทบต่อพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนตอนล่าง

โดยสาเหตุหลักของการเกิดไฟป่าในพื้นที่พรุ เนื่องจากมีการสะสมของ กิ่งไม้ ใบไม้ เชื้อเพลิง และในป่าพรุเป็นบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ทำให้อินทรียวัตถุย่อยสลายได้ช้า เกิดการทับถมจนเป็นชั้นหนา และเมื่ออากาศแห้งแล้งจัดจนระดับน้ำที่ขังในพื้นที่พรุลดต่ำลงกว่าระดับน้ำผิวดิน อินทรียวัตถุดังกล่าวก็จะกลายเป็นเชื้อเพลิงปริมาณมาก

เมื่อเกิดไฟในพื้นที่จะลุกลามได้ง่าย ทั้งไฟที่เกิดบนผิวดินและไฟที่ลุกลามใต้ดิน ซึ่งยากต่อการเข้าควบคุมไฟในพื้นที่ ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งหากกระแสลมดังกล่าวพัดผ่านจุดความร้อนและกลุ่มควันในอนุภูมิภาคอาเซียนตอนล่าง พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยจะมีโอกาสได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันข้ามแดน ซึ่งจะได้รับผลกระทบเป็นระยะสั้น เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้มีการหมุนเวียนของอากาศได้ดี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo