World News

จีนไฟเขียวใช้งานฉุกเฉิน ‘วัคซีนโควิด-19’ ตัวที่ 4 ผลิตจาก ‘รังไข่หนูแฮมสเตอร์’

จีนไฟเขียวใช้งานฉุกเฉิน “วัคซีนโควิด-19” ตัวที่ 4 ของประเทศ ผลิตจาก “เซลล์รังไข่หนูแฮมสเตอร์” ข้อดีต้นทุนถูก ขนส่งสะดวก

สถาบันจุลชีววิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (CAS) เปิดเผยว่าจีนได้อนุมัติการใช้งานกรณีฉุกเฉินแก่วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดหน่วยย่อยโปรตีนลูกผสม (recombinant protein subunit) ที่พัฒนาขึ้นเองภายในประเทศ

อนุมัติ วัคซีนฉุกเฉิน จีน หนูแฮมสเตอร์

วัคซีนนี้ที่ผลิตจากเซลล์รังไข่ของหนูแฮมสเตอร์ (CHO Cells) เสร็จสิ้นการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 เมื่อเดือนตุลาคม 2563 โดยได้ผลลัพธ์ที่สนับสนุนว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกัน และไม่มีรายงานกรณีอาการไม่พึงประสงค์ขั้นรุนแรงแต่อย่างใด

แถลงการณ์จากสถาบันฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายหลักของวัคซีนชนิดหน่วยย่อยโปรตีนลูกผสม กล่าวว่าระดับแอนติบอดีฤทธิ์ลบล้างที่เกิดจากวัคซีนดังกล่าวเทียบได้กับวัคซีนชนิดโปรตีนลูกผสม (recombinant protein vaccines) และวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA vaccines ) ตัวอื่นของโลก

คณะนักวิจัยดำเนินการทดลองระยะที่ 3 ในจีน อุซเบกิสถาน ปากีสถาน เอกวาดอร์ และอินโดนีเซียตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 โดยวางแผนรับสมัครอาสาสมัครวัยผู้ใหญ่ถึง 29,000 คน

อุซเบกิสถานอนุมัติการใช้งานวัคซีนดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ส่วนจีนอนุมัติการใช้งานกรณีฉุกเฉินแก่วัคซีนนี้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564

shutterstock 1646049727 e1610467377820

ทั้งนี้ สถาบันฯ ระบุว่าวัคซีนหน่วยย่อยโปรตีนลูกผสมไม่จำเป็นต้องถูกผลิตในห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพมาตรฐานสูง โดยสามารถผลิตในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว ทั้งประหยัดต้นทุน ทั้งจัดเก็บและขนส่งได้สะดวกกว่า

วัคซีนดังกล่าวเป็นผลงานการพัฒนาร่วมระหว่างสถาบันฯ และบริษัท อันฮุย จื้อเฟย หลงเคอหม่า ไบโอฟาร์มาซูติคัล จำกัด (Anhui Zhifei Longcom Biopharmaceutical) ผู้ผลิตวัคซีนสัญชาติจีน โดยจัดเป็นวัคซีนหน่วยย่อยโปรตีนลูกผสมตัวแรกของโลกที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการวิจัยทางคลินิก และเป็นวัคซีนโรคโควิด-19 ชนิดที่ 4 ที่ได้รับการอนุมัติใช้งานกรณีฉุกเฉินในจีน

ที่มาสำนักข่าวซินหัว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo