Business

EEC ไฟเขียว ‘กัลฟ์ – ปตท.’ ชนะประมูลท่าเรือแหลมฉบัง ยื่นผลตอนแทน 2.9 หมื่นล้าน

บอร์ด EEC ไฟเขียว “กัลฟ์ – ปตท.” ชนะประมูล “ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3” ด้วยผลตอบแทน 2.9 หมื่นล้าน ตั้งเป้าลงนามปิดดีลภายใน 3 เดือน

 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) วันนี้ (1 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบราคาประมูล โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ส่วนท่าเรือ F ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตามที่ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้ทำการเจรจาต่อรองผลตอบแทนกับกลุ่ม GPC

กัลฟ์ ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3

สำหรับกลุ่ม GPC ที่ชนะการประมูล ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF, บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (PTT TANK) ในเครือ ปตท. และ บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด  

โดยเอกชนเสนอผลตอบแทนอยู่ที่ 29,050 ล้านบาท ลดลง 9.85% จากราคากลางที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติอยู่ที่ 32,225 ล้านบาท แต่ถือว่าผ่านหลักเกณฑ์ตามระเบียบ โดยสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้ เนื่องจากต่ำกว่าราคากลางไม่เกิน 10%

หลังจากนี้ เลขาธิการ EEC จะเสนอผลประมูลให้ ครม. พิจารณาอนุมัติ และคาดว่าจะสามารถลงนามสัญญากับเอกชนได้ภายใน 3 เดือน

 

ขอสนับสนุนลงทุน “EEC” 2 แสนล้าน

นายอนุชา บรูพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กพอ. ได้เป็นประธานการประชุม กพอ. ครั้งที่ 1/2564 ในวันนี้

โดยภาพรวมการขอรับส่งเสริมการลงทุนใน EEC ในปี 2563 ที่ผ่านมา มีทั้งสิ้น 453 โครงการ มูลค่าการลงทุน 2.08 แสนล้านบาท คิดเป็น 43% ของการขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งประเทศ

ขณะที่โครงเมกะโปรเจ็คในพื้นที่ EEC ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 ก็มีความก้าวหน้าในขั้นตอนการเตรียมพื้นที่โครงการ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน งานรื้อย้ายสาธารณูปโภค เร็วกว่าเป้าหมาย

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า EEC มีความก้าวหน้า มีผลปรากฏออกมาเป็นรูปธรรม แม้ว่าจะมีสถานการณ์โควิด – 19 ขณะนี้มีการลงทุนในด้านต่าง ๆ กว่า 50% วันนี้มีประเทศญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์และอีกหลายประเทศกำลังสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอีกด้วย ทั้งอุตสาหกรรม ดิจิตอล 5G ที่ไทยทำได้เร็วกว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน โดยมีการลงทุนในโครงสร้างและมีการใช้งานแล้วในอำเภอบ้านฉาง รวมทั้งเตรียมพร้อมระบบคลาวน์ (Cloud) และระบบต่าง ๆ สำหรับภาคอุตสาหกรรม ได้มีการใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ด้วย เพื่อลดภาระต้นทุน สนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขัน

shutterstock 299504090 e1606378002528

สำหรับการประชุมวันนี้ ยังได้รับทราบความคืบหน้า โครงการ EFC ขับเคลื่อนห้องเย็นทันสมัย ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีห้องเย็นที่ทันสมัยสำหรับผลไม้ อาทิ ทุเรียน และอาหารทะเล โดยตั้งเป้าสร้างรายได้ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้น 20 – 30% สร้างรายได้ดีต่อเนื่องให้เกษตรกร รวมทั้งความก้าวหน้า พัฒนา 5G ใน EEC ก้าวสู่เศรษฐกิจสังคมดิจิทัลเต็มรูปแบบ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านสัญญาณ ด้านข้อมูลกลาง จะสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูล (Data Center)

รวมทั้งการผลักดันให้บ้านฉางเป็นต้นแบบชุมชนอนาคต (Smart city) ทั้งการใช้เทคโนโลยี 5G ดิจิทัลเพื่อการเกษตรอัจฉริยะ และการดูแลสุขภาพชุมชน  ร่วมมือพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) แหลมฉบังด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo