Videos

‘นพ.วิชัย โชควิวัฒน’ ไขข้อสงสัย ‘วัคซีนโควิด-19’ กุญแจคลายวิกฤติไวรัส

เปิดบทสัมภาษณ์พิเศษ “นพ.วิชัย โชควิวัฒน” อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ถึง ความสำคัญ และความเห็นต่อ วัคซีนของจีน รวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัคซีน และการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 

วัคซีนจีนตัวนี้ปลอดภัยหรือไม่

วัคซีนซิโนแวค เป็นวัคซีนชนิดเนื้อตาย ผลิตด้วยวิธีการแบบดั้งเดิมที่ทำกันมานานราว 70-80 ปี จึงค่อนข้างปลอดภัย อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนตัวใดที่สามารถพิสูจน์และยืนยันการป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ เพราะข้อมูลความปลอดภัยนั้นต้องได้จากการวัดผลระยะที่ 3 ข้อมูลของซิโนแวคที่มีตอนนี้เป็นของผู้มีอายุ 18-59 ปี

แม้ไทยจะสามารถคุมการระบาดได้ค่อนข้างดี ในตอนที่ไม่มีวัคซีน แต่โดยรวมแล้ว เรามองว่าวัคซีนจะช่วยสร้างความมั่นใจมากขึ้น

แน่นอนว่า เราต้องการวัคซีนที่ปลอดภัย กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี หรือถ้าป่วยก็ช่วยลดอาการป่วยรุนแรงได้ ซึ่งนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้เดินทางไปรับวัคซีนนี้ด้วยตัวเองที่สนามบินสุวรรณภูมิ และประกาศว่าพร้อมที่จะฉีด แต่เนื่องจากท่านอายุเกิน 60 ปีแล้ว การฉีดวัคซีนนี้จึงจัดว่าอยู่นอกกรอบความปลอดภัย

get 3

วัคซีนซิโนแวคที่มาในช่วงเวลานี้ มีความสำคัญต่อประเทศไทยอย่างไร

เดิมทีในช่วงแรกที่โรคโควิด-19 ระบาด นพ.แอนโธนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐฯ และองค์การอนามัยโลกระบุว่า การคิดค้นวัคซีนนั้นอย่างเร็วที่สุด คือ ประมาณ 1 ปีครึ่ง – 2 ปี ซึ่งคาดว่ากลางปี หรือปลายปีนี้ถึงจะได้

แต่เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง เพราะเพียงเดือนพฤศจิกายน ก็มีการประกาศความสำเร็จของวัคซีนแล้ว แม้จะเป็นการวิเคราะห์ระหว่างทาง ในขณะที่การวิจัยระยะที่ 3 จะยังไม่เสร็จสิ้นก็ตาม และน่ายินดียิ่งขึ้น ที่วัคซีนตัวแรก ๆ นั้นสามารถป้องกันได้ถึง 90% เพราะปกติป้องกันได้ 50% ก็ใช้ได้แล้ว

ตอนนี้ทั่วโลกล้วนต้องการวัคซีน แต่ที่มีออกมานั้นยังไม่ถึง 2,000 ล้านโดส เดิมทีไทยจะได้วัคซีนของแอสตราเซเนกา แต่เกิดปัญหาด้านการผลิต โชคดีที่ไทยสามารถเจรจากับซิโนแวค และตกลงกันได้เราจึงได้รับวัคซีนนี้ในเดือนกุมภาพันธ์

วัคซีนชนิดเชื้อตายออกฤทธิ์อย่างไร และจุดเด่นคืออะไร

วัคซีนทุกชนิดช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน วัคซีนเชื้อตายเป็นการนำส่วนของเชื้อทั้งตัวมาทำให้ตาย ดังนั้นจึงเป็นวัคซีนที่ค่อนข้างปลอดภัยที่ยอมรับได้ในอดีต

แต่ต่อมามีวัคซีนใหม่ออกมาคือไฟเซอร์ และโมเดอร์นา ซึ่งเป็นวัคซีนที่ใช้ Messenger RNA แล้วปรากฏว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากกว่าประมาณ 4-5 เท่า อัตราการป้องกันการเกิดโรคจึงสูงกว่า แต่ผลระยะยาวนั้นยังไม่รู้ ซิโนแวคกระตุ้นภูมิคุ้มกันสู้ Messenger RNA ไม่ได้ แต่ในระยะยาวปลอดภัยกว่า ค่อนข้างสบายใจกว่า

ข้อเท็จจริงต้องดูจากการทดสอบในระยะที่ 3 แต่ของซิโนแวคไม่สามารถทำในจีนได้ เพราะต้องทำในพื้นที่ที่มีการระบาด แต่จีนคุมการระบาดได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งการทดลองในต่างประเทศมีขั้นตอนมากมาย ที่สำคัญและเข้มงวดมากคือการขออนุญาตด้านจริยธรรม

ดังนั้นเมื่อเทียบกับวัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นาที่ทำในประเทศของตัวเอง ซึ่งยังมีการระบาดอย่างกว้างขวางแล้วผลการวิจัย การควบคุณภาพคุมต่างๆ ของวัคซีนซิโนแวคอาจจะยังช้ากว่า แต่เชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้จะออกมาเรื่อย ๆ

ไทยควรฉีดวัคซีนให้ประชากรในสัดส่วนใด จึงจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้

ตามหลักแล้ว ภูมิคุ้มกันหมู่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชากรทั่วประเทศหรือทั่วโลกได้รับวัคซีนอย่างน้อย 60-70% จากนั้นการติดเชื้อและการระบาดก็จะชะลอตัวลง อย่างไรก็ดีต้องดูว่าการชะลอตัวลงนั้นมีปัจจัยอะไรบ้าง อย่างในสหรัฐฯ ผมเชื่อว่าการเปลี่ยนประธานาธิบดีเป็นปัจจัยหนึ่ง เพราะประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศให้ประชาชนใช้หน้ากากอนามัยตั้งแต่วันแรกที่รับตำแหน่ง ข้อบังคับเช่นนี้เป็นส่วนสำคัญในการลดผู้ติดเชื้อ

ในประเทศไทยวัคซีนจะทยอยมาเรื่อยๆ อันดับแรกจะใช้เพื่อปกป้องชีวิตของคนที่ติดเชื้อและผู้สูงอายุก่อน อันดับที่สองคือปกป้องระบบสาธารณสุข ได้แก่บุคคลที่ทำงานด่านหน้าที่มีโอกาสสัมผัสโรคนี้ ต่อไปจึงเป็นการฉีดเพื่อฟื้นชีวิตความเป็นอยู่ให้กลับมาเป็นปกติ ตลอดจนคุ้มครองเศรษฐกิจ

เหตุใดจึงสามารถคิดค้นวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว

อย่างแรกผมขอให้เครดิตกับประเทศจีนที่สามารถตรวจพบการระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยแพทย์หญิงจีนที่อู่ฮั่น สามารถตั้งข้อสังเกต จนนำไปสู่การพบผู้ป่วยรายแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2562 ละมีการประกาศพบโรคปอดบวมลึกลับในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ซึ่งถือว่ามีความรวดเร็ว

ความสำเร็จขั้นต่อไปคือ จีนสามารถบอกได้ว่าเชื้อต้นเหตุคืออะไร นี่คือความสำเร็จของการพัฒนาสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น ซึ่งพัฒนาขึ้นจากบทเรียนเมื่อครั้งโรคซาร์ส (SARS) ระบาด และพัฒนาห้องแล็บชีวนิรภัยระดับ 4 หรือระดับสูงสุด ถ้าห้องแล็บไม่เจริญก้าวหน้าพอจะตรวจได้แต่เชื้อเก่าๆ เนื่องจากมีเชื้อที่ไม่รู้จักจำนวนมาก

สถาบันฯ สามารถระบุได้ว่าเชื้อโรคตัวนี้เป็นเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่และเรียกมันว่า “โนเวล โคโรนาไวรัส” (novel coronavirus) ต่อมาองค์การอนามัยโลกเปลี่ยนชื่อเป็น “ซาร์สโควี-2” (SARS-CoV-2) เนื่องจากใกล้เคียงกับเชื้อซาร์สมาก และเพียงแค่วันที่ 7 มกราคม 2563 จีนก็ถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสตัวนี้ที่มีโปรตีนเกือบ 30,000 ตัวได้

จีนประกาศรหัสพันธุกรรมนี้ต่อชาวโลก และธนาคารพันธุกรรมโลกเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563 นี่คือจุดตั้งต้นที่ทำให้ห้องแล็บทั่วโลกเร่งพัฒนาน้ำยาตรวจเชื้อ ยารักษาโรค และวัคซีน

การพัฒนาวัคซีนมีขั้นตอนหลัก ๆ 3 ขั้น เริ่มจากวิจัยในห้องทดลอง โดยสร้างคอนเซ็ปต์ขึ้นมาก่อน แล้วจึงผลิตวัคซีนขึ้นมา หลังได้ผลทดสอบในห้องทดลองแล้วจึงเริ่มในสัตว์ทดลอง ที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น หนู เมื่อพบว่ามันกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ จึงมาทดลองกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ขึ้นอย่างลิง

จากนั้นจึงตัดสินใจเอาข้อมูลทั้งหมดเข้าสู่คน ซึ่งการทดลองในมนุษย์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ประมาณ 56 วัน เริ่มครั้งแรกในเดือนมีนาคม ไม่เคยมีวัคซีนตัวไหนในโลกที่นำมาใช้ทดลองกับคนได้เร็วเท่านี้ ถือว่าเร็วที่สุด

เพราะว่าโรคนี้เป็นมหันตภัยของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามเร่งรัด รวบรวมข้อมูลและรีบนำเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอย่างเต็มที่ ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดผลการวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ ผู้นำประเทศ องค์ระหว่างประเทศ องค์การอนามัยโรค ได้ร่วมมือกันผลิตวัคซีน และพยายามกระจายไปทั่วโลกโดยเร็วที่สุด ซึ่งถือเป็นความร่วมมือที่น่าชื่นชม

shutterstock 1700503234

ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้เองโดยไม่ต้องทำอะไรเลยใช่หรือไม่

ผิด 100% เพราะการที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันมี 2 วิธี คือติดเชื้อกับฉีดวัคซีน การติดเชื้อเป็นวิธีที่เสี่ยงเพราะเราไม่รู้ว่าติดเชื้อแล้วอาการจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน อาจจะถึงเสียชีวิตได้ วัคซีนจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญ

การปล่อยให้คนติดเชื้อเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติและโรคก็จะหายไปเอง ในความจริงไม่ใช่เช่นนั้น เพราะมันเป็นเชื้อตัวใหม่ หากร่างกายไม่รู้จักก็จะเกิดอาการป่วยอย่างรุนแรงหรือถึงขั้นเสียชีวิต

ดังนั้นหากบอกว่าไม่ใช้วัคซีนแต่ป้องกันอย่างเคร่งครัด เช่น การรักษาระยะห่างทางสังคมก็อาจเป็นวิธีหนึ่ง แต่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เราอยากกอดสัมผัสลูกหลาน มนุษย์จะโหยหากัน ดังนั้นวัคซีนยิ่งเยอะยิ่งกระจายเร็วยิ่งดี แต่ต้องยอมรับว่าครึ่งปีแรกนี้วัคซีนยังมีน้อยและกระจายได้ไม่ทั่วถึง จึงต้องฉีดตามลำดับความสำคัญ

 คิดว่าโรคนี้จะยุติด้วยวิธีไหน

วัคซีนเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญหากปลอดภัยได้ผลและฉีดอย่างทั่วถึง ถึงแม้เชื้อไวรัสจะมีการกลายพันธุ์ แต่เป็นเรื่องดีที่ไวรัสตัวนี้กลายพันธุ์ได้ช้ากว่าไข้หวัดใหญ่ถึง 5 เท่า และเนื้องจากเชื้อโรคนั้นกลายพันธุ์อยู่ตลอด เช่น ไข้หวัดใหญ่ (H1N1) เมื่อปี 2552  ที่ยังคงระบาดประปรายตามไข้หวัดใหญ่ฤดูกาล วัคซีนจึงมีความจำเป็น

การกลายพันธุ์ของเชื้อโรคเป็นไปได้ 2 ทาง คือ ก่อให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น ระบาดรุนแรงขึ้น หรือทำให้การติดเชื้อน้อยลง ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้ แต่แน่นอนว่ามันไม่หายไป เมื่อเชื้อโรคแพร่เข้าสู่มนุษย์จะเป็นไปได้ 3 ทาง อย่างแรกอาจรุนแรงมากขึ้น อย่างที่สองอาจจะอ่อนลง และสุดท้ายอาจสูญหายไปเลย แต่ส่วนใหญ่เชื้อจะลดความรุนแรงลง เพราะเชื้อมีการปรับตัว ขณะเดียวกันมนุษย์เองก็มีความต้านทานต่อเชื้อโรค ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ

S 137486342

ความแตกต่างระหว่างวัคซีนของยุโรปและจีนเมื่อนำมาใช้งานในไทย

นอกจากเรื่องเทคนิคในการผลิตแล้ว สิ่งที่เราต้องคำนึง คือ วัคซีนแต่ละชนิดเก็บรักษาอย่างไร อย่างของไฟเซอร์ต้อง -70 องศาเซลเซียส โมเดอร์นา -20 แอสตราเซเนกา และซิโนแวคอยู่ที่ 2-8 ซึ่งเป็นอุณภูมิตู้เย็นทั่วไป เรียกว่าสะดวกในการขนส่ง แต่ถ้าเป็นของไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา เราก็ต้องหาวิธีขนส่งและวิธีจัดการ

สุดท้ายคือเรื่องราคา แน่นอนว่าถ้าถูกย่อมดี ขณะนี้ราคาถูกสุดคือแอสตราเซเนกาที่ 4 เหรียญเท่านั้น ประเทศไทยตั้งความหวังกับวัคซีนตัวนี้เพราะเรามีโรงงานที่จะรับเทคโนโลยีการถ่ายทอดมาผลิตเอง เนื่องจากวัคซีนโรคนี้ยังต้องใช้ไปอีกนาน

มีข่าวว่าแอสตราเซเนกาไม่สามารถป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ ที่พบในแอฟริกาใต้ได้ คิดว่าอย่างไร

เชื้อมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา แต่กลายพันธุ์ไม่เท่าไข้หวัดใหญ่ ข่าวนี้ยังคงต้องติดตามต่อไปว่าจริงหรือไม่ หากเป็นจริง เทคโนโลยีจะสามารถบอกได้ว่ากลายพันธุ์ตำแหน่งไหน พอรู้ตำแหน่งแล้วก็จะสร้างวัคซีนที่เหมาะกับเชื้อที่กลายพันธุ์ขึ้นมา ซึ่งราคาก็ย่อมสูงขึ้น

ปัญหานี้เป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนต้องคำนึงถึง และต้องหาวิธีแก้

ที่มา : สำนักข่าวซินหัว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo