General

เผยที่มา ฉลองพระองค์ผ้าไหมมัดหมี่ ‘พระราชินี’ ทรงสวมใส่เสด็จเจิมเทียนรุ่งวันมาฆบูชา

เปิดที่มา “ฉลองพระองค์ผ้าไหมมัดหมี่” สมเด็จพระราชินี ทรงสวม ร่วมพิธีเจิมเทียนรุ่ง เนื่องในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชา

เฟซบุ๊กเพจ “We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี” ได้โพสต์ภาพ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงร่วมพิธีเจิมเทียนรุ่ง เนื่องในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชา พุทธศักราช 2564 โดยระบุว่า ฉลองพระองค์ผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายขอก่าย (ก่าย ภาษาอีสาน หมายถึง พาดหรือทับข้างบน)

64K16 42

มัดหมี่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า tie – and – dye ซึ่งแปลว่ามัดและย้อม แต่มักนิยมเรียกว่า ikat ซึ่งเป็น คำภาษาชวา-ฉลองพระองค์ผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายขอก่าย หมายทางหัตถกรรมเป็นการทอผ้ามัดหมี่ และภาษาอินเดียเรียกมัดหมี่ว่า พันธนะ ซึ่งก็แปลว่า ผูกมัด เช่นเดียวกัน

“มัดหมี่” การมัดย้อมด้าย หรือเส้นไหมให้เกิดสี และลวดลาย แล้วจึงนำไปทอเป็นผ้า แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ มัดหมี่เส้นพุ่ง มัดหมี่เส้นยืน และมัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน ลักษณะเฉพาะของผ้ามัดหมี่ คือ รอยซึมของสี ที่วิ่งไปตามบริเวณของลวดลาย ไม่ถูกมัดโดยเชือกหรือวัสดุที่ติดสี และการเหลื่อมล้ำในตำแหน่งของเส้นด้าย ทำให้เกิดลักษณะลายที่คลาดเคลื่อนต่างจากการทอผ้าชนิดอื่นๆ

ผ้ามัดหมี่ที่มีชื่อเสียงเรื่องความงามของเส้นไหมและลวดลายที่มีอิทธิพลมาจากเขมร ได้แก่ ผ้าไหม จังหวัดสุรินทร์ ผ้ามัดหมี่ไทครั่ง ของอุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร สุพรรณบุรี นิยมใช้สีแดงครั่ง ทอด้วยเส้นไหม ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะกลุ่ม บางผืนทอสลับเทคนิค เช่น ทอมัดหมี่คั่นด้วยลายขิด ต่อเชิงลายจก เป็นเทคนิคที่นิยมในหมู่ชาวเขา ชาวไทลื้อ เมืองน่าน เรียกว่า “มัดก่าน” หรือ “คาดก่าน”

มัดหมี่ลวด หรือ หมี่ลวด เป็นเทคนิคการวนเส้นไหมก่อนนำมามัด ซึ่งการมัดหมี่ลวด สันนิษฐานจากการกร่อนคำ คือคำว่ามัดหมี่ “ลวดเดี๋ยว” เหลือเป็น “มัดหมี่ลวด” ส่วนชื่อเรียกอีกอย่างสำหรับหมี่ลวด คือ หมี่ล่วง เป็นการเรียกชื่อผ้าลวดอีกกลุ่ม เพื่อให้แตกต่างกันในกลุ่มหมี่ลวด หมี่ล่วง จะเป็นการทอหมี่ลวด แต่เพิ่มตาขั้นลงไป ขั้นหมี่แต่ละลำเพียงหนึ่งสอดเท่านั้น เพื่อให้ลายหมี่ที่มัดในแต่ละลำสวยงาม และชัดเจนมากขึ้น โดยตาสอดนั้นไม่ได้ไปทำลายหรือเด่น จนทำให้ลวดลายหมี่ลวด ดูด้อยลงไปและไม่ทำให้ลวดลายหมี่ลวดแยกกันในผืนผ้า

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo