COVID-19

จุฬาฯ เล็งทดสอบวัคซีนโควิด ‘ChulaCov19’ ในอาสาสมัคร พ.ค.นี้

จุฬาฯ ประกาศข่าวดี เตรียมทดสอบ วัคซีนโควิด-19 ในอาสาสมัคร ต้นเดือนพฤษภาคมนี้ อนุทิน ชี้วัคซีนฝีมือคนไทย ความหวังประเทศ 

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแถลงข่าว ความก้าวหน้าล่าสุด ของการพัฒนาวัคซีน “ChulaCov19” โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมแถลงข่าว

วัคซีนโควิดรพ 0.สนาม ๒๑๐๒๑๘

 

นายอนุทิน กล่าวว่า โครงการพัฒนาวัคซีนโควิด ChulaCov19 ถือเป็นความหวังของประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมา ตนและกระทรวงสาธารณสุข พร้อมสนับสนุนโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของจุฬาฯ ในทุกวิถีทาง เพราะต้องการจะให้การพัฒนาวัคซีนชนิดนี้ ประสบความสำเร็จโดยเร็วที่สุด

การพัฒนาวัคซีนได้เองในประเทศ จะช่วยให้คนไทยปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเพื่อส่งเสริมฐานที่แข็งแกร่งของระบบสาธารณสุขของประเทศ ให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น และลดการพึ่งพาวัคซีนจากต่างประเทศ

59493
อนุทิน ชาญวีรกูล

ที่สำคัญ นี่คือเครื่องพิสูจน์ ว่า ไทยไม่ได้แทงม้าแค่ตัวเดียว แต่เราพยายามทำทุกทางอย่างเหมาะสม เพื่อให้ไทย ได้วัคซีนโควิด-19 ได้เร็วที่สุด และต้องปลอดภัยที่สุด กระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญกับเรื่องวัคซีนมาก มิได้เพิกเฉย เหมือนที่ฝ่ายการเมืองนำมาวิพากษ์วิจารณ์

ทั้งนี้ ตั้งแต่ได้ยินคำว่าโควิด-19 ครั้งแรก ก็นึกถึงในหัวคือ วัคซีน จะต้องหามาให้ได้ และเชื่อมั่นในศักยภาพของระบบการแพทย์ไทยว่า วันหนึ่ง ไทยจะประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนในประเทศ ไทยต้องยืนบนขาตัวเอง ไม่แทงม้าตัวเดียว แต่เราจะเป็นเจ้าของคอกม้า

59497

ที่ผ่านมาประเทศไทย พยายามปรับใช้ประสบการณ์ เพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาด ณ ปัจจุบัน ปัจจุบัน ไทยมีความสามารถในการผลิตอุปกรณ์ป้องกันได้เอง อาทิ หน้ากากอนามัย ชุดป้องกันส่วนบุคคล(PPE) รวมถึงยารักษาด้วย ปัจจุบัน ไทยมีวัคซีนโควิด-19 ในมือแล้ว 63 ล้านโดส และในอนาคต หวังว่าจะมีวัคซีนที่ผลิตในประเทศ

ด้าน ศ.นพ.สุทธิพงศ์ กล่าวว่า หลังจากมีการนำวัคซีน ChulaCov19 ทดสอบวัคซีนในลิงเข็มที่ 2 พบว่า ลิงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง สุขภาพดี ทำให้มีความพร้อมจะเดินหน้าทดสอบวัคซีน ในอาสาสมัคร

59480

ล่าสุด โรงพยาบาล และศูนย์วิจัยวัคซีน จุฬาฯ ได้จัดเตรียมความพร้อมของสถานที่ รวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ เพื่อรองรับการทดสอบในอาสาสมัคร อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยอย่างสูงสุด เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจในความปลอดภัยของการทดสอบฉีดวัคซีนครั้งนี้

สำหรับการทดสอบวัคซีน ChulaCov19 คาดว่าจะเริ่มได้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมนี้ โดยเฟสแรก จะทำการทดสอบที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 72 คน และเฟส 2 ทดสอบที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมหาวิทยาลัยมหิดล 300-600 คน

59483

ทั้งนี้ วัคซีน ChulaCov19 เป็นวัคซีนชนิด mRNA ผลิตโดยสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋ว จากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดเชื้อ และเมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วน ของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้เข้าไป จะทำการสร้างโปรตีน ที่เป็นส่วนปุ่มหนามของไวรัส และกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน โดยหลังจากฉีดไม่กี่วัน mRNA นี้ จะถูกสลายไปโดย ไม่มีการสะสมในร่างกาย

จากการทดลองพบว่า วัคซีน ChulaCov19 สามารถป้องกันโควิด-19 และลดจำนวนเชื้อ ในหนูทดลอง ที่ติดเชื้อโควิด-19 ได้ โดยสามารถเก็บในอุณหภูมิในตู้เย็น อุณหภูมิปกติ 2-8 องศาเซลเซียลได้ อย่างน้อย 1 เดือน และในอนาคต เตรียมพัฒนารุ่น 2 เพื่อทดสอบในหนูทดลอง เพื่อรองรับเชื้อวัคซีนดื้อยาในอนาคต

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo