COVID-19

สธ.แท็กทีม แจงประเด็นร้อนวัคซีน ทั้งราคา เงื่อนไข การฉีด ยันไม่ล่าช้า ไม่เสียประโยชน์

แจงประเด็นร้อนวัคซีน สธ.แท็กทีม หลังฝ่ายค้านตั้งกระทูถามกลางสภา เคลียร์ทุกประเด็น โดยเฉพาะการจัดซื้อจากแอนตราเซเนกา ยันไม่ล่าช้า ไม่เสียประโยชน์

หลังจาก นายวิโรจน์ ลักขณาอิศร ส.ส.พรรคก้าวไกล เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข โดยเฉพาะการจัดหาวัคซีน COVID-19 ที่ล่าช้าและกระจุกตัว สธ.ออกมา แจงประเด็นร้อนวัคซีน โดยจัดแถลงข่าวที่ รัฐสภา

แจงประเด็นร้อนวัคซีน

ในช่วงเวลา 15.00 น. ผู้บริหาร กระทรวงสาธารณสุข นำโดย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงชี้แจงประเด็นวัคซีน ร่วมกับ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ดังนี้

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยต่อสู้กับโควิดมาปีเศษ สามารถควบคุมการแพร่กระจายเชื้อได้ดี แม้ในการระบาดระลอก 2 จะช้าไปบ้าง แต่ก็ถือว่าควบคุมได้ดี ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปคือ การใช้วัคซีน

ทั้งนี้ สธ. วางเป้าหมายใช้วัคซีนเพื่อป้องกันให้เกิด ภูมิคุ้มกันระดับประเทศ จึงต้องเน้นความครอบคลุม โดยมีการเตรียมการให้ครอบคลุุม และรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งจำนวน 63 ล้านโดส ที่ประเทศไทยสั่งซื้อ ถือว่าสูงที่สุด จากปกติไทยฉีดวัคซีนปีละ 10 ล้านโดส โดย 63 ล้านโดส วางเป้าหมายฉีดเสร็จภายในปี 2564 grnjvให้เกิดภูมิคุ้มกันระดับประเทศ

“ถ้าไม่มีภูมคุ้มกันระดับประเทศ เราก็เปิดประเทศไม่ได้ ซึ่งตอนนี้ เรามีวัคซีนในมือ และเตรียมการฉีดพร้อมแล้ว”นพ.เกียรติภูมิ กล่าว

ด้าน นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า การเตรียมการเรื่องวัคซีน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน โดยวางแผนงานไว้ 3 รูปแบบ คือ การสนับสนุนการวิจัยในประเทศ, การทำความร่วมมือกับต่างประะเทศ ในการวิจัยร่วมกัน และการจัดหาวัคซีนโดยตรง

1 21

สิ่งสำคัญที่ประเทศไทยวางเป้าหมายไว้ คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เนื่องจากจะตอบโจทย์ทั้งการระบาดในปัจจุบัน และความสามารถรับมือในอนาคต

จากนั้น ช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. แอสตราเซเนกา เริ่มหาผู้ผลิตวัคซีนแบบไวรัล เวกเตอร์ และพบว่า สยามไบโอไซเอนซ์ มีความเหมาะสม ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต จึงเจรจาจองซื้อ ภายใต้เงื่อนไขที่ทางแอสตราเซเนกา จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทย จึงเป็นการจองที่ไม่ธรรมดา เพราะได้ทั้งศักยภาพการผลิตวัคซีนระดับโลกมาอยูในประเทศ ซึ่งจะอยู่กับรัฐ หรือเอกชนไม่สำคัญ สำคัญ คือ อยู่ในประเทศไทย

นอกจากนี้ ทางแอสตราเซเนกา ยังมีจดหมายยืนยันว่า เชื่อมั่นในศักยภาพของบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ที่ผ่านการประเมินอย่างเข้มข้น ด้านมาตรฐาน และความสามารถในการผลิต จากการเสนอของ 60 บริษัททั่วโลก พร้อมทั้งเริ่มถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้สยามไบโอไซเอนซ์ตั้งแต่เดือนตุลาคม ที่ผ่านมา ภายใต้เงื่อนไขการผลิตเพื่ออาเซียน

“การจองซื้อวัคซีนทุกเจ้า ต้องจ่ายเงินบางส่วน เป็นค่าจอง แต่ความต่างคือ แอสตราเซเนกา เงินที่จ่ายจองเป็นส่วนหนึ่งของค่าวัคซีน แต่ของคนอื่น จะแจ้งเป็นค่าบริหารจัดการ ไม่ใช่ค่าวัคซีน ส่วนราคาขึ้นอยู่กับผู้ผลิตกำหนด ซึ่งการอภิปรายในสภา ข้อมูลไม่ครบถ้วนจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้”นพ.นคร กล่าว

ส่วนข่าวที่ระบุว่า มีบริษัทวัคซีนของอินเดีย มาเสนอขายทำไมประเทศไทยไม่ซื้อนั้น ไม่เป็นความจริง โดยความเป็นจริง คือ เป็นการทำความร่วมมือ ในการแลกเปลี่ยนวิจัยวัคซีนกับบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่บริษัทเดียวกันกับที่เป็นข่าว

“ขอให้มั่นใจศักยภาพคนไทย ที่ไม่แพ้ใครในโลก เราไม่จำเป็นต้องมีวัคซีนหลายชนิด แต่ขอให้มีวัคซีนที่มีจำนวนมากพอ ครอบคลุมประชากร จัดบริการฉีดวัคซีนได้คุณภาพ”นพ.นคร กล่าว

ขณะที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า เป้าหมายการบริหารจัดการวัคซีน คือ 1. ลดอัตราการป่วยและตาย 2. เพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ 3. เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

1วัคซีน

เป้าหมายฉีดวัคซีนนั้น เริ่มจาก 2 ล้านโดส ของซิโนแวค สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูง ในเดือน ก.พ. – เม.ย. 64 จากนั้นเมื่อมีวัคซีน 63 ล้านโดส จะดำเนินการภายใน 7 เดือน ตั้งเป้ามีโรงพยาบาลพร้อมฉีด 1,000 แห่ง สามารถฉีดได้วันละ 3 หมื่นคนต่อวัน หรือปีละ 10 ล้านคน

กรณีประเด็นราคาวัคซีนของแอสตราเซเนกา ที่ไทยซื้อแพงกว่า อียูและสหรัฐ นั้น นพ.นคร ชี้แจงว่า เนื่องจากแอสตราเซเนกา จะรวมค่าสนับสนุนการวิจัยที่ได้รับจากแต่ละประเทศ มาหักเป็นค่าวัคซีน ทำให้ราคาแต่ละประเทศไม่เท่ากัน เช่น สหรัฐ สนับสนุนการวิจัยถึง 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อหักจากราคาวัคซีน จะเหลือโดสละ 4 เหรียญดอลลาร์ เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo