Economics

ของบสร้าง ‘สะพานสามโคก’ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ จ.ปทุมธานี

ทางหลวงของบสร้าง “สะพานสามโคก” ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ แก้รถติดแนวตะวันตก-ตะวันออก จ.ปทุมธานี

กรมทางหลวง (ทล.) รายงานว่า ทล. ได้ดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบทางหลวงแนวใหม่ ระหว่างทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ด้านตะวันตก – จุดตัดทางหลวงหมายเลข 347 – จุดตัดทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ด้านตะวันออก

สะพานสามโคก ปทุมธานี

โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรและพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเดินทางระหว่างทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ด้านตะวันตก) – ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ด้านตะวันออก) ของจังหวัดปทุมธานี ตลอดจนเสริมโครงข่ายทางหลวงตามแนวสายทาง ปทุมธานี – รังสิต – อำเภอองค์รักษ์  และเป็นเส้นทางเสริมโครงข่ายการจราจรจังหวัดปทุมธานีให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

จุดเริ่มต้นของโครงการอยู่ที่ กม. 0+000 และจุดสิ้นสุดโครงการ ที่ กม.14+347 ระยะทาง 14.347 กิโลเมตร ภายใต้โครงการนี้จะมีการก่อสร้าง “สะพานสามโคก” เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ ซึ่งจะมีการออกแบบปรับภูมิทัศน์ใต้สะพานให้เป็นพื้นที่ควบคุมและบำรุงรักษาทางหลวง อีกส่วนหนึ่งให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ เช่น ลานกีฬา สวนพักผ่อน และสถานที่จัดงานตามเทศกาลต่าง ๆ โดยมูลค่าลงทุนของโครงการฯ รวม 9,590 ล้านบาท

2 6

เบื้องต้น ทล. ได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณก่อสร้างช่วงทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ด้านตะวันตก – จุดตัดทางหลวงหมายเลข 347 ก่อน ในปีงบประมาณ 2565 ภายใต้ชื่อโครงการ แยกทางหลวงหมายเลข 9 (บ.บางเตย) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 3214 (บ.พร้าว) ซึ่งโครงการช่วงนี้ได้รวมงานก่อสร้างสะพานสามโคกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่รองรับการเดินทางระหว่างด้านตะวันตกและด้านตะวันออกของจังหวัดปทุมธานี

พื้นที่สำหรับการศึกษาและออกแบบรายละเอียดของโครงการ ประกอบด้วย 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปทุมธานี, อำเภอสามโคก และอำเภอคลองหนึ่ง จำนวน 7 ตำบล คือ  ตำบลคลองควาย, ตำบลบางเตย, ตำบลสามโคก, ตำบลบ้านประทุม, ตำบลเชียงรากใหญ่, ตำบลบางพูด  และตำบลคลองหนึ่ง

สะพานสามโคก ปทุมธานี

3 5 e1613035892880

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo