COVID-19

หมอจุฬาฯ ตั้งคำถาม ทำไมไม่ใช้การ ‘ตรวจเลือด’ หาเชื้อโควิด

หมอธีระวัฒน์ ชี้วิธีตรวจเลือด หาแอนติบอดี คัดกรองผู้เชื้อโควิด สมุทรสาคร เร็วกว่า ถูกกว่าแยงจมูก 

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” ถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยการเจาะเลือด ซึ่งเร็วกว่า และค่าใช้จ่ายถูกกว่า วิธีการแยงจมูก โดยระบุว่า

นพยงธีระวัฒน์มนูญ ๒๑๐๒๑๐

ตอนนี้ใช้ตรวจเลือดหาแอนติบอดี ว่าติดเชื้อหรือไม่ที่สมุทรสาคร ตามข่าว 10/2/64

ศูนย์โรคอุบัติใหม่ของเรา ที่กาชาดเสนอตั้งแต่ มีนาคม 2563 ควรใช้การคัดกรอง และวินิจฉัยการติดเชื้อด้วยการตรวจเลือด จากวิธีมาตรฐาน (Elisa) และถ้าเลือดเป็นบวก ค่อยตรวจต่อว่า มีเชื้อปล่อยออกมาหรือไม่ ด้วยการแยงจมูก

การตรวจ ด้วยวิธีมาตรฐานนี้ มีความไว 100% และ จำเพาะ 100% ทั้งนี้ เนื่องจากใช้ recombinant protein RBD และ ACE2 ในการตรวจ IgM IgG และ ภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสได้ neutralizing antibody

การแยงจมูกหาเชื้อ ด้วยกระบวนการ PCR จะไม่พบเชื้อทั้งหมดทุกคน ถ้าแยงครั้งเดียว ดังคนป่วยหลายราย มีอาการ ปอดบวมด้วยซ้ำ แยงจมูก ไม่เจอ สองครั้งเ มาเจอครั้งที่สาม เหตุการณ์เหล่านี้ เป็นเรื่องที่รับทราบกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว

1 10

แต่ตรวจเลือด เป็นบวกตั้งแต่ตัน ข้อมูลจากการเจาะเลือด พิสูจน์แล้วและกำลังจะตีพิมพ์ใน วารสาร PlosOne

ทั้งนี้การตรวจของเราที่กาชาด สามารถบอกได้ตั้งแต่ต้น ที่มีเชื้อปล่อยออกมา ไม่ว่าจะมีอาการ หรือไม่มีก็ตาม

และการตรวจที่มีการติดเชื้อที่ในจุฬาขณะนี้ การหาเชื้อโดยแยงจมูก กับการตรวจเลือดของเราที่ศูนย์อุบัติใหม่กาชาดตรงกัน

นั่นก็คือ ทำไมไม่ใช้การตรวจเลือดในการตรวจเชิงรุก ถ้าพบว่า + ค่อยพิสูจน์ว่ามีเชื้อปล่อยหรือไม่ โดยการแยงจมูกต่อก็จบ และแน่นอน ราคาถูกกว่า

ทั้งนี้ยังไม่ได้พูดถึง rapid test ปลายนิ้ว

การตรวจเลือดมาตรฐาน 3 ชั่วโมง ยังต้องเรียนให้ทราบมาหนึ่งปีแล้ว

ตรวจ ชุดใหญ่ 3 ตัว 1000 บาท IgM IgG ราคา ถูกกว่ามาก 400 บาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo