COVID-19

บริจาคเลือด ช่วงโควิด-19 วิธีปฏิบัติตัวให้ปลอดภัย ทั้งผู้ให้-ผู้รับ

บริจาคเลือด ช่วงโควิด-19 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ แนะวิธีบริจาคโลหิตปลอดภัย หลังวิกฤติโควิด ผู้บริจาคลดฮวบ 50% โรงพยาบาลทั่วประเทศขาดแคลนเลือด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปทุกหย่อมหญ้า รวมถึงการ บริจาคเลือด ที่พบว่า โควิด-19 ก่อให้เกิดความวิตกกังวลแก่ประชาชน ทำให้จำนวนผู้บริจาคโลหิตลดลงกว่า 50% รวมทั้งหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ถูกยกเลิก

บริจาคเลือด

ทั้งนี้ ส่งผลให้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ไม่สามารถจ่ายโลหิตให้กับโรงพยาบาล ได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ ขาดแคลนเลือด และจำเป็นต้องเลื่อนการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ออกไป

สาเหตุของการขาดแคลนเลือด ได้แก่

1. ประชาชนมีความวิตกกังวลถึงความไม่ปลอดภัย

2. หน่วยงานและสถาบันการศึกษา ยกเลิกการจัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ควบคุม

3. ผู้บริจาคเลือดมีจำนวนลดลง เหลือเพียงวันละ 700-900 ยูนิต หรือ 50% ของปริมาณเลือดที่เคยได้รับบริจาคก่อนหน้านี้

4. การจ่ายเลือดให้โรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 300 แห่ง ได้เพียง 50% ทำให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ ประกาศขาดเลือดพร้อม ๆ กัน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล โดยมีภารกิจในการจัดหาโลหิตบริจาคให้มีปริมาณเพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณภาพสูง ให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศ ได้จัดทำมาตรฐาน
ความปลอดภัยในหลายมิติ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า  การรับบริจาคโลหิต มีความปลอดภัย ตั้งแต่ต้นทาง คือ “ผู้บริจาค” จนถึงปลายทาง คือ “ผู้ป่วย” รวมทั้งผู้รับบริการอื่น ๆ ด้วย

บริจาค

สำหรับมาตรการคัดกรอง ผู้บริจาคเลือด ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยขอให้ผู้บริจาคคัดกรองตนเองก่อนเดินทางมาบริจาคโลหิต ประกอบด้วย

งดบริจาคเลือด หากเข้าเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

  • มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

งดบริจาคเลือด 4 สัปดาห์ หากเข้าเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หรือเดินทางมาจากพื้นที่ ที่มีการระบาดของ โควิด-19
  • ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด กับผู้ป่วยโควิด-19
  • ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า ติดโควิด -19 นับตั้งแต่ตรวจพบเชื้อและหายป่วย
  • ผู้เดินทางไปยังสถานบันเทิง หรือสถานที่แออัด
  • อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือเป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ต้องงดบริจาคโลหิตชั่วคราวอย่างน้อย 28 วันหรือ 4 สัปดาห์

สิ่งสำคัญ คือ ต้องขอความร่วมมือจากผู้บริจาค ในการต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตนเอง ด้วยความเป็นจริง และภายใน 14 วัน

นอกจากนี้ หลังจากการบริจาคโลหิตแล้ว หากพบ   หรือได้รับการยืนยันว่าติดโรคโควิด-19 ผู้บริจาคโลหิตต้องแจ้งให้หน่วยงานที่ไปบริจาคโลหิตทราบทันที เพื่อจะได้ดำเนินการกักกัน หรือเรียกคืนส่วนประกอบโลหิตกลับมา และไม่นำไปใช้รักษาผู้ป่วยรายอื่น

ขณะที่ มาตรการทั้งหมดนี้ ครอบคลุมทั้ง ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่ง ทั่วประเทศ หน่วยเคลื่อนที่ และหน่วยเคลื่อนที่ประจำทุกแห่ง สามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร.0 2256 4300 หรือ 1664

“ในภาวะขาดแคลนโลหิตเช่นนี้ ขอให้ประชาชน และผู้บริจาคโลหิตทุกท่าน มั่นใจว่า ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ คำนึงถึงผู้บริจาค  และผู้ป่วยเป็นอันดับแรก เมื่อมาบริจาคโลหิต จะได้ไม่มีความเสี่ยงในการรับเชื้อ และไม่ส่งต่อเชื้อให้ผู้อื่น

ขณะเดียวกัน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย” ถึงการเปลี่ยนแบบฟอร์ม การบริจาคโลหิตใหม่ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป โดยระบุว่า

“ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้เปลี่ยนแบบฟอร์มบริจาคโลหิตใหม่ ทั่วประเทศ

อัพเดตข้อคัดกรองสุขภาพใหม่ ละเอียดมากขึ้น ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งเรื่องสุขภาพ การรับประทานยา ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ไม่ปลอดภัยต่อโลหิต ที่จะส่งต่อให้กับผู้ป่วย

ทั้งนี้ เพื่อให้ได้โลหิตที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัยทั้งผู้ให้  และผู้รับ

บริจาคโลหิตวิถีใหม่ สะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอน สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ได้ที่ https://bit.ly/3c4yHRX  กรอกมาจากที่บ้านได้เลย หากท่านใดไม่สะดวกปรินท์ ยังสามารถมากรอกได้ที่ จุดรับบริจาคโลหิตเหมือนเดิม”

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo