COVID-19

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจ ‘เรียนแบบไหน ห่างไกลโควิด’

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “เรียนแบบไหน ห่างไกล โควิด” กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)จำนวน 1,079 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 28 – 30 มกราคม 2564

ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ คือ จำนวนมาก หรือร้อยละ 47.8 ระบุ เรียนที่ สถาบันการศึกษา แบบเดิม เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักเรียน นักศึกษาเสี่ยงจะติดโควิด-19 ระดับมากถึงมากที่สุด รองลงมาคือ ร้อยละ 25.6 ระบุ การเรียนแบบผสมผสาน ระหว่าง ออนไลน์ กับ สลับไปโรงเรียน นักเรียนนักศึกษาเสี่ยงจะติดโควิด-19 มากถึงมากที่สุด และร้อยละ 11.7 ระบุ การเรียน ออนไลน์ ที่บ้านอย่างเดียว นักเรียน นักศึกษา เสี่ยงจะติดโควิด-19 มากถึงมากที่สุด

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกตามพื้นที่ ระหว่าง กรุงเทพมหานคร กับ สมุทรสาคร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.8 ของคนกรุงเทพมหานคร เทียบกับ ร้อยละ 36.5 ของคนสมุทรสาคร

ในขณะที่ ร้อยละ 28.8 ของคนกรุงเทพฯ เทียบกับ ร้อยละ 22.3 ของคนสมุทรสาคร ระบุ เรียนแบบผสมผสาน ระหว่าง ออนไลน์ กับสลับไปโรงเรียน นักเรียน นักศึกษาเสี่ยงจะติดโควิด-19 มากถึงมากที่สุด นอกจากนี้ ร้อยละ 14.8 ของคนกรุงเทพฯ เทียบกับ ร้อยละ 8.1 ของคนสมุทรสาคร ระบุ เรียน ออนไลน์ ที่บ้านอย่างเดียว นักเรียน นักศึกษา เสี่ยงจะติดโควิด-19 มากถึงมากที่สุด

ซุปเปอโพลล์11

 

เมื่อถามถึง รูปแบบการเรียน ปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19 มากที่สุด พบว่า จำนวนมากหรือร้อยละ 48.1 ระบุ เรียนออนไลน์ ที่บ้านอย่างเดียวห่างไกลโควิด-19 มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 24.6 ระบุ เรียนแบบผสมผสานระหว่าง ออนไลน์ กับ สลับไปโรงเรียน ห่างไกลโควิด-19 และร้อยละ 27.3 ระบุ เรียนที่สถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิม เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ห่างไกลโควิด-19

เมื่อจำแนกรายพื้นที่ระหว่าง กรุงเทพมหานคร กับ สมุทรสาคร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.3 ของคนกรุงเทพมหานคร เทียบกับ ร้อยละ 39.3 ของคนสมุทรสาคร ระบุ เรียนออนไลน์ที่บ้านอย่างเดียว ห่างไกลโควิด-19 มากที่สุด  ในขณะที่ ร้อยละ 18.5 ของคนกรุงเทพมหานคร เทียบกับ ร้อยละ 30.9 ของคนสมุทรสาคร ระบุ เรียนแบบผสมผสาน ระหว่าง ออนไลน์ กับ สลับไปโรงเรียน ห่างไกลโควิด-19 มากที่สุด และร้อยละ 25.2 ของคนกรุงเทพฯ เทียบกับ ร้อยละ 29.8 ของ คนสมุทรสาคร ระบุ เรียนที่สถาบันการศึกษา แบบเดิม เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัยห่างไกลโควิด-19 มากที่สุด

ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.4 พอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ต่อ การทำหน้าที่ของ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในขณะที่ร้อยละ 16.9 พอใจปานกลาง และร้อยละ 3.7 พอใจค่อนข้างน้อย ถึง ไม่พอใจเลย ตามลำดับ

นายนพดล  กล่าวว่า ผลโพลครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มก้อนของคนกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนของคนที่ไวต่อความรู้สึกความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากกว่ากลุ่มก้อนของคนสมุทรสาคร ในรูปแบบการเรียนที่ห่างไกลโควิด ดังนั้นจากข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะทางเลือก 3 แนวทาง ได้แก่

1. จำแนกแยกแยะมาตรการรูปแบบการเรียนสำหรับกลุ่มเด็กเล็ก กับเด็กโต ใช้มาตรการแตกต่างกันโดยยกระดับป้องกันการแพร่ระบาดกับเด็กเล็กสูงกว่า เด็กโต

2. สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร ควรจะเคร่งครัดต่อการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ระดับสูงสุดไว้ก่อนโดยเน้นไปที่การเรียนออนไลน์ที่บ้านหรือสถานที่เหมาะสมอื่น แล้วแต่ผู้ปกครองจะพิจารณา เช่น บ้าน ที่ทำงาน และอื่น ๆ ที่เล็งเห็นว่าปลอดภัยมากกว่าให้ไปเรียนที่สถานบันการศึกษาอาจจะป้องกันได้ยากกว่า

3. รูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน การเรียน ออนไลน์ ที่บ้าน และการสลับไปสถานศึกษา น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ช่วยลดความเสี่ยงและผ่อนปรนผลกระทบต่อครอบครัวและสถานศึกษา ได้สำหรับพื้นที่สมุทรสาคร แต่ สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครน่าจะยังคงไว้ระดับป้องกันความเสี่ยงสูงกว่าสมุทรสาคร

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ แต่ละสถาบันการศึกษาหรือเขตการศึกษา ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจและแสดงความเห็นต่อผลกระทบจากรูปแบบการเรียนห่างไกลโควิด-19 ได้อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมีความปลอดภัยรอดพ้นโควิด-19 ต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight