Economics

ฟังอีกด้าน!! ‘กัปตันโสภณ’ แจงทำไมนักบินต้องนั่ง ‘First Class’

“กัปตันโสภณ” ไขข้อข้องใจดราม่า “การบินไทย” ทำไม “นักบิน” ต้องนั่ง “First Class”

a2

จากกรณีอดีตข้าราชการระดับสูงออกมาร้องเรียน “เที่ยวบิน TG971” ซูริค-สุวรรณภูมิของการบินไทยที่ดีเลย์กว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง เนื่องจากนักบินไม่ยอมนำเครื่องขึ้น เหตุเพราะ นักบิน 4 คนที่จะโดยสารกลับด้วยไม่ได้นั่ง “First Class” นั้น

ล่าสุด (20 ต.ค. 61) กัปตันโสภณ พิฆเนศวร หรือ กัปตันอู รองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคงองค์กร สายการบินนกแอร์ ได้อธิบายสาเหตุที่นักบินต้องนั่ง “First Class” โดยระบุว่า

Deadhead หรือ passive crew หมายถึง นักบินและ/หรือพนักงานต้อนรับที่เดินทางไปด้วยบนเที่ยวบินโดยไม่ได้ทำหน้าที่ในระหว่างไฟลท์ แต่เดินทางไปเพื่อทำหน้าที่หลังจากไฟลท์หรือเดินทางกลับบ้าน

ทำไมต้องมี dead head? กล่าวถึงเฉพาะด้านนักบินเพื่อให้เห็นภาพถึงสถานการณ์ที่ต้องเดินทางเป็น dead head กันครับ

ปกตินักบินจะบินเครื่องบินได้เฉพาะแบบ เช่น คนที่บิน B777 ก็บินได้เฉพาะ B777 นักบิน B747 ก็บินได้เฉพาะ B747 นักบิน B777 แม้ว่าจะเคยบิน B747 มาก่อนอยู่ ๆ วันนี้จะบิน B747 เลยไม่ได้

(นักบินนั้นถูกกำหนดตามกฏหมายให้บินเครื่องบินได้เพียงแบบเดียว หากจะบินเครื่องบินสองแบบต้องมีการขออนุมัติและมีมาตรการการฝึกและกำกับดูแลเพิ่มเติม ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วสายการบินจะให้บินเพียงแบบเดียวเท่านั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาไม่ให้เกิดความสับสนและทำให้เกิดข้อบกพร่องในด้านคุณภาพการบิน)

การทำงานของนักบินจะมีการกำหนดระยะเวลาทำงานสูงสุดที่สามารถทำได้ต่อวัน ซึ่งก็คือประมาณ 11 – 13 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เริ่มต้นทำงาน และโดยปกติแล้วเที่ยวบินที่เดินทางจากกรุงเทพไปตามเมืองต่าง ๆ ในยุโรปนั้นจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมงขึ้นไป ดังนั้น เมื่อไปถึงนักบินจึงบินกลับมาเลยไม่ได้จะต้องลงนอนพักผ่อนที่ปลายทางก่อนที่จะทำการบินกลับ (ดูช่วงเวลาการพักผ่อนขั้นต่ำด้านล่าง)

ส่วนเครื่องบินนั้นจะเดินทางรับผู้โดยสารกลับมาเลยในวันเดียวกันนั้นโดยใช้นักบินอีกชุดหนึ่งที่ไปถึงก่อนหน้าแล้ว 1 วัน (ขึ้นอยู่กับตารางการบินและการจัดการด้านการเคลื่อนย้ายกำลังพลด้วย) เรามาดูตัวอย่างกันชัด ๆ ว่าเมื่อไหร่ต้องมี dead head

หากวันที่ 1 เครื่องบิน B777 บินไปที่สนามบิน A นักบินก็จะลงนอนค้างคืนเพื่อพักผ่อนก่อนที่จะต้องบินกลับ แต่หากวันที่ 2 จำเป็นต้องใช้เครื่องบิน B747 บินไปที่สนามบิน A นักบิน B777 ที่บินไปถึงเมื่อวันที่ 1 ก็จะถูกกำหนดให้เดินทางกลับเป็น dead head บนเที่ยวบินขากลับในวันที่ 2 นั่นเลย นักบินที่บิน B747 กลับในวันที่สองก็คือ นักบินชุดที่เดินทางมากับเครื่องบิน B777 เมื่อวันที่ 1 โดยเป็น dead head มานั่นแหละ

สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแบบเครื่องบินแบบนี้จึงต้องมีการเดินทางของ dead head แต่ถ้าวันที่ 3 เครื่องบินก็จะเปลี่ยนไปใช้ B777 ใหม่ นักบินก็อาจจะไม่ต้องเดินทางกลับ บริษัทอาจจะให้พักเพิ่มอีกหนึ่งวันเพื่อรอรับเครื่องบินที่มาถึงในวันที่ 3 และบินกลับไปกรุงเทพฯ นักบิน B747 ก็จะเป็น dead head กลับบนเที่ยวบินของ B777 แบบนี้เป็นต้น

อย่างที่ผมกล่าวมาแล้วในช่วงต้น ๆ ว่า dead head นั้นเป็นนักบินและหรือพนักงานต้อนรับที่เดินทางในเที่ยวบินแต่ไม่ได้ได้ทำหน้าที่ลูกเรือ dead head จึงถูกกำหนดให้นั่งที่นั่งผู้โดยสารและทำตัวเสมือนเป็นผู้โดยสารทุกประการ แต่หากมีเหตุฉุกเฉินจำเป็นเช่น การที่จะต้องอพยพออกจากเครื่องบิน dead head ก็จะสามารถทำการร่วมช่วยเหลือผู้โดยสารได้

เครื่องบิน B747-400 นั้นมีที่นอนสำหรับนักบิน อยู่ 2 ที่ แม้ว่าจะเป็นห้องเล็ก ๆ แต่ส่วนตัวแล้วผมว่า พักผ่อนได้สบายกว่าเก้าอี้นั่งของผู้โดยสาร เพราะเป็นเตียงนอนราบแต่ไม่ได้มีอุปกรณ์ในการให้ความบันเทิงใด ๆ เหมือน A380 หรือเครื่องบินรุ่นหลัง ๆ ซึ่ง pilot rest facility นั้นเป็นเตียงที่มีจอ LCD เพื่อให้ดูหนัง ฟังเพลงได้ เพราะจุดประสงค์ไม่ได้เอาไว้นอนอย่างเดียว เค้ามีไว้เพื่อให้ผ่อนคลายหรือพักผ่อนในระหว่างเที่ยวบิน เตียงที่ติดตั้งนั้นจะมีเพียง 2 เตียง และอยู่ใกล้หรืออยู่ในส่วนที่เป็นห้องทำงานของนักบินหรือ cockpit และทั้งสองเตียงนั้นมีไว้เพื่อนักบินที่เป็น active crew ปกติยุโรปใช้นักบิน 4 คน โดยหลังจากเครื่องบินวิ่งขึ้นไปแล้ว นักบิน 2 คนจะถูกจัดตารางให้ไปพักผ่อนเพื่อมาสลับกับชุดที่นั่งประจำที่นั่งด้านหน้าเมื่อถึงเวลาที่กำหนด ดังนั้นเตียง 2 เตียงจึงถูกใช้งานตลอดทั้งไฟลท์ ไม่ได้มีไว้สำหรับ dead head

44422369 10216479840971611 7667824286282809344 n

บางสถานการณ์อย่างเช่น การรอ ควรจะต้องมี สถานที่พักผ่อนที่เหมาะสม suitable rest facility คือสามารถนอนราบได้ 180 องศา duty period จึงจะไม่นับช่วงเวลาที่รอว่าเป็น duty period เรื่อง suitable rest facility นี้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการด้านของความเหนื่อยล้า fatigue risk

ที่นั่ง first class ก็จัดเป็น suitable rest facility หรือ สถานที่พักผ่อนที่เหมาะสม แต่ที่นั่ง business class นั้นเป็นเพียง adequate rest facility หรือ สถานที่พักผ่อนที่เพียงพอ

เรื่องของ duty period และ flight duty period ของนักบินนั้นเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนและมีรายละเอียดค่อนข้างมาก เนื่องจากนักบินนั้นมีข้อจำกัดที่ถูกกำหนดชั่วโมงสูงสุดในแต่ละเรื่องกำกับเอาไว้ละเอียดยิบย่อย

เพราะด้วยความที่ flight duty period นั้นถูกจำกัดช่วงเวลาปฏิบัติหน้าที่สูงสุดเอาไว้ แม้ว่าจะเป็น dead head ก็จำเป็นจะต้องควบคุมเรื่องของ duty period เพราะหากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้นักบินเพื่อบินเที่ยวบินใด ๆ ที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงตาราง หรือมีเครื่องบินแบบไหนเสียต้องใช้เครื่องบินอีกแบบหนึ่งเพื่อบินทดแทนขึ้นมา dead head อาจจะไม่สามารถไปบินทดแทนการขาดกำลังพลได้เพราะติดเรื่องของ maximum duty period

จริง ๆ รายละเอียดเรื่องนี้เขียนอธิบายให้ชัดเจนได้ไม่มากนักครับ มันคงจะยืดยาวเกินไป เอาเป็นว่าหากสนใจรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ให้ อ่านเรื่องข้อกำหนดด้าน flight time and flight duty period ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้

https://www.caat.or.th/wp-cont…/uploads/…/12/flight-time.pdf

เรื่องการตีความและการใช้งานข้อกำหนดกฏหมาย เป็นเรื่องที่มีรายละเอียด ต้องอาศัยประสบการณ์และการตีความให้ชัดเจน เรื่องของ duty period จึงมีความสำคัญไม่น้อยครับ

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ค Sopon Phikanesuan

 

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK