Business

ฝ่าโควิดระลอกใหม่ โลกออนไลน์ – ข้อมูล ขับเคลื่อนแบรนด์ สร้างโอกาสในวิกฤติ

ฝ่าโควิดระลอกใหม่ “ออนไลน์-ข้อมูล” อาวุธสำคัญสำหรับแบรนด์ และนักการตลาด สร้างโอกาสในวิกฤติ แนะ 6 แนวทางสำคัญ ปรับกลยุทธ์ให้ทันสถานการณ์

นับแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในหลายจังหวัด แม้รอบนี้จะยังไม่ถูกล็อคดาวน์และหยุดกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ แต่ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทยในวงกว้าง แม้จะมีบทเรียนมาแล้วจากปี 2563 แต่แบรนด์และนักการตลาดยังจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ รวมถึงวางแผนที่ต้องปรับตามสถานการณ์อย่างเหมาะสมจากความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นใหม่ในปีนี้ เพื่อ ฝ่าโควิดระลอกใหม่ ให้ได้

technologysocial media ๒๑๐๑๒๕ 0

กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย (GroupM) กลุ่มเอเยนซี่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) ร่วมกับ มายแชร์ ให้คำแนะนำแบรนด์ และนักการตลาด ปรับตัวด้วย 6 แนทางฝ่าวิกฤติโควิดระลอกใหม่ ดังนี้

  • เร่งขยายช่องทางจัดจำหน่ายออนไลน์ ให้เหมาะกับธุรกิจ

บทเรียนจากปีที่แล้ว ที่ผู้บริโภคไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ รวมถึงมาตรการเว้นระยะห่าง ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ เห้นได้จากในช่วงการแพร่ระบาด ผู้บริโภคกว่า 89% ใช้เวลาไปกับการการซื้อของออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้หลายธุรกิจ ต่างปรับตัวสร้างช่องทางจำหน่าย บนตลาดออนไลน์ของตัวเอง ส่งผลให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในภาพรวมปี 2563 สูงขึ้นถึง 35%

ดังนั้น การระบาดระลอกใหม่ครั้งนี้ จึงทำให้ผู้บริโภคไทย มีความคุ้นเคยกับการซื้อของผ่านทางออนไลน์อยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ที่เคยสร้าง ระบบนิเวศ (eco system) ในการจำหน่ายทางออนไลน์แล้ว ได้ลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อต่อยอดการสร้างโอกาสในการขายอย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์นี้

ที่สำคัญคือ นักการตลาดต้องไม่ควรมองแค่แพลตฟอร์มการขายเดียว แต่ยังต้องเข้าถึงแฟลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลักษณะการขายของที่เหมาะสมกับสินค้าของตัวเอง รวมถึงหาพาร์ทเนอร์ที่สามารถขยายช่องทางการเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ได้ จากเดิมที่อาจใช้ เว็บไซต์ และการขายผ่านทาง มาร์เก็ตเพลส โดยเพิ่มช่องทางอื่น ๆ เช่น โซเชียล คอมเมิร์ซ, อินฟลูเอนเซอร์ เป็นต้น

  • เพิ่มการลงทุน ในช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย อย่างจำเพาะเจาะจง

ปัจจุบัน ผู้บริโภคไม่ได้ติดตามเฉพาะคอนเทนต์จากสื่อโซเชียลหรือเว็ปไซต์เท่านั้น อีกทั้งยังมีพฤติกรรมการข้ามไปมา ระหว่างแพลตฟอร์มมากขึ้น และรวดเร็วขึ้น การวางแผนซื้อสื่อทีละแพลตฟอร์มด้วยวิธีเดิม จึงไม่สามารถตอบสนองการเข้าถึงผู้บริโภคและสร้างความน่าสนใจได้อย่างทันเวลา

ต่อจากนี้ แบรนด์และนักการตลาด ต้องสามารถเข้าถึง ทัชพอยต์ หรือจุดที่ผู้บริโภคสัมผัส ได้ตลอดเวลา และสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพื่อให้การลงทุนทางการตลาด มีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างเช่น การใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์ข้อมูลและยิงโฆษณา ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความสนใจเดียวกัน ในแพลตฟอร์มที่ต่างกัน ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า และคุ้มค่ากว่า การลงทุนแบบแยกทีละแพลตฟอร์ม

technologysocial media ๒๑๐๑๒๒

  • เตรียมพร้อมแข่งขันในยุค Data Driven

ธุรกิจต่าง ๆ มีบทเรียนจากการแพร่ระบาดครั้งที่แล้ว และหันไปพึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างดุเดือดเพื่อแยกลูกค้ากันในแต่ละแพลตฟอร์ม พื้นฐานของการตลาดแบบ Data Driven หรือการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ที่แข่งกันว่าใครใช้ Data เก่งกว่ากัน และไม่ได้จำกัดอยู่ที่การยิงโฆษณา แต่เป็นการทำโปรโมชั่น การใช้ การตลาดที่วิเคราะห์และวัดผลได้ และการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง เป็นต้น

สิ่งสำคัญของแบรนด์ และนักการตลาด คือ การหาพาร์ทเนอร์ ที่มีความสามารถในการช่วยแปลง Data ให้กลายเป็นความรู้ ที่สามารถสร้างข้อได้เปรียบ ในการวางแผนกลยุทธ์การขาย เพราะสามารถเลือกทำกลยุทธ์ได้หลายแบบ ทั้งในเรื่องของ ราคา การจัด Promotion การหาลูกค้าเพิ่มจากแพตลฟอร์มใหม่

ต้องไม่หยุดสร้าง Brand Awareness

แม้การแข่งเรื่องโปรโมชัน ราคา จะรุนแรงขึ้น แต่แบรนด์ใหญ่ต้องไม่ลดการลงทุนสื่อ เพื่อสร้างการจดจำ ซึ่งเป็นโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มความมั่นใจ และเชื่อใจในระยะยาว อีกทั้งเป็นการลดโอกาส ในการถูกคู่แข่งแย่งผู้บริโภคไป จากการแข่งขันเรื่องราคา และโปรโมชันที่เข้มข้นขึ้น

สำหรับแบรนด์หน้าใหม่ ช่วงนี้เป็นโอกาสอันดี ที่จะการเข้าถึงผู้บริโภคที่อยู่บ้าน และมีเวลารับสื่อมากขึ้น โดยเฉพาะสื่อ ออฟไลน์ อย่างโทรทัศน์ หรือการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ เพื่อสร้างการจดจำ รวมถึงมีโอกาสสร้างยอดขายมากขึ้นตามไปด้วย

ตามติดสถานการณ์ แบบ เรียลไทม์จากภาครัฐ

เมื่อเทียบกับการแพร่ระบาดในระลอกแรก มาตราการต่าง ๆ จากภาครัฐในเวลานี้ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่าเดิม รวมถึงพื้นฐานความเข้าใจต่อการใช้เทคโนโลยีของผู้บริโภค ก็เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว และพร้อมเข้าร่วมกับมาตรการช่วยเหลือของรัฐอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่น เราชนะ หรือ คนละครึ่ง ที่ผู้บริโภคเข้าถึงการใช้สิทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับมาตรการอื่น ๆ ในปี 2653

ดังนั้น นักการตลาดต้องทำงานแบบ Agile ที่ต้องมีความรวดเร็ว และปรับตัว ให้เข้าถึงโอกาสที่เกิดขึ้น จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

เตรียมแผนสำรองไว้เสมอ

ต้องมีแผนสำรอง ในการรับมือกับสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ โดยจำเป็นมีแผน 2, 3 หรือ 4 เผื่อไว้ ทีมงานต้องมีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ รวมถึงทำงานร่วมกันเพื่อให้แผนสำรองที่เตรียมไว้สามารถทำงานได้ทันทีเมื่อจำเป็น ซึ่งจะทำให้จัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าการมีแผนเดียวและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นรายครั้งไป

นี่เป็นข้อแนะนำส่วนหนึ่งของการปรับตัว เพื่อให้ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ระลอกใหม่ และยืนอย่ได้ในภาวะที่วิกฤติยังไม่คลี่คลาย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ การเกาะเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จากบริบทภายนอกที่เกิดขึ้นหลากหลายและรวดเร็ว และพร้อมพัฒนาสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการอย่างเท่าทัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo