Business

โซเชียลฯ เดือดพลั่ก! ชี้ ‘เราชนะ’ ไม่จ่าย ‘เงินสด’ เท่ากับเยียวยาไม่ตรงจุด

เมื่อวานนี้ (19 ม.ค. 64) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ “เราชนะ” โครงการเยียวยาโควิด-19 รอบใหม่อย่างเป็นทางการ โดยจะจ่ายเงินเยียวยา 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน รวมเบ็ดเสร็จแล้ว 7,000 บาท

แต่ดูเหมือนว่า ประชาชนส่วนหนึ่งกลับออกอาการผิดหวัง เพราะโครงการ เราชนะ ไม่จ่ายเยียวยา 7,000 บาทเป็น เงินสด โดยจะจ่ายเป็นวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) หรือแอพพลิเคชั่น เพื่อให้นำสิทธิ์ไปใช้ซื้อสินค้าและบริการเท่านั้น

เราชนะ เยียวยา เงินสด

ผู้ได้รับการเยียวยาบางส่วนจึงออกอาการหัวร้อนบนโซเชียลมีเดีย โดยขอให้รัฐบาลทบทวนแนวทางการจ่ายเงินเยียวยาโครงการ เราชนะ ใหม่ เนื่องจากต้องการนำวงเงินดังกล่าวไปบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกเหนือข้อกำหนดของโครงการ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถยนต์ ค่ายารักษาโรค ค่าเทอม ค่าไฟฟ้า เป็นต้น โดยบางส่วนมองว่า การไม่จ่ายเงินสดเท่ากับเป็นการเยียวยาที่ไม่ตรงจุด

เราชนะ

เราชนะ

เราชนะ เงินสด 3

 

รองนายกฯ ชี้แจง ทำไมไม่แจก “เงินสด” เราชนะ

รายงานข่าวเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลัง จะเสนอให้จ่ายเงินเยียวยาโครงการเราชนะจำนวน 7,000 บาทเป็นเงินสด แต่นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ มองว่าควรให้สิทธิ์เป็นวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและในแอพพลิเคชั่นมากกว่า เพื่อไม่ให้การใช้จ่ายเงินเยียวยาผิดวัตถุประสงค์

โดยหลังการประชุม ครม. เมื่อวานนี้ นายสุพัฒนพงษ์ได้ชี้แจงเหตุผลต่อสื่อมวลชนในกรณีที่ไม่จ่ายเยียวยา “เราชนะ” เป็นเงินสดว่า ประการที่ 1 ไม่อยากให้สัมผัสตัวเงิน ตรงนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าเชื้อโควิดมันยังติดปะปนเข้ามาได้

ประการที่ 2 การให้เงินสด เราไม่สามารถกำกับการหมุนเวียน และเราอยากให้ประชาชนมีประสบการณ์กับสังคมไร้เงินสด แล้วก็สามารถใช้สิทธิ์และก็ใช้เสมือนหนึ่งเป็นเงินสดได้ จะเรียกว่าไม่ให้เงินสดก็ไม่เชิง เพราะสิทธิ์ที่ให้ เราใช้ได้เหมือนเกือบจะเป็นเงินสด แต่การให้เป็นสิทธิ์ มีการจำกัดสิทธิ์ได้ ถ้าให้เป็นเงินสด เราจำกัดอะไรไม่ได้เลย เงินเหล่านั้นจะหายไปกับสิ่งอะไรก็ควบคุมได้ยาก เช่น แอลกอฮอล์ ร้านค้าขนาดใหญ่ นิติบุคคล

สุพัฒนพงษ์8101 scaled e1602123325595

เราอยากให้เขาช่วยเหลือคนตัวเล็กด้วยกันเอง ถ้าหากเป็นเงินสดมันกำกับ ติดตามไปไม่ได้ แต่เราอยากให้เขาช่วยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ชาวบ้านช่วยแม่ค้า แม่ค้าไปซื้อของกับเกษตรกร หมุนเวียนของคนตัวเล็กด้วยกัน ไม่ให้หลุดออกไปในเรื่องของสุรา แอลกอฮอล์การพนัน ซึ่งเหล่านี้เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้น

เราต้องการให้เป็นการลดค่าครองชีพ เพื่อช่วยเหลือประชาชนคนตัวเล็กๆ นี่คือสิ่งที่รัฐบาลพยายามจะทำ แล้วก็ได้สะสมสิ่งเหล่านี้ ทดลองและทำมาในหลายวาระแล้ว ก็เชื่อมั่นว่าน่าจะเป็นระบบที่ดีที่สุดระบบหนึ่ง ที่คนไทยน่าจะมีประสบการณ์กับสิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

 

รู้จัก “โครงการเราชนะ”

โครงการเราชนะ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

โดยจะสนับสนุนวงเงินช่วยเหลือให้แก่ประชาชน จำนวนประมาณ 31.1 ล้านคน วงเงินไม่เกิน 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน สำหรับเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2564 วงเงินโครงการรวม 210,200 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มสนับสนุนวงเงินให้แก่ผู้ได้รับสิทธิ์ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564

วงเงินช่วยเหลือเพื่อลดภาระค่าครองชีพดังกล่าว จะก่อให้เกิดการนำไปใช้เพื่อการใช้จ่ายสำหรับการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคที่จำเป็น และค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทาง อันจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไปในคราวเดียวกัน

ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการ เราชนะ สามารถใช้วงเงินช่วยเหลือได้ที่

  • ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ
  • ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง
  • ร้านค้าและผู้ให้บริการที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการเราชนะ เช่น แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก รถไฟฟ้า ร้านซักรีด ร้านตัดผม เป็นต้น

เราชนะ เยียวยา 2564

ผู้ได้รับสิทธิ์ เราชนะ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ ครม. มีมติเห็นชอบโครงการฯ
  2. ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
  3. ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานของรัฐโดยตรง ณ วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการฯ
  4. ไม่เป็นข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ณ วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการฯ
  5. ไม่เป็นผู้รับบำนาญปกติหรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ
  6. ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด
  7. ไม่มีเงินฝากรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo