Politics

‘วสท.’สั่งเข้ม 9 อาคารลดความเสี่ยงไฟไหม้

S 22519842

​ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า จากการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาเมือง ปัจจุบัน กทม.และเมืองใหญ่เต็มไปด้วยอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งอาคารเก่าที่สร้างก่อนมี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฉบับที่ 33 ปี พ.ศ.2535 และอาคารใหม่ ในแต่ละวันมีผู้อยู่อาศัย ผู้ทำงาน และผู้มาใช้บริการในอาคารจำนวนมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการ เจ้าของอาคาร ผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการอาคาร ผู้ที่มาติดต่อใช้บริการ และผู้อาศัย ต้องตระหนักถึงการสร้างความปลอดภัย และบริหารจัดการ รวมไปถึงการปฎิบัติตนให้ปลอดภัยจากอัคคีภัย และภัยพิบัติต่างๆ บทเรียนจากไฟไหม้ อาคารสูงในซอยเพชรบุรี 18 การป้องกันย่อมดีกว่าและลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน

ในปี 2560 วสท.โดยคณะกรรมการวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัยได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานในการดำเนินการป้องกันอัคคีภัยสำหรับประเทศไทย แล้วเสร็จ 4 มาตรฐาน ได้แก่

  • มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย เพื่อใช้เป็นแนวทางหลักในการป้องกันและบริหารจัดการอัคคีภัยของประเทศ
  • มาตรฐานการควบคุมควันไฟ
  • มาตรฐานการตรวจสอบ และการดูแลระบบดับเพลิงด้วยน้ำ
  • มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

สำหรับแผนงานในปี 2561 นี้ จะเดินหน้าจัดทำอีก 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานการความปลอดภัยอัคคีภัยในอาคารสถานพยาบาล และมาตรฐานความปลอดภัยอัคคีภัยกลุ่มอาคารที่พักอาศัย เช่น คอนโดมิเนียม โรงแรม หอพัก อพาร์ทเม้นท์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้

S 22519840
​นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์ เลขาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมสาขาวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) กล่าวเกี่ยวกับ แนวทางลดความเสี่ยงต่ออัคคีภัย สำหรับเจ้าของอาคาร และผู้อยู่อาศัย หรือมาใช้บริการ เพื่อความปลอดภัยในอาคาร 9 ประเภท ได้แก่ โรงแรม, โรงพยาบาล, ห้างสรรพสินค้า, โรงงาน, สำนักงาน, ที่พักอาศัยรวม, ตลาดเก่า ชุมชนเก่า หรือตลาดอนุรักษ์, โรงเรียน สถานศึกษา และสถานบริการ ทั้งนี้ อาคารแต่ละประเภทความเสี่ยงอันตรายจากอัคคีภัยที่แตกต่างกัน

ดังนั้นผู้ตรวจสอบอาคาร เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้อยู่อาศัย ต้องเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายที่มีโอกาสและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย อาคารโรงแรม หอพัก หรืออาคารพักอาศัยรวม กลุ่มอาคารลักษณะนี้จะมีการกั้นห้องด้วยวัสดุที่เป็นอิฐ และใช้ในการพักผ่อนนอนหลับ หรือ เช่น อาคารโรงพยาบาลก็จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับอาคารโรงแรม หอพักหรืออาคารพักอาศัยรวม แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง คือมีผู้ป่วยหรือบาดเจ็บนอนพักในอาคาร ส่วนประเภทอาคารสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ช๊อปปิ้งมอลล์มักจะมีการกั้นห้องน้อย จะเป็นอาคารเปิดโล่งๆ และมีสินค้าที่อาจเป็นวัสดุติดไฟจำนวนมาก

S 22519844

ส่วนในด้านอาคารสถานบริการ มักจะมีการก่อสร้างตกแต่งอาคารด้วยวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย มืดและมีเสียงอึกทึกขณะให้บริการ มีคนดื่มสุราขาดสติสัมปชัญญะ และมีคนหนาแน่นในพื้นที่จำกัด เหล่านี้คือความเสี่ยงที่แตกต่างกันตามลักษณะของอาคารและธุรกิจ จึงจำเป็นที่ต้องมีมาตรการการป้องกันอัคคีภัยที่แตกต่างกันอย่างเหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องและลดความเสี่ยงนั้นๆได้ ผู้ตรวจสอบอาคาร ผู้อยู่อาศัย และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาของอาคารประเภทนั้นๆต่อไป

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK