Politics

มีปัญหาจริง! สธ. ยอมรับเข้าใจคลาดเคลื่อนกับทีมพัฒนา ‘หมอชนะ’

มีปัญหาจริง! สธ. ยอมรับเข้าใจคลาดเคลื่อนกับทีมพัฒนา “หมอชนะ” จ่อเคลียร์ผู้เกี่ยวข้อง โว! แค่เมื่อวาน (16 ม.ค.) แอพฯ แจ้งเตือนกลุ่มเสี่ยงแล้ว 3 พันคน

วันนี้ (17 ม.ค. 64) ที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าแอพพลิเคชั่น “หมอชนะ” เป็นความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งได้ลงนามความร่วมมือที่จะบริหารจัดการแพลตฟอร์ม เพื่อติดตามและประเมิน ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19

โควิด-19 หมอชนะ

เนื่องจากอยู่ในระหว่างการพัฒนาร่วมกัน ระหว่างกลุ่มผู้พัฒนาซอฟท์แวร์กับผู้ใช้งานในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข อาจมีบางประเด็นที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนต้องมีการหารือและทำความเข้าใจเพิ่มเติมต่อไป โดยเฉพาะประเด็นที่ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์กังวลเกี่ยวกับสถานะของผู้ติดเชื้อ จะได้นำไปทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้แอพพลิเคชั่นหมอชนะ มีประโยชน์สูงสุดสำหรับประชาชนในการป้องกันควบคุมโรค

นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า ช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่นี้ รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการนำแอพพลิเคชั่นหมอชนะ มาช่วยในการติดตามสอบสวนโรคได้เป็นอย่างดีและเป็นเครื่องมือเพื่อสื่อสารถึงประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพิ่มเติมจากการใช้ไทยชนะตามสถานที่ต่างๆ เนื่องจากแอพพลิเคชั่นหมอชนะสามารถติดตามการเดินทางผู้ที่มีความเสี่ยงใกล้ชิดกับผู้ป่วยได้

โดยเมื่อวานนี้ (16 ม.ค. 64) ได้มีการแจ้งเตือนไปยังผู้ที่ใช้แอพพลิเคชั่น จำนวน 3,283 เครื่อง โดยส่งข้อความไปยัง 2 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 ผู้มีความเสี่ยงต่ำที่ไปในสถานที่เดียวกับผู้ติดเชื้อ ให้รายงานตัวกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อประเมินความเสี่ยงและให้สังเกตอาการ 14 วัน หากมีอาการป่วย ให้สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยรถสาธารณะ และพบแพทย์ใกล้บ้านทันที หรือสอบถามที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือสายด่วน 1422

กลุ่มที่ 2 ผู้มีความเสี่ยงสูงที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ให้สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยรถสาธารณะ และพบแพทย์ใกล้บ้านทันที หรือสอบถามที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือสายด่วน 1422

583b231f8dc863e52d6a93068a7fc50cbf4db6f8f4ab33b73708653a8a1d6eca

ทั้งนี้ มีการใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นหมอชนะ 2 รูปแบบดังนี้คือ

แบบที่ 1 เมื่อทีมสอบสวนพบผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 จะถ่ายภาพ QR code และ ส่งมาที่กรมควบคุมโรค เพื่อสืบค้นหาเครื่องใกล้เคียง ที่ลงแอพพลิเคชั่นในช่วงเวลาที่คาดว่าจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อส่งข้อความให้เฝ้าอาการระวังตนเองและการปฏิบัติตัว พร้อมสถานที่หรือเบอร์ติดต่อสอบถามกลับ

แบบที่ 2 การสืบค้นหาเครื่องใกล้เคียงที่ลงแอพพลิเคชั่น จากสถานที่ที่ผู้ป่วยยืนยันเดินทางไปในช่วงเวลาที่คาดว่ามีโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อได้ และดำเนินการส่งข้อความไปเช่นเดียวกับแบบที่หนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ยังพบการระบาดของโควิด 19 อยู่ในบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด สวมหน้ากาก เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ล้างมือบ่อยๆ และหากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้รีบปรึกษาแพทย์ หรือ สอบถามโทร 1422

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo