COVID-19

วัคซีนโควิด 4 ยี่ห้อ แตกต่าง มีผลข้างเคียงอย่างไร!

ปัจจุบันมีการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพสูงออกมาสำเร็จแล้ว ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเริ่มมีการจัดสรรและจัดซื้อเพื่อนำวัคซีนที่ประสบผลสำเร็จมาใช้ภายในประเทศ

ทั่วโลกพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในมนุษย์จำนวน 291 ชนิด โดยการพัฒนาวัคซีนนั้น แบ่งเป็นระยะก่อนทดสอบในมนุษย์ 223 ชนิด และระยะที่ทดสอบในมนุษย์ 63 ชนิด

วัคซีนโควิด ๒๑๐๑๑๓

แต่จนถึงขณะนี้ มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 5 ชนิด ที่ทดสอบประสิทธิภาพเสร็จแล้ว ได้แก่

  • BNT162b2        ของ ไฟเซอร์ – ไบโอเอ็นเทค
  • mRNA-1273     ของ โมเดอร์นา
  • ChAdoX1          ของ อ็อกซ์ฟอร์ด – แอสตราเซเนกา
  • BBIBP-CorV      ของ ซิโนฟาร์ม
  • Sputnik V         ของ แกมาเลยา

สามารถสรุปข้อมูลของความก้าวหน้าของวัคซีน โควิด-19 ได้ดังต่อไปนี้

วัคซีน BNT162b2 จากบริษัทไฟเซอร์ -ไบโอเอ็นเทค ใช้เทคนิค mRNR ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาวัคซีน 95% โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 21 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น -70 องศาเซลเซียส

วัคซีน mRNA-1273 จากบริษัทโมเดอร์นา ใช้เทคนิค mRNR ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาวัคซีน 94.1% โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 28 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น -20 องศาเซลเซียส

วัคซีน ChAdoX1 จากบริษัท อ็อกซ์ฟอร์ด- แอสตราเซเนกา ใช้เทคนิคไวรัส adenovirus พาหะ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาวัคซีน 60-90 % โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 21-28 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียส

วัคซีน CoronaVac จากบริษัทซิโนวัค ใช้เทคนิควัคซีนตัวตาย แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนในระยะที่ 3 จากการฉีดวัคซีน ซึ่งมีรายงานประสิทธิภาพจากประเทศตรุกี 91.25% และประเทศบราซิล น้อยกว่า 50 % โดยใช้ปริมาณที่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 14-28 วัน แต่ต้องเก็บรักษาภายในตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียส

12JAN วัคซีนโควิด1

อย่างไรก็ตามข้อมูลทั้งหมดเกิดจากการติดตามผลจากข้อมูล ซึ่งเป็นข้อสังเกตจากผู้วิจัยโดยข้อมูลทั้งหมดใช้ระยะเวลาในการติดตามผล 2-3 เดือน ยกเว้นของ Sinovac ที่ยังไม่มีผลรายงานการวิจัยในวารสารทางการแพทย์ระยะที่ 3

ทั้งนี้ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยในวัคซีนทุกชนิดคือ มีอาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีดยา ปวดศีรษะ เพลีย หรือไข้ แต่ยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากวัคซีนดังกล่าว เนื่องจากอาการรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ได้รับวัคซีนนั้นไม่พบว่าเกี่ยวกับการใช้วัคซีนแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามวัคซีนที่อาจนำมาใช้ในประเทศไทย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คือ วัคซีน CoronaVac จากบริษัท ซิโนวัค ซึ่งวัคซีนชนิดนี้ มีความคล้ายคลึงมากกับวัคซีน BBIBP-CorV ที่ทดสอบประสิทธิภาพแล้ว และได้รับอนุญาตใช้ในหลายประเทศแล้ว

โดยรัฐบาลได้มีข้อตกลงในการจัดหาวัคซีนจำนวน 26 ล้าน และในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 จะได้รับวัคซีน ChAdoX1 ของบริษัทแอสตราเซเนกา อีก 26 ล้านโดส รวมถึงจัดหาจากผู้ผลิตอื่น ๆ อีก 13 ล้านโดส ซึ่งทางประเทศไทย วางแผนที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ครอบคลุมร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศภายในปี 2564

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo