Business

‘ช้อปดีคืน’ รวมใบกำกับภาษี ให้ไว! อ่านเงื่อนไข ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีปี 2563

ช้อปดีคืน รวมใบกำกับภาษี เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ ต้องใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ อ่านเงื่อนไข พร้อมรู้สิทธิลดหย่อน เงินเดือนเท่าไร ได้ลดหย่อนเท่าไร อ่านที่นี่

ปิดโครงการแล้ว สำหรับ “ช้อปดีมีคืน” ที่ กระทรวงการคลัง จัดทำขึ้น เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายของภาคประชาชน ในการร่วมเยียวยาเศรษฐกิจไทย โดยเปิดให้ใช้สิทธิมาตรการ ช้อปดีมีคืน ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม ที่ผ่านมา และช้อปวันสุดท้าย เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ดังนั้น ใครที่ใช้สิทธิ ช้อปดีคืน รวมใบกำกับภาษี เพื่อนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ช้อปดีคืน รวมใบกำกับภาษี

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะนำใบกำกับภาษี ไปใช้สิทธิลดหย่อน ขอย้ำเตือนอีกครั้งว่า ผู้ใช้สิทธิควรมีรายได้ตั้งแต่ 150,001 บาท ขึ้นไป จึงจะได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี เพราะหากต่ำกว่านี้ ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

ซื้อสินค้าเท่าไร จะได้ลดหย่อนภาษีเท่าไร

การรับสิทธิลดหย่อนภาษี พิจารณาจาก เงินได้สุทธิ ในแต่ละปี โดยหากคำนวณ จากการซื้อสินค้าเต็มสิทธิ ที่ 30,000 บาท จะได้สิทธิรับเงินคืนภาษีสูงสุด ตามระดับรายได้ ดังนี้

  • เงินได้สุทธิต่อปี 0-150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี จึงไม่ได้สิทธิ์คืนภาษี จากโครงการช้อปดีมีคืน แม้จะช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาทก็ตาม
  • เงินได้สุทธิต่อปี 150,001-300,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์คืนภาษีสูงสุด 1,500 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 300,001-500,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 3,000 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 500,001-750,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 4,500 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 750,001-1,000,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 6,000 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 1,000,001-2,000,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 7,500 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 2,000,001-5,000,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 9,000 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 10,500 บาท

receipts 4542292 1280

ประเด็นสำคัญคือ หลักฐานที่ต้องใช้ ในการประกอบยื่นขอใช้สิทธิลดหนย่อนภาษีฯ มีสาระสำคัญ คือ

  • ซื้อสินค้าและบริการทั่วไป ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ (ทั้งแบบกระดาษ และแบบ e-Tax Invoice) ที่ระบข้อมูลผู้ขาย และข้อมูลผู้ซื้อ รวมถึงวันที่ รายการและจำนวนเงิน
  • ซื้อหนังสือ (รวมถึง e-book) ใบเสร็จรับเงิน (ทั้งแบบกระดาษ และแบบ e-Receipt) ที่ระบุข้อมูลผู้ขาย และ ข้อมูลของคุณ รวมถึงวันที่ รายการและจำนวนเงิน
  • ซื้อสินค้า OTOP ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเสร็จรับเงิน (ทั้งแบบกระดาษ และแบบ e-Tax Invoice & e-Receipt) ที่ระบุรายการสินด OTOP, ข้อมูลผู้ขาย และข้อมูลผู้ซื้อ รวมถึงวันที่ รายการและจำนวนเงิน

เงื่อนไขการใช้ใบเสร็จรับเงิน ที่เป็นใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำไปลดหย่อน ผู้บริโภค ไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าครั้งเดียว ที่มีมูลค่า 3 หมื่นบาท แต่สามารถซื้อได้หลายครั้ง แล้วรวมยอดเงินทั้งหมด ไม่เกิน 3 หมื่นบาท เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีฯ

อีกข้อควรรู้คือ ใบเสร็จที่จะขอจากร้านค้า ต้องเป็น ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ที่ระบุข้อมูลของ ผู้ขาย ข้อมูลผู้ซื้อ รายการที่ซื้อ จำนวนเงิน และวันที่ ที่ซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ

นั่นหมายความว่า หากต้องการใช้สิทธิดังกล่าว ผู้ใช้สิทธิ ต้องซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ต้องมีใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบ จากการซื้อสินค้าเป็นหลักฐาน ดังนั้น ต้องไม่ลืมขอใบกำกับภาษี และเก็บไว้เป็นหลักฐานใช้ลดหย่อนภาษี

อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้น สำหรับการซื้อ หนังสือ e-book หรือสินค้า OTOP ที่ไม่ต้องใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ โดยสามารถใช้ใบเสร็จรับเงิน แทนได้ แต่ต้องะบุข้อมูลของ ผู้ขาย ข้อมูลผู้ซื้อ รายการที่ซื้อ จำนวนเงิน และวันที่ ที่ซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ

สำหรับใบกำกับภาษีเแบบเต็มรูป ต้องมีรายละเอียดที่ครบถ้วนตามข้อความสำคัญในใบกำกับภาษี (ม. 86/4) ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ส่วน (ตามภาพ) และต้องมีรายละเอียดดังนี้

  • ต้องมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” ที่เห็นได้ชัดเจน
  • การแสดงความ “ใบกำกับภาษี” นั้น จะแสดงเป็นใบกำกับภาษี อย่างเดียวก็ได้ หรือ ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี หรือออกพร้อมกับเอกสารอื่น ๆ ก็ได้
  • หากมีการออกเอกสารเป็นชุด มีเอกสารหลายฉบับในชุดเดียวกัน จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” แสดงในใบกำกับภาษี หรือสำเนาใบกำกับภาษีนั้นด้วย
  • หากมีการออกสำเนาของใบกำกับภาษี จะต้องมีคำว่า “สำเนาใบกำกับภาษี” แสดงบนสำเนาใบกำกับภาษีด้วย
  • ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวภาษีอากร สาขา หรือสำนักงานใหญ่ของผู้ที่ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขายสินค้า/ให้บริการ) จะต้องเป็นชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวภาษีอากร ตามใบ ภ.พ.20 หรือเอกสารที่รับรองการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
    หากเป็นสำนักงานใหญ่ จะต้องแสดงข้อความว่า “สนญ”, “HQ” หากเป็นสาขา จะต้องแสดงข้อความว่า “สาขาที่…” หรือ “สาขา….” ตามดัวเลขสาขา 5 หลัก เช่น 00001 เป็นต้น
  • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลข 13 หลัก) ของผู้รับใบกำกับภาษี
  • หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี จะต้องมีเลขที่ด้วย ถ้าไม่มีเลขที่ จะไม่สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้ และการออกใบกำกับภาษีที่ไม่มีเลขที่นั้น ผู้ออกใบกำกับภาษี มีความผิดฐานออกใบกำกับภาษีไม่ครบถ้วนด้วย โดยจะมีโทษปรับ 2,000 บาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo