Business

ตอบทุกข้อสงสัย! ลดเงินสมทบ ‘ประกันสังคม’ ม.ค.-มี.ค. 64 ต้องทำยังไงบ้าง?

ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 25 64 “ประกันสังคม” จะปรับ ลดเงินสมทบ เป็นครั้งที่ 3 เพื่อเยียวยาผู้ประกันตนจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

อย่างไรก็ตาม นายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จำนวนหนึ่งก็ยังสับสนกับมาตรการดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมจึงต้องออกมาชี้แจงรายละเอียด เพื่อตอบทุกประเด็นข้อสงสัยให้กระจ่างอีกครั้ง

ลดเงินสมทบ ประกันสังคม 64

ชี้แจง ลดเงินสมทบ “ประกันสังคม” ปี 64

  • สถานประกอบการ ต้องนำส่งเงินสมทบงวดเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 ในอัตราเดือนละเท่าไหร่ของค่าจ้าง?

สถานประกอบการต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ฝ่ายละ 3% ของค่าจ้าง โดยฐานค่าจ้างขั้นตอนอยู่ที่ 1,650 บาทต่อเดือนและสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ตั้งแต่งวดเดือนมกราคม-มีนาคม 2564

  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 ต้องนำส่งเงินสมทบงวดเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 ในอัตราเดือนละเท่าไหร่?

ผู้ประกันตนมาตรา 39 ต้องชำระเงินสมทบ 278 บาทต่อเดือน ตั้งแต่งวดเดือนมกราคม-มีนาคม 2564

  • สถานประกอบการสามารถชำระเงินสมทบงวดเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 ในอัตรา 3% ทางช่องทางใดบ้าง?

ชำระเงินสมทบ ประกันสังคม ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ทั่วประเทศดังนี้

เคาน์เตอร์ธนาคาร 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคากรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาต

ชำระผ่านระบบ e-Payment 10 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารซิตี้แบงค์ เอ็น.เอ., ธนาคารมิซูโฮ, ธนาคารซิมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น, เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ด้วยบัตรเดบิต/เครดิต มาสเตอร์การ์ด) และธนาคารทหารไทย (ช่องทาง NSW)

สำนักงานประกันสังคม

โควิด-19 ว่างงาน ประกันสังคม

  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถชำระเงินสมทบของงวดเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 เดือนละ 278 บาท ทางช่องทางใดบ้าง?

ชำระเงินสมทบ ประกันสังคม ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ผ่านช่องทางต่างๆ ทั่วประเทศ ดังนี้

เคาน์เตอร์และหน่วยบริการ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารธนชาต, บิ๊กซี, เซ็นเพย์, เคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11), ไปรษณีย์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (ให้บริการรับชำระเงินตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2564), เทสโก้โลตัส (ให้บริการชำระเงินตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2564)

หักผ่านบัญชีธนาคาร 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารธนชาต, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพ

สำนักงานประกันสังคม

  • ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ชำระเงินสมทบเดือนมกราคม 2564 ไปแล้วจำนวน 432 บาท จะหักลบกับเดือนถัดไปได้หรือไม่?

**ไม่สามารถหักลบกับเดือนถัดไปได้ ให้ผู้ประกันตนขอรับเงินที่ชำระเกินจาก ประกันสังคม โดยยื่นแบบคำขอรับเงินคืน (สำหรับผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) สปส.1-23/3 ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ

  • นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานตามคำสั่งภาครัฐ ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 ทำให้ไม่มีการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง นายจ้างจะต้องยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ สปส.1-10 อย่างไร?

กรณีไม่มีการจ่ายค้างจ้างให้ลูกจ้างทั้งหมด นายจ้างไม่ต้องยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ สปส.1-10 ในช่วงที่ไม่มีค่าจ้าง

กรณีมีการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง แต่มีลูกจ้างบางรายไม่ได้รับค่าจ้างเนื่องจากสั่งหยุดพัก 14 วัน ให้นายจ้างยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ สปส.1-10 ตามปกติ โดยรายละเอียดการนำส่งเงินสมทบ (ส่วนที่ 2) ให้กรอกรายละเอียดลูกจ้างที่ไม่ได้รับค่าจ้างในงวดเดือนนั้นด้วย แต่ระบุค่าจ้างและเงินสมทบเป็นศูนย์ (0)

shutterstock 1676695528 e1607687707207

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แนวทางการลดเงินสมทบ ประกันสังคม รอบใหม่ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 จะส่งผลให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบลดลง 8,248 ล้านบาท จากเดิมที่จ่าย 12,634 ล้านบาท และนายจ้างจ่ายลดลง 7,412 ล้านบาท จากเดิมที่จ่าย 11,118 ล้านบาท

การลดอัตราเงินสมทบครั้งนี้ ส่งผลดีให้ผู้ประกันตนนำเงินไปใช้จ่ายเสริมสภาพคล่องได้ราว 460-900 บาทต่อคน นายจ้างมีสภาพคล่องมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จะส่งผลให้เงินออมบำนาญของผู้ประกันตนลดลงประมาณ 1,035 บาทและอาจจะส่งผลกระทบต่อสถานะกองทุนประกันสังคม แต่กองทุนฯ และรัฐบาลจะวางแผนระยะยาวต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo