COVID-19

เห็นผล! ดื่มไม่ขับ ขับไม่ดื่ม ลดตาย-บาดเจ็บ ช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่

สธ. เผยนโยบาย “ดื่มไม่ขับ ขับไม่ดื่ม” ช่วยลดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เทศกาลปีใหม่ 2564 โดยมีผู้บาดเจ็บรวม 20,506 ราย เสียชีวิต 389 ราย ลดลงจากปี 2563

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการรายงานของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ในช่วง 7 วันของเทศกาลปีใหม่ 2564 ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2563-4 มกราคม 2564 มีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนรวม 20,506 ราย เสียชีวิตรวม 389 ราย

02 12 640x360 1

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าว ถือว่าลดลงจากปี 2563 ที่พบผู้บาดเจ็บ 29,155 ราย เสียชีวิต 482 ราย หรือลดลง 30% และ 19% ตามลำดับ โดยผู้ป่วยเข้ารับการรักษาหรือ Admit ในโรงพยาบาล 4,065 ราย คิดเป็น 19%

ส่วนจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา 1,051 ราย , เชียงใหม่ 814 ราย , ขอนแก่น 754 ราย, บุรีรัมย์ 631 ราย และเชียงราย 596 ราย

ขณะที่จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา 27 ราย , เชียงราย 17 ราย , บุรีรัมย์ 16 ราย , อุดรธานี และชลบุรี จังหวัดละ 14 ราย

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต

อย่างไรก็ตาม พบว่า จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตยังคงสูง ในช่วงวันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ โดยวันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีผู้บาดเจ็บ 4,523 ราย เสียชีวิต 79 ราย ส่วนวันที่ 1 มกราคม 2564 มีผู้บาดเจ็บ 4,025 ราย เสียชีวิต 83 ราย จากการไม่สวมหมวกนิรภัย หรือหมวกกันน็อก 2,773 ราย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 564 ราย

ขณะที่ การตรวจวัดแอลกอฮอล์ในเลือด ผู้ได้รับบาดเจ็บทุกราย พบเป็นผู้ดื่มสุรามีแอลกอฮอล์ในเลือด เกินมาตรการ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จำนวน 6,111 ราย คิดเป็น 29% ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี มีแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ 1,038 ราย คิดเป็น 17% ลดลงจากปี 2563 ที่พบผู้ดื่มสุรารวม 8,283 ราย หรือลดลง 26%

ตรวจ

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังได้มอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม. ตั้งด่านชุมชน เพื่อตรวจคัดกรองผู้ที่เมาแล้วขับไม่ให้ออกสู่ถนน ตามนโยบาย “ดื่มไม่ขับ ขับไม่ดื่ม” ช่วยสกัดผู้ที่ดื่มแล้วขับได้อย่างดี และมีบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo