Digital Economy

ตามไปดู Google Translate อัปเดตใหม่ทำอะไรได้บ้าง

google

เป็นเครื่องมือแปลภาษาที่น่าจะมีผู้ใช้งานไม่น้อยเลยทีเดียว โดยตัวเลขจากกูเกิลระบุว่ามีคนใช้ Google Translate ทั่วโลกมากกว่า 500 ล้านคนต่อเดือน และในแต่ละวันมีจำนวนคำที่ถูกแปลมากกว่า 1 แสนล้านคำ แถม 95% ของการแปลทั้งหมดเกิดขึ้นนอกสหรัฐอเมริกา โดยข่าวดีสำหรับผู้ใช้ Google Translate บ้านเราก็คือ

แปลภาษาโดยใช้โหมดกล้อง

Screenshot 20181013 030937
ทีมงานลองใช้ฟีเจอร์นี้โดยนำโทรศัพท์มือถือถ่ายภาพโปรแกรม Paint บนวินโดวส์แล้วลากตรงข้อความว่า Shapes ระบบก็แปลออกมาให้ว่ารูปร่าง

จากเดิมที่ชาวแอนดรอยด์ต้องนั่งมองผู้ใช้ iOS เล่นฟีเจอร์นี้กันมานาน ตอนนี้ แอพพลิเคชัน Google Translate บนแอนดรอยด์สามารถแปลสิ่งที่กล้องถ่ายภาพได้แล้ว เพียงแตะที่ไอคอนกล้องถ่ายรูปเพื่อถ่ายป้าย เมนู หรือข้อความภาษาต่างประเทศ เมื่อถ่ายภาพเสร็จแล้วให้กวาดนิ้วไปที่ข้อความที่ต้องการแปลเพื่อดูคำแปล

การแปลภาษาโดยใช้โหมดกล้องในแอปพลิเคชัน Google Translate รองรับ 50 ภาษา เหมาะสำหรับการแปลสิ่งต่างๆ เช่น ป้าย หรือเมนู โดยเฉพาะเมื่อไปเที่ยวต่างประเทศ

แปลภาษาได้ขณะสนทนา

ข้อนี้กูเกิลบอกว่า ผู้ใช้ Google Translate สามารถแปลคำพูดของคู่สนทนา 2 ฝ่ายได้ถึง 42 ภาษาโดยใช้โหมดสนทนา โดยมีขั้นตอนดังนี้

– เลือกคู่ภาษาที่ต้องการ จากนั้นแตะไอคอนไมโครโฟนบนแอพ Google Translate จะฟังบทสนทนา 2 ภาษา และแปลให้ตามความเหมาะสม

แปลได้โดยไม่ต้องสลับแอพไปมา

ฟีเจอร์นี้ปรากฏให้เห็นมาสักพักแล้ว โดยผู้ใช้แอนดรอยด์สามารถใช้งานการแปลได้โดยไม่ต้องคัดลอกข้อความไปมาระหว่างแอพ เนื่องจากจะมีไอคอนกลม ๆ ของ Google Translate ปรากฏขึ้นมาข้าง ๆ

สำหรับฟีเจอร์นี้ รองรับการแปล 103 ภาษาบนโทรศัพท์แอนดรอยด์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Jellybean (4.2) ขึ้นไป การใช้งานฟีเจอร์ “แตะเพื่อแปล” มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

– เปิดแอป Google Translate และไปที่การตั้งค่าเพื่อเปิดใช้ฟีเจอร์ “แตะเพื่อแปล”
– แตะข้อความที่ต้องการแปลในแอปและคัดลอกข้อความนั้น ไอคอนแปลจะปรากฏขึ้นมาตรงมุมบนขวาของหน้าจอ

แปลภาษาโดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอเน็ต

thaioffline
ระบบจะให้ดาวน์โหลดชุดข้อมูลก่อน

กรณีนี้ เราต้องดาวน์โหลดชุดภาษาที่ต้องการลงมาในเครื่องก่อน ก็จะสามารถแปลได้ในโหมดออฟไลน์ ซึ่งการเลือกชุดภาษาทำได้ดังนี้

– แตะลูกศรที่อยู่ถัดจากชื่อภาษาเพื่อดาวน์โหลดชุดภาษาที่ต้องการ เพียงเท่านี้ก็สามารถแปลข้อความต่างๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับฟีเจอร์ “แตะเพื่อแปล” ได้ด้วย

สำหรับการแปลภาษาแบบออฟไลน์รองรับ 59 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย

ความสามารถเบื้องหลังการแปล กูเกิลระบุว่ามาจากการใช้ Neural Machine Translation ซึ่งเป็นระบบการเรียนรู้แบบ end-to-end (มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนกันยายน 2559) โดยใช้ “deep neural network” ซึ่งช่วยให้ระบบเรียนรู้และจดจำรูปแบบและโครงสร้างของประโยคต่างๆ ทำให้ไวยากรณ์ในประโยคที่ผ่านการแปลใกล้เคียงกับการพูดของมนุษย์มากขึ้น

กูเกิลยังเผยด้วยว่า บริษัทได้เปิดตัว Neutral Machine Translation สำหรับ Google Translate แล้วใน 97 คู่ภาษากับภาษาอังกฤษ อาทิ ภาษาไทย, ภาษาของอินเดีย 11 ภาษา (ภาษาฮินดี, ภาษาเบงกาลี, ภาษาปัญจาป, ภาษามาราฐี, ภาษาคุชราต, ภาษาทมิฬ, ภาษาเตลูกู, ภาษามาลายาลัม, ภาษากันนาดา, ภาษาสินธี และภาษาอูรดู) ภาษาจีน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเกาหลี, ภาษารัสเซีย, ภาษาฮินดี, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, ภาษาสเปน, ภาษาโปรตุเกส, ภาษาเวียดนาม เป็นต้น

ส่วนใครที่อยากช่วยปรับปรุงคุณภาพการแปลของ Google Translate สามารถเข้าร่วมใน Google Translate Community หรือชุมชนแปลภาษาได้ โดยสามารถให้คำแนะนำในการปรับปรุงการแปล และให้คะแนนผลลัพธ์การแปลของ Google Translate นอกจากนี้สมาชิกในชุมชนยังได้ช่วยเหลือกูเกิลในการเปิดตัวภาษาใหม่ๆ เช่น การแปลจากภาษาคาซัคเป็นภาษาอังกฤษได้ด้วย

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight