Business

ข่าวดีรับปีใหม่ จ่ายส่วนต่างยาง ประกันรายได้งวด 2 โอนเข้าบัญชีไม่เกิน 28 ธันวานี้

จ่ายส่วนต่างยาง ประกันรายได้งวด 2 โอนให้ไม่เกิน 28 ธันวาคมนี้ “จุรินทร์” เผย “น้ำยางสด-ยางก้อนถ้วย” ได้ชดเชย ยกเว้นยางแผนดิบคุณภาพดี ไม่ได้

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แจ้งความคืบหน้าการ จ่ายส่วนต่างยาง ประกันรายได้งวด 2 ให้เกษตรกรชาวสวนยาง โดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะโอนเงินส่วนต่างเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ไม่เกินวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ซึ่งทันเป็นของขวัญปีใหม่ให้ชาวสวนยาง

จ่ายส่วนต่างยาง ประกันรายได้งวด 2

ทั้งนี้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้ออกประกาศเรื่อง กำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง โครงการประกันรายได้ เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 ปี 2563/64 งวดที่ 2 แล้ว โดยมีรายละเอียด การจ่ายส่วนต่าง ดังนี้

1. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคายางที่ ประกันรายได้ 60.00 บาทต่อกิโลกรัม ราคากลางอ้างอิงอยู่ที่ 62.83 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งราคากลางอ้างอิงสูงราคาประกันรายได้ จึงไม่ต้องจ่ายส่วนต่างหรือชดเชย

2. น้ำยางสด (DRC 100%) ราคายางที่ ประกันรายได้ 57.00 บาทต่อกิโลกรัม แต่ราคากลางอ้างอิง 49.83 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกร จะได้รับชดเชย 7.17 บาทต่อกิโลกรัม หรือได้รับเงินสูงสุด 3,585 บาท

3. ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคายางที่ ประกันรายได้ 23.00 บาทต่อกิโลกรัม ราคากลางอ้างอิง 19.35 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกร จะได้รับชดเชย 3.65 บาทต่อกิโลกรัม หรือได้รับเงินสูงสุด 3,650 บาท

สรุป คือ ได้รับส่วนต่างในยางพารา 2 ชนิด คือ น้ำยางสด กับ ยางก้อนถ้วย ส่วน ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ไม่ได้รับเงินชดเชยส่วนต่าง งวดที่ 2 นี้ เนื่องจากราคาสูงเกินเพดานราคาประกัน

สำหรับ โครงการประกันรายได้ เกษตรกรชาวสวนยาง กำหนดปริมาณผลผลิตยาง ที่จะประกันรายได้ คือ ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวนไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวนไม่เกิน 40 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน

จุรินทร์ 4

ในส่วนของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องขึ้นทะเบียนกับ กยท. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไป ที่เปิดกรีดยางได้แล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่ มีสัดส่วนแบ่งรายได้ ระหว่างเจ้าของ 60% และคนกรีดยาง 40% ระยะเวลาโครงการปี 2 คือ ระหว่างเดือน กันยายน 2563 – กันยายน 2564

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้มีมาตรการเสริม ที่จะนำมาใช้ เพื่อผลักดันราคายางพาราให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นมาตรการคู่ขนานไปกับ โครงการประกันรายได้ เช่น  มาตรการกำกับดูแลด้านปริมาณ และ มาตรการการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2565

พร้อมกันนี้ ยังมี มาตรการสนับสนุนสินเชื่อ ได้แก่

  • โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน แก่สถาบันเกษตรกร เพื่อใช้ในการรวบรวมยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564
  • โครงการสนับสนุนสินเชื่อ สถาบันเกษตรกร เพื่อแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 1 กันยายน 2557 – 31 ธันวาคม 2567
  • โครงการสนับสนุนสินเชื่อ เป็นเงินทุนหมุนเวียน แก่ผู้ประกอบกิจการยาง ชนิดยางแห้ง 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน มกราคม 2563 – ธันวาคม 2564
  • โครงการสนับสนุนสินเชื่อ ผู้ประกอบการผลิต ผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 25,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ ปี 2559–69 โดยสนับสนุนวงเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราร้อยละ 3 ไม่เกิน 600 ล้านบาท เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo