General

ทส. แจงเหตุ ‘ชาวกะเหรี่ยง’ วอนชะลอขึ้นทะเบียนมรดกโลก ‘แก่งกระจาน’

“วราวุธ-รวีวรรณ” ประสานเสียง ชี้แจงกรณี กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ขอให้ชะลอการขึ้นทะเบียนมรดกโลก “กลุ่มป่าแก่งกระจาน ” 

จากกรณีที่ ชาวบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี จำนวน 23 คน เข้ายื่นหนังสือถึงคณะกรรมการมรดกโลก ผ่านสหภาพระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ที่ปรึกษาของคณะกรรมการพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่มรดกโลก (UNESCO) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ในการเสวนา “โค้งสุดท้ายกลุ่มป่าแก่งกระจานสู่มรดกโลก” เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาของชุมชน ก่อนเดินหน้ายื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นผืนป่ามรดกโลกนั้น

330965

ในวันนี้ (17 ธ.ค.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวหลังการประชุมเกี่ยวกับข้อร้องเรียนดังกล่าว โดยเน้นย้ำการให้ความสำคัญกับการดูแลคนในชุมชน รวมทั้ง ปัญหาที่ดินทำกิน

นายวราวุธ ระบุด้วยว่า ที่ผ่านมา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ได้มีการลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจ กับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมาอย่างต่อเนื่อง

174218

ขณะที่ นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในสังกัด ทส. ได้ชี้แจงถึงข้อเรียกร้องข้างต้น โดยระบุว่า ในข้อเรียกร้องประเด็นแรกนั้น กลุ่มชาวบ้านได้ขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินให้กับชาวบ้านเสร็จสิ้นก่อน เพราะปัจจุบันการแก้ไขปัญหา ยังแทบไม่มีความคืบหน้าใด ๆ

S 131678847

สำหรับเรื่องนี้ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่บ้านโป่งลึก-บางกลอย ได้รับการจัดสรรที่ดินครอบครัวละ 7 ไร่ 3 งาน (1,250 ตารางเมตร) จำนวน 57 แปลง รวมทั้งหมด 413.25 ไร่ ต่อมาได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 (ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 2541 – วันที่ 17 มิถุนายน 2557)

โดยรวมทั้ง 2 หมู่บ้าน คือ บ้านโป่งลึก-บางกลอย มีผู้ถือครองที่ดิน จำนวน 260 ราย 337 แปลง คิดเป็นพื้นที่ 1,890 ไร่ ในส่วนของราษฎรที่ขาดแคลนที่ดินทำกิน ทส. อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ปัญหาพื้นที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ประเทศไทยตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ปัจจุบัน มีราษฎรจากบ้านบางกลอย 30 ราย และบ้านโป่งลึก 37 ราย มาทำการแจ้งการครอบครองที่ดินแล้ว

b00d9c20 b5fa 4ff4 9eaa 0dcbd50f7f6b

ประเด็นที่ 2 ชาวบ้านบางกลอย ขอกลับไปทำไร่หมุนเวียน ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทย ซึ่งเรื่องนี้ ชาวบ้านบางกลอยสามารถทำไร่หมุนเวียนได้ภายในขอบเขตที่ดินของตนเอง ที่ผ่านการสำรวจการถือครองที่ดินในเขตอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562

และประเด็นที่ 3 ชาวบ้านบางกลอยบางส่วน ต้องการกลับไปอยู่ในพื้นที่เดิม ซึ่งเคยเป็นหมู่บ้านที่เคยขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงมหาดไทย เพื่อกลับไปใช้ชีวิตดังเดิมนั้น

d2aa2d16 ac5d 4da8 8fa6 c09d1e51bf9b

ปัจจุบัน อส.ไม่สามารถอนุญาตให้ชาวบ้านบางกลอย กลับไปทำกินในพื้นที่บริเวณบ้านใจแผ่นดิน-บางกลอยบน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ใกล้ชายแดนไทย-เมียนมา อาจส่งกระทบทางด้านความมั่นคงของประเทศ และยากต่อการควบคุมการข้ามฝั่งไปมาของกลุ่มชาติพันธุ์

0038d700 b303 42ee ac04 d00d9c65dd95

a6585781 a579 440b 8b9b bf10e984a24a

84d451d0 dba4 4dc5 91bc 382d926d6110

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo