Politics

5 จุดสังเกต แยก ‘ธนบัตรที่ระลึก’ ราคา 100 บาท ออกจากแบงก์พัน

ดูให้ดี! แบงก์ชาติแนะ 5 จุดสังเกต แยก “ธนบัตรที่ระลึก” พระราชพิธีบรมราชภิเษก ราคา 100 บาท ออกจากแบงก์พัน ป้องกันประชาชนใช้สับสน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์ ธนบัตรที่ระลึก เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และยังเป็นการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญตลอดจนพระราชพิธีที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย

ธนบัตรที่ระลึก 100 บาท

ธนบัตรที่ระลึก ได้นำออกใช้เมื่อวานนี้ (12 ธ.ค. 63) เป็นวันแรก เนื่องในโอกาสวันครบ 1 ปี ของการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

ธนบัตรที่ระลึก ชุดนี้มี 2 ชนิดราคา คือ 1000 บาท จัดพิมพ์จำนวน 10 ล้านฉบับ และ 100บาท จัดพิมพ์จำนวน 20 ล้านฉบับ

อย่างไรก็ตาม มีประชาชนจำนวนหนึ่งออกมาแสดงความสับสน เพราะธนบัตรที่ระลึก เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกฯ ราคา 100 บาท มีลักษณะและสีคล้ายกับธนบัตรใบละ 1000 บาทตามปกติ ถ้าหากไม่สังเกตให้ดี อาจเกิดการเข้าใจผิดได้

ธนบัตรที่ระลึก

จากประเด็นดังกล่าว ล่าสุด ธปท. จึงออกมาบอก 5 จุดสังเกตของ ธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา 100 บาท เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสนใจการใช้จ่าย ดังนี้

1.ตัวเลขไทยแจ้งชนิดราคา ๑๐๐ บาท

2.ธนบัตรมีสีเหลืองทอง ซึ่งเป็นสีแห่งวันพระบรมราชสมภพ

3.เปลี่ยนภาพพระตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งอยู่ตอนกลางของธนบัตร เป็นภาพตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

4.ตัวเลขแจ้งชนิดราคา 100 บาทในดอกไม้

5.ภาพพื้นหลัง เชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเป็นภาพประธาน

130522863 1319136655102425 7751150762189872202 n

สำหรับประชาชนทั่วนี้สามารถแลก ธนบัตรที่ระลึก นี้ ได้ที่ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ทุกแห่ง ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และยังสามารถกดธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา 100บาท ได้ที่ตู้เอทีเอ็ม (ATM) ด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo