Economics

ย้ำ!! ครม.ไฟเขียวคลายล็อคนักท่องเที่ยวทุกสัญชาติ แต่ต้องเข้มกักตัว!

กระตุ้นท่องเที่ยว “รองโฆษกรัฐบาล” เผยครม.ไฟเขียวคลายล็อคเปิดรับนักท่องเที่ยว STV ทุกสัญชาติ หวังกระตุ้นท่องเที่ยว ย้ำ! ต้องกักตัว 14 วัน

น.ส. ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กวาง ไตรศุลี ไตรสรณกุล โดยระบุว่า กระตุ้นท่องเที่ยว คลายล็อคเปิดรับนักท่องเที่ยว STV ทุกสัญชาติ แต่ต้องกักตัว 14 วัน

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ..) รวม 2 ฉบับ ซึ่งทั้ง 2 ฉบับ เป็นการยกเลือกเงื่อนไขกรณีการเดินทางมาพำนักระยะยาว สำหรับบุคคลต่างด้าวที่เป็นนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (STV) และการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) โดยไม่จำกัดประเทศ จากเดิมที่ให้เฉพาะนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ ตามการจัดกลุ่มประเทศด้านการแพทย์และสาธารณสุข

รวมถึงขยายระยะเวลาขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (STV) ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองให้แก่คนต่างด้าวที่มากับเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ออกไปอีก 30 วัน นับจากวันที่ประกาศฉบับนี้บังคับใช้

กระตุ้นท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวทั้งสองกลุ่มยังคังต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการขอวีซ่า (STV) ของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด อาทิ การแจ้งที่พำนักในประเทศไทยให้ชัดเจน และต้องยินยอมที่จะกักตัวเป็นเวลา 14 วัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ มีดังนี้

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ..) จำนวน 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 กันยายน 2563

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ครั้งที่ 14/2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ดังนี้

1. ยกเลิกเงื่อนไขการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาพำนักระยะยาวในราชอาณาจักรที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำฯ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 กันยายน 2563 สำหรับบุคคลต่างด้าวที่ขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV)

2. ยกเลิกเงื่อนไขการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร ในกลุ่มผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ หรือผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำหรือความเสี่ยงปานกลางฯ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563

สำหรับบุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร พร้อมทั้งขยายระยะเวลาให้แก่คนต่างด้าวที่มากับเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในกรณีที่เดินทางออกจากประเทศต้นทางและอยู่ระหว่างการเดินทางเข้าน่านน้ำไทยก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ

กรณีเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) เข้ามาจอด และจอดเรืออยู่ที่ท่าเรือในราชอาณาจักรก่อนประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 มีผลบังคับใช้ มีสิทธิขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง ออกไปอีก 30 วันหลังจากวันที่ประกาศฉบับใหม่มีผลบังคับใช้

ทั้งนี้ มท. เสนอว่า 

หลังจากที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 กันยายน 2563 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ทั้ง 2 ฉบับ มีผลบังคับใช้

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ และประเทศที่มีความเสี่ยงปานกลาง ตามการจัดกลุ่มประเทศด้านการแพทย์และสาธารณสุขฯ มีจำนวนไม่มาก

ดังนั้น การที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ 2 ฉบับ ดังกล่าว ที่กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อพำนักระยะยาวในราชอาณาจักรตามเงื่อนไขการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) เฉพาะบุคคลที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ

และบุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร เฉพาะบุคคลที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือความเสี่ยงปานกลางฯ ทำให้มีชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย มีจำนวนไม่มาก โดยข้อมูล ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ประเภทนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (STV) จำนวน 825 คน จาก 29 สัญชาติ

หลังจากที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้ต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ที่อนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร ในกลุ่มผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ หรือผู้โดยสารในกรณีที่เดินทางออกจากประเทศต้นทางและอยู่ระหว่างการเดินทางเข้าน่านน้ำไทยก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ และกรณีเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) เข้ามาจอดและจอดเรืออยู่ที่ท่าเรือในราชอาณาจักรก่อนประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 มีผลบังคับใช้

มีสิทธิขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองได้ภายใน 30 วันหลังจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ วันที่ 1 พฤศจิกยน 2563 แต่ในทางปฏิบัติพบว่า การอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวเดินทางเข้าประเทศโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานต้องไปออกประกาศ คำสั่ง และระเบียบรองรับประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าว

จึงทำให้กระบวนการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวเดินทางเข้าประเทศมีผลสมบูรณ์ประมาณวันที่ 22 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา จึงทำให้เรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) เข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้เพียง จำนวน 6 ลำ

กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้ว เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด – 19 ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด -19

โดยเฉพาะในส่วนของภาคการท่องเที่ยว ที่ต้องการดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูงมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะฤดูกาลท่องเที่ยวของประเทศไทยที่กำลังจะมาถึง จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ 2 ฉบับดังกล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo