General

ภาคใต้ เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำ! เฝ้าระวังแม่น้ำตาปี ปากพนัง แม่น้ำตรัง ระดับน้ำสูงใน 2 – 3 วันนี้

ภาคใต้ เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำ สทนช. เฝ้าระวังแม่น้ำตาปี ปากพนัง แม่น้ำตรัง ระดับน้ำสูงใน 2 – 3 วันนี้ ย้ำเร่งระบายน้ำ พร้อมแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เปิดเผยว่า กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามประเมินปริมาณฝน ที่คาดว่าจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในช่วงวันที่ 12-14 ธันวาคม ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป ซึ่งทำให้ ภาคใต้ เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำ โดยจะส่งสัญญาณความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดซ้ำ ในพื้นที่ท่วมเดิมได้ รวมทั้งยังคงต้องเฝ้าระวังจนถึงต้นปีหน้าด้วย

ภาคใต้ เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำ

พร้อมกันนี้ จะเน้นย้ำการเชื่อมต่อข้อมูลการเตือนภัย ให้เข้าถึงหน่วยงานระดับพื้นที่ เพื่อสื่อสารตรงกับประชาชน ที่อาจได้รับผลกระทบเฉพาะจุด ต่อไป

สำหรับในระยะ 2 – 3 วันนี้ จุดที่ต้องเฝ้าระวังต่อไป ที่ปริมาณน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากตอนบน ไหลลงมารวมกัน คือ บริเวณแม่น้ำตาปี จ.สุราษฎร์ธานี ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช และแม่น้ำตรัง จ.ตรัง

ทั้งนี้ พื้นที่ภาคใต้ ยังมีแนวโน้มที่จะเกิดฝนหนักต่อเนื่องได้อีก พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามประเมินพื้นที่เสี่ยงล่วงหน้า จากการวิเคราะห์แนวโน้มฝน เพื่อส่งสัญญาณถึงหน่วยงานในพื้นที่ ให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง จนถึงต้นปีหน้า

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์
สมเกียรติ ประจำวงษ์

ขณะเดียวกัน ได้เน้นย้ำกลไก การแจ้งเตือนประชาชนรับทราบ ให้เข้าถึงพื้นที่มากขึ้น มีการปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ให้เหมาะสม และสอดคล้อง กับสถานการณ์น้ำ โดยการเก็บกักน้ำ ชะลอน้ำหลาก ในแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้ง แก้มลิงที่มีอยู่ หรืออ่างเก็บน้ำในทุกขนาด

ตัวอย่างเช่น เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 1,900 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนบางลาง จ.ยะลา สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 400 ล้าน ลบ.ม. รวมถึงลดการระบายน้ำจาก อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ไม่ให้ไหลมาสมทบในพื้นที่ตอนล่างด้วย

สทนช. ยังได้ทำหนังสือถึงหน่วยต่าง ๆ สำรวจโครงสร้างที่เกี่ยวกับด้านน้ำ ที่ได้รับผลกระทบ และเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ ส่งกลับมายัง สทนช.ภายในวันที่ 20 ธันวาคมนี้ เพื่อเสนอรัฐบาล สนับสนุนงบประมาณ ทำแผนฟื้นฟู ปรับปรุง ซ่อมแซม ให้กลับมาพร้อมใช้งานโดยเร็ว ไม่ให้เป็นปัญหาอุปสรรค ในการบริหารจัดการ ในช่วงฤดูฝนนี้ของภาคใต้

อ่างเก็บน้ำ

ดร.สมเกียรติ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ล่าสุด ว่า ในหลายจังหวัดระดับน้ำเริ่มลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากฝนจะลดลงต่อเนื่องไป 1 สัปดาห์ ประกอบกับอิทธิพลน้ำทะเลหนุน ไม่กระทบต่อการระบายน้ำ

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเร่งระดมเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อระบายน้ำให้ลดลงโดยเร็วที่สุด ก่อนจะมีฝนเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในช่วงวันที่ 12-14 ธันวาคม ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป

ด้านแผนงานในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน เพื่อให้มีเครื่องมือ ในการบริหารจัดการน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำซากนั้น จะเร่งแผนงานโครงการ ที่ได้เริ่มดำเนินการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ดังนี้

  • โครงการระบบป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช เป็นการขุดคลองระบายน้ำใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพคลองเดิมเป็น 750 ลบ.ม. ต่อวินาที รวมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการแต่มีความล่าช้า เนื่องจากองค์ประกอบบางส่วน ต้องมีการทำความเข้าใจกับราษฎรเพิ่มเติม
  • เขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำปากพนัง
  • การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เป็นต้น

พื้นที่เฝ้าระวัง

ส่วนแผนงานที่ดำเนินการได้ในปี 2564-2566 จำนวน 63 โครงการ ตัวอย่างเช่น

  • อ่างเก็บน้ำคลองสีสุก จ.สุราษฎร์ธานี แก้มลิงฉลุง จ.สงขลา
  • ระบบระบายน้ำหลัก พื้นที่ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช ระยะที่ 2
  • ระบบป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ชุมชนเมืองพัทลุง สงขลา ตรัง และ ยะลา

โครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น โครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพร (ขุดคลองผันน้ำลุ่มน้ำคลองชุมพร) ให้สามารถระบายน้ำได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในคลองชุมพรเดิม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2565

ปริมาณฝน

 

ขณะเดียวกัน ยังต้องเร่งแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำให้แล้วเสร็จตามแผน จำนวน 115 แห่ง โดยเร็วจากทั้งหมด ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จแล้วทั้งสิ้น 66 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ 30 แห่ง ตรวจสอบเพิ่มเติมอีก 19 แห่ง

นอกจากนี้ ต้องสร้างการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการน้ำ เสนอแผนแก้ไขปัญหาน้ำผ่านองค์กรผู้ใช้น้ำ คณะกรรมการลุ่มน้ำ ตามพรบ.น้ำฯ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาจากพื้นที่โดยเท้จริง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo