Opinions

SME ต้องสมาร์ททุกทิศ ฟิตเดินหน้าธุรกิจด้วยเทคโนโลยี

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight
191

ในยุคที่ธุรกิจรายย่อยทั้งแบบดั้งเดิมและเกิดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทต่างๆ ก็ต้องการเครื่องมือเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้ดีกว่าเดิม

ข้อมูลการจัดตั้งธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า จำนวนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยปี 2560 บอกให้เราทราบว่า กลุ่ม SME นั้น มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจาก 2,765,966 ราย มาเป็นจำนวนกว่า 3,004,679 เทียบกับปีก่อนหน้านี้ คิดเป็นจำนวนธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 238,713 ราย แบ่งเป็น ภาคบริการ 135,153 ราย ภาคการค้า 80,984 ราย ภาคผลิต 16,517 ราย ธุรกิจการเกษตร 6,023 ราย

นอกจากนี้ จำนวนของ SME ที่เพิ่มขึ้นนั้น แบ่งเป็นการจดทะเบียนแบบนิติบุคคล 26,562 ราย บุคคลธรรมดา 206,464 ราย และวิสาหกิจชุมชน 5,687 ราย โดยจำนวนของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็คาดหวังว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจให้มีทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อหนุนให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตได้ 4.2-4.7% ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้

ดีแทค dtac

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจให้ดีขึ้น สิ่งที่ธุรกิจต่างๆ ต้องพัฒนาประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ธุรกิจกว่า 44% ต้องการหารายได้เพิ่มขึ้นอีก ในขณะที่ 42% ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพสินค้า ส่วนอีก 31% มองหาหนทางเครื่องมือหรือวิธีที่จะประหยัดต้นทุนทางธุรกิจ กว่า 26% ต้องการที่จะลดหนี้สินจากการกู้ยืมมาลงทุน และที่เหลืออีก 25% ต้องการที่จะลงทุนในธุรกิจให้มากขึ้นกว่าเดิม

ดังนั้น แนวคิดในเรื่องของเทคโนโลยีก็เริ่มเป็นที่ต้องการ แต่ปัญหาใหญ่อีกอย่างคือ SME คิดว่าการลงทุนเทคโนโลยีต้องมาพร้อมกับต้นทุนที่มากเกินไป จึงไม่อยากจะลองใช้งานถึงแม้ว่าการลงทุนด้านเทคโนโลยีนี้จะช่วยเรื่องลดต้นทุนระยะยาว เพิ่มผลกำไรและเพิ่มความสามารถของธุรกิจได้มากขึ้นก็ตาม

ทาง “ดีแทค” จึงมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้การใช้งานเครื่องมือผ่านซิมการ์ด ที่ธุรกิจไม่ต้องลงทุนใหม่ให้มากมาย แค่ซิมการ์ดเดิมที่มีในมือก็สามารถนำมาใช้เพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจได้แล้ว เหมาะกับธุรกิจดั้งเดิมที่ไม่อยากติดตั้งระบบใหม่ให้วุ่นวายและธุรกิจใหม่ที่ไม่ได้มีเงินทุนในการลงระบบที่มากมาย

โดยเครื่องมือที่ SME หลายรายคิดว่าคงไม่มีการใช้งานแล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้มากกว่าโซเชียลมีเดียเสียอีก อย่างเช่น SMS ซึ่งใครจะคาดคิดว่าในยุคที่เราสามารถส่งข้อความใน LINE หรือ Facebook Messenger ได้ฟรี การใช้ SMS Business ยังคงความสามารถในการรักษาและใส่ใจความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่า

ตัวอย่าง ธุรกิจคลินิคหรือโรงพยาบาล ที่ใช้ส่งข้อมูลเรื่องการแจ้งเตือนนัดให้กับคนไข้ แจ้งข่าวสารองค์กร หรืออัพเดทคิวนัดตรวจ ซึ่งช่วยให้เข้าถึงผู้ป่วยได้สะดวกและดูเป็นมืออาชีพมากกว่าการแจ้งเตือนบนระบบแชทที่ดูเป็นการโฆษณามากเกินไป การทำงานรูปแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจหรือหน่วยงานขนาดใดก็สามารถเปิดเว็บไซต์และส่งข้อมูลให้กับลูกค้าที่มีข้อมูลการติดต่ออย่างเบอร์โทรศัพท์ได้โดยตรงเลย

ดีแทค dtac

อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กันคือ LBS หรือ Location Base SMS Service เหมาะกับลูกค้าใหม่ที่ยังไม่เคยรู้จักธุรกิจของเรามาก่อน ให้พวกเขาได้รับทราบว่ามีสินค้าหรือธุรกิจของคุณตั้งอยู่ ณ จุดนั้น ทั้งรูปแบบสาขาหรือ Counter Brand ในห้างสรรพสินค้าก็ตาม หรือในกรณีการออกงานแสดงสินค้าต่างๆ บริการ LBS นี้ก็ยังสามารถใช้เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนลูกค้าให้มายังจุดที่ตั้งบูธของเรา สร้างความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งในงานเดียวกันได้

บริการนี้จะมี SMS แจ้งโปรโมชั่นส่วนลดหรือสิทธิพิเศษไปให้ทราบเมื่อพวกเขาเดินทางเข้ามาในจุดที่ใกล้สาขาของคุณ เพื่อดึงดูดให้ผู้ที่ได้รับข้อความ อยากเข้ามาใช้งานสินค้าหรือบริการที่หน้าร้านของเราได้ แต่ต้องระวังไม่ส่งข้อความแบบ สแปม (Spam) หรือเก็บเงินปลายทาง เพราะจะสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อแบรนด์

นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า Virtual PBX ซึ่งจะช่วยให้เบอร์มือถือหลักเบอร์เดียวของธุรกิจสามารถเชื่อมโยงกับผู้รับสายปลายทางได้หลายคน โดยสามารถเลือกให้มีเสียงรับสายและโอนสายไปยังแผนกต่างๆที่ต้องการติดต่อได้ รูปแบบการทำงานจะคล้ายกับ Call Center เมื่อมีลูกค้าโทรเข้ามาแต่ไม่สะดวกรับสาย ระบบจะส่งต่อไปหาพนักงานหมายเลขถัดไปทันที เหมาะกับธุรกิจที่มีหลายแผนกหรือธุรกิจที่มีสาขา โดยเครื่องมือนี้เป็นที่นิยมมากในยุโรป สำหรับองค์กรที่เคยใช้งานเครื่องมือนี้จำนวน 56% มองว่าธุรกิจของเขาต้องติดต่อกับคนจำนวนมากและเครื่องมือนี้ทำให้พวกเขาดูเป็นมืออาชีพ และ 98% ของธุรกิจที่เคยใช้เครื่องมือนี้ยังใช้งานกันต่อเนื่อง

หากคุณเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องทำงานประสานงานหลายขั้นตอน ต้องลองเทคโนโลยีที่เรียกว่า Workforce Management ที่จะช่วยแจ้งเตือนหรือ Track การทำงานต่อเนื่องกันผ่านมือถือ ลดขั้นตอนการติดต่อที่วุ่นวายช่วยให้หน่วยย่อยต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะแนะนำธุรกิจที่อยากลงทุนหาเครื่องมือใหม่ๆ แบบไม่ต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมากนั้น คือ กลับไปดูว่าคุณใช้แพ็คเกจที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของคุณแล้วหรือยัง ทำอย่างไรให้จำกัดค่าใช้จ่ายส่วนเกิน หลีกเลี่ยงการติดสัญญา และมองหาเครื่องมือที่จะช่วยตอบโจทย์การทำงานได้ดีกว่าการผูกติดกับแพ็คเกจเดิม เพราะเราอยู่ในอยู่ยุคสมัยที่เทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องยากและง่ายต่อการบริหารจัดการไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนแบบเดิมอีกต่อไป

ธนัท มนัญญภัทร์ ดีแทค
ธนัท มนัญญภัทร์

บทความโดย : ธนัท มนัญญภัทร์ ผู้อำนวยการสายงานดูแลลูกค้า SME บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค